วันดี กาญจนะ


กลอนแปด

เรื่อง                                             การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  

ผู้วิจัย                                    วันดี  กาญจนะ

ปีที่ทำวิจัย                          ๒๕๕๓

 

บทคัดย่อ

            

                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  ๑)  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐   ๒)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแต่งกลอนแปด ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  ๓) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  ๔) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔  ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๓ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสร้างสรรค์งานร้อยกรอง                            ท ๔๐๒๐๓ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ โรงเรียนสตรีปากพนัง อำเภอปากพนัง                    จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๓๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(purposive sampling) กำหนดเกณฑ์คุณสมบัติผู้เรียนเฉพาะที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสร้างสรรค์งานร้อยกรอง                  ท ๔๐๒๐๓ เท่านั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด จำนวน ๖ ชุด  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแต่งกลอนแปด เป็นแบบปรนัย ๔ ตัวเลือก จำนวน ๔๐ ข้อ  และข้อสอบอัตนัย  ๑  ข้อ  แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ การแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เป็นแบบวัดความพึงพอใจตามวิธีการของลิเคอร์ท (Likert’s scale) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า กำหนดช่วงความรู้สึกเป็น ๕ ระดับ จำนวน ๑๕ ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย   ค่าร้อยละ  ค่าประสิทธิภาพ           ค่าดัชนีประสิทธิผล  และการทดสอบค่าที ( t – test ) 

                        ผลการวิจัยพบว่า                  

                              ๑. แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๑.๗๗/๘๑.๕๐ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ คือ ๘๐/๘๐

                    ๒.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔   สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑  เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ คือ ๘๐/๘๐

                      ๓.  ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียน                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔   มีค่าเท่ากับ ๐.๖๖๒๘  หรือคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๖.๒๘

                      ๔.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนแปด สำหรับนักเรียน             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แบบฝึก
หมายเลขบันทึก: 488586เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท