โรงเรียนในฝัน ตอนที่ 5 ผลงานวิชาวิทยาศาสตร์


การสอนวิทยาศาสตร์ คือการสอนกฎ หรือ หลักการ หรือ ธรรมชาติ ของเรื่องราว หรือสิ่งที่ต้องการสอนที่พยายามหลีกเลี่ยงการบอกความรู้ แต่ควรให้คิดด้วยคำถามทั้งของตัวเอง ของครู รวมถึงพ่อแม่ ที่แน่ ๆ ผู้ใหญ่ทั้งหลายก็ต้องใช้ หลักการ แนวคิด ที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้เด็ก ๆ ได้พบเห็นอยู่บ่อย ๆ

ตอนที่ 5 ผลงานวิชาวิทยาศาสตร์

การสอนวิทยาศาสตร์ เป็นการสอนกฎทางวิทยาศาสตร์  กรณีการเรื่องแม่เหล็กสิ่งที่ต้องการสอนในวีดิโอนี้ คือกฎ ที่ว่า  1) แม่เหล็กสองขั้วที่แตกต่างกันขั้วที่ต่างกันดูดกัน   ขั้วที่เหมือนกันผลักกัน 2) แม่เหล็กดูดเหล็ก แม่เหล็กไม่ดูดทองเหลือง และอลูมิเนียม

ผลงานวิชาวิทยาศาสตร์ จากวีดิโอข้างท้ายแสดงให้เห็นผลการเรียนรู้ในทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ๆ  ที่สามารถตอบคำถามได้ อธิบายได้ทั้งในระดับประถมและมัธยม ที่ครูเตรียมการไว้ให้ นักเรียนจึงตอบคำถามได้ ทำชิ้นงานได้ในระดับนี้  ก็คลิ๊กดูที่นี่นะครับ  https://www.youtube.com/watch?v=EleeCFuTCrs

ครอบครัวในฝัน : ข้อเสนอแนะสำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง

การสอนวิทยาศาสตร์  อาจจะเริ่มด้วยการสอนทฤษฎี  แล้วสอนภาคปฏิบัติที่มีการทดลอง  แต่บางเรื่องก็อาจให้ทดลองแล้วนักเรียนสรุปเข้าหาทฤษฎี  ที่มีคุณครูคอยตะล่อมซักถามให้เกิดความถูกต้อง  ถ้าเรียนรู้  หรือ รู้จริงแล้วก็จะตอบได้อย่างลื่นไหล   นำเสนอได้อย่างมั่นใจ  ไม่อึกอัก  การที่หนูน้อยตอบคำถามเรื่องแม่เหล็กได้ แม้สีหน้าที่ออกจะตื่นๆ อยู่บ้าง ก็สะท้อนถึงระดับความเข้าใจกฎทางวิทยาศาสตร์ทั้งสองข้อที่กล่าวมา

การที่คนแปลกหน้าเข้าไปซักเข้าไปถาม ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ ทำให้การเรียนรู้เกิดความเข้มข้น  แต่ก็ทำได้ไม่มาก  หากเป็นการทำจากเบื้องบนไปสู่เบื้องล่าง  แต่ถ้าหากจากแนวข้าง คือการรวมตัวกันของโรงเรียน แล้วผลัดเปลี่ยนกันไปซักไปถามถึงห้องเรียน  ตามแนวการประเมินโรงเรียนในฝัน ก็จะเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนรู้ลึกรู้ซึ้งไปถึงขั้น นำเสนอได้คล่องมากขึ้นอีกทางหนึ่ง   อย่างไรก็ดี  บางทีโรงเรียน  หรือ ครูก็สอนได้ไม่ทั่วถึง หรือครูก็ไม่ซึ้งกับวิธีการสอนวิทยาศาสตร์พอ พ่อแม่ที่พอจะทำได้   ก็ควรให้ความคิด และถามตอบกับลูกในเชิงวิทยาศาสตร์ด้วย

กรณีการสอนเรื่องแม่เหล็ก อาจสอน หรือ เสริมได้ด้วยคำถาม  เช่น  สิ่งของที่อยู่บนโต๊ะนี้มีหลายอย่าง ลองดูดกับแม่เหล็กซิว่า มันดูดและไม่ดูดอะไรบ้าง   สิ่งที่มันดูดไม่ได้มีกี่ชนิด อะไรบ้าง แท่งแม่เหล็ก  มีหลายแท่ง หนูจับมันมาชนกันดูซิว่า มันจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง   แม่เหล็กคืออะไร  ธรรมชาติ  หรือ กฎทางวิทยาศาสตร์ของแม่เหล็กอยู่ตรงไหน 

การสอนวิทยาศาสตร์ คือการสอนกฎ หรือ หลักการ หรือ ธรรมชาติ ของเรื่องราว หรือสิ่งที่ต้องการสอนที่พยายามหลีกเลี่ยงการบอกความรู้  แต่ควรให้คิดด้วยคำถามทั้งของตัวเอง ของครู รวมถึงพ่อแม่ ที่แน่ ๆ ผู้ใหญ่ทั้งหลายก็ต้องใช้ หลักการ แนวคิด ที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้เด็ก  ๆ ได้พบเห็นอยู่บ่อย ๆ

หมายเลขบันทึก: 487394เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 07:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรื่องนี้ได้เขียนไว้ ในเรื่อง การสร้างเทคนิคการสอนแล้ว ขอนำมามอบให้ครูวิทย์อีกครั้ง...............

ความยากลำบากในการสอนลึก ๆ ก็คือ การทำให้นักเรียนเข่้าใจในทันทีของทุก ๆ คำ หรือ โดยเร็วที่สุด บางเรื่อง จะเร้าอย่างไร ก็ยากที่จะเข้าใจ ครูจึงต้องหาตัวช่วยไว้ใช้สอน เช่น เรื่องการสูบฉีดของหัวใจ อธิบายอย่างไรก็คิดไม่ออก โรงเรียนในฝันจึงเสนอให้ใช้ ICT ถ้าครูวิวิทยาศาสตร์สะสม สื่อ ทำนองนี้ไว้ ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ เข้าใจได้ง่าย คลิ๊กดู http://www.kscience.co.uk/animations/heart.swf ดูพอเข้าใจแล้ว ก็หาหัวใจหมูมาผ่าให้ดู แบบคิดวิเคราะห์เองให้มาก ๆ ก็จะรู้จริงๆ สื่อนี้ ผมกดคำว่าหัวใจ แล้วต่อท้ายด้วย swf ในกูเกิ้ล มีให้เลือกมโหฬาร จะเก็บไว้ในดิสก์ ยุคนี้มันน่าขี้คร้าน สู้เลือกหามาเก็บ หรือ ทำลิงค์ไว้ในเว็บไซต์ไว้ใช้เองไม่ได้ สอนที่ไหนคลิ๊กได้ทุกที่ ถ้ายังทำไม่ได้ใช้ โกทูโนไปก่อนก็น่าจะได้ สื่อในทำนองนี้น่าจะมีทุกวิชาไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท