การบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตอนที่ 1


เป็นรัฐมนตรีแล้ว ก็ต้องทำตามนโยบายตามที่หาเสียงไว้ จะเป็นนโยบายอะไร ก็ว่าไปเต๊อะ แต่ขอให้ได้ผลปลายทางในส่วนที่เป็นเป้าหมายที่กล่าวไว้ ก็คิดว่านโยบายนั้นจะเกิดผลพวงถึงเด็ก ๆ แน่นอน

ในหัวข้อ “ไปทาน MK แล้ว คะแนน ONET จะสูงขึ้นได้จริงหรือไม่ ”http://www.gotoknow.org/blogs/posts/435316   ผมได้พูดถึงแง่คิดในการยกระดับคุณภาพการศึกษา  ในแง่ของการบริหารการศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการตั้งคำถามไว้หลายข้อ ได้แก่  ครูจะสอนกันอย่างไรดี  ข้อต่อ ๆ ไป  เป็นหน้าที่ของผู้บริหารการศึกษาตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปถึงกระทรวงศึกษาธิการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ยังไม่ได้ตอบ  พื้นที่ตรงนี้จะค่อย ๆ ตอบไปทีละข้อ ๆ  เป็นตอน ๆ ไป

ต้องเริ่มที่นิยามของการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผมให้ไว้ จะถูกจะผิดอย่างไรช่วยให้คำด้วย    ก็จะขอบคุณ

การบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การดูแลช่วยเหลือ สนับสนุนส่งเสริมครูสารพัดวิธี ที่จะให้ครูบรรลุเป้าหมาย อย่างนี้ "ในทุกมาตรฐานการเรียนรู้ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551 นักเรียนจะต้องรู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ชิ้นงาน ผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ นำเสนอ ตอบสนองทุกสถานการณ์ ทั้งในระดับห้องเรียน โรงเรียน เขตพื้นที่การศึกษา จังหวัด ตลอดจนระดับชาติ และนานาชาติได้อย่างมั่นใจ นำไปใช้ประโยชน์ตน และส่วนรวมได้ ตามศักยภาพของแต่ละคน”

และตามด้วยเป้าหมายในการบริหารการศึกษา ตามความคิดเห็นของผม  คือ  จำนวน และคุณภาพของนักเรียนในประเทศ  ในเขตพื้นที่  ในโรงเรียนต้องสูงขึ้น ปีละ…..เปอร์เซ็นต์ (ตั้งเอาเอง)

คำว่าคุณภาพก็ควรจะนำเอาคำนิยามที่ให้ไว้ ข้างบนนี้ไปแตกรายละเอียดมาเป็นเครื่องมือวัด

เพื่อผู้ที่จะรับผิดชอบในระดับประประเทศ  ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  หัวหน้าสำนักต่าง ๆ ใน สพฐ.ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  และผู้อำนวยการโรงเรียน  นำไปประเมินผลงาน ของตน และนำไปประเมินผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้เงินเดือนขึ้น  ความดีความชอบ    เงินประจำตำแหน่ง   ให้ตำแหน่งสูงขึ้น  ยกย่องประกาศเกียรติคุณ ตามหลักการนักเรียนเป็นสำคัญ (แปลว่าได้เพิ่มปริมาณและคุณภาพของเด็ก เก่ง กลาง อ่อน ให้สูงขึ้น) หรือ ให้ไปได้รับการอบรบแล้วกลับมาแก้ตัว ถ้ายังทำไม่ได้ ก็ช่วยคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรดี (555) เพื่อให้ผลงานได้ตามปริมาณและคุณภาพที่กำหนด 

นอกจากนี้ก็ยังมีประชาชน องค์กร คณะบุคคล ที่ผมจัดไว้ในส่วนที่เรียกว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ 

จะขอเริ่มจาก ประชาชน ที่มีเวลาพอที่จะหันมาสนใจการศึกษา  เพื่อทำตัวเป็นคนของประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย  ที่จะให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอย่างยิ่งยวด

ดังที่คุณ กัมปนาท อาชา นักวิชาการศึกษาศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขียนไว้ในโกทูโนนี้  หัวข้อ “ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีลักษณะนโยบายการศึกษาอย่างไร?”  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/83426   จึงควรสนใจด้วย  หรือ ถ้ารวยแล้วไปทำงานการเมืองเพื่อเสียสละก็จะดี  ถ้ายังคิดว่ายังไม่รวย  แต่ใจอยากจะช่วยชาติ ด้วยอาชีพนักการเมืองที่ใสสะอาด ก็จะดีมาก  เป็นแล้วก็ไปช่วยงานการศึกษา กรรมาธิการฝ่ายการศึกษา หรือว่ารัฐมนตรีได้ก็ยิ่งดี  ถ้าไม่ถึงขนาดนั้นก็เป็นสมาชิกพรรค ที่คอยผลักดันในเรื่องการศึกษา ก็ยังได้   ถ้าทำไม่ได้ก็คอยเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายทางการศึกษาที่ดี ๆ ต่อมาหากพบว่าพรรคการเมืองนั้นไม่เข้าท่าก็อย่าไปเลือกอีก

เป็นรัฐมนตรีแล้ว ก็ต้องทำตามนโยบายตามที่หาเสียงไว้ จะเป็นนโยบายอะไร ก็ว่าไปเต๊อะ (555) แต่ขอให้ได้ผลปลายทางในส่วนที่เป็นเป้าหมายที่กล่าวไว้ ก็คิดว่านโยบายนั้นจะเกิดผลพวงถึงเด็ก ๆ แน่นอน  เมื่อเข้าไปในกระทรวงศึกษา ก็ต้องเรียกเลขาธิการ สพฐ. เข้าพบ ถ้ารับนโยบาย และเป้าหมายทั้งปริมาณ และคุณภาพที่กล่าวไว้ก็เท่ากับต่ออายุได้ทันที (555)

ติดตามตอนที่  2 นะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 488049เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท