หมออนามัย โรคประสาท


หมออนามัย โรคประสาท

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

โรคประสาท (Neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแบบ

โรคประสาท หมายถึง ความผิดปกติทางจิตใจอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการที่บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพที่เปราะบางอยู่ก่อนแล้ว เมื่อพบกับสิ่งที่ทำให้วิตกกังวล ก็อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งในจิตใจ ทำให้ปรับอารมณ์ได้ไม่ถูกต้อง และบางรายก็อาจเกิดจากการเรียนรู้ที่ผิด ๆ มาก่อน โรคประสาทมักมีความกลัวและความวิตกกังวลเป็นส่วนใหญ่ และจะมีปฏิกิริยาต่อร่างกาย เช่น หัวใจเต้นแรง เหงื่อออกมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งต่างจากโรคจิตตรงที่โรคประสาทจะมีความคิด การกระทำ และคำพูดที่ยังอยู่ในโลกของความเป็นจริง ไม่มีอาการหูแว่วประสาทหลอน ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือทำมาหากินได้ และลักษณะสำคัญอีกอย่างคือ เขาจะยอมรับว่า ตนเองป่วยกลุ้มอกกลุ้มใจว่าตนเองจะเป็นอะไรร้ายแรงและพยายามแสวงหาการรักษา นอกจากนี้หลายคนยังเข้าใจผิดว่าเป็นโรคประสาทนาน ๆ แล้วจะกลายเป็นโรคจิต ซึ่งไม่จริง

โรคประสาทมีหลายประเภท ได้แก่ โรคประสาทวิตกกังวลทั่วไป โรคประสาทกลัวอะไรเฉพาะอย่าง โรคประสาทวิตกกังวลเกี่ยวกับเจ็บป่วยของร่างกาย โรคประสาทตื่นตกใจ โรคประสาทกลัวที่โล่งแจ้ง โรคประสาท กลัวการเข้าสังคมและโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น และการที่บุคคลจะป่วยเป็นโรคประสาทชนิดไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของบุคลิกภาพของผู้นั้นว่ามีลักษณะเช่นไร เช่น โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ มักพบในบุคคลที่มีบุคลิกภาพเจ้าระเบียบหรือสมบูรณ์แบบ เป็นต้น

โรคประสาทซึมเศร้า เป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งซึ่งมีอาการเด่น คือ อารมณ์ซึมเศร้าผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีบุคลิกภาพเดิมไม่ดีนัก เช่น เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ขี้น้อยใจ ทักษะสังคมต่ำ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน จะเกิดความรู้สึกอึดอัดไม่พอใจ เสียใจกับการกระทำของบุคคลอื่นตลอดเวลา จนเกิดมีอาการเครียด กังวล เบื่อหน่าย ท้อแท้ โกรธคนอื่นที่ไม่ทำอย่างที่ตนเองต้องการ อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ หงุดหงิด และคิดอยากตายได้อาการ สาเหตุมักเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมมาตั้งแต่เด็กโรคประสาทซึมเศร้าเป็นโรคที่ รักษายาก จิตแพทย์จะช่วยได้โดยการให้จิตบำบัดและอาจมีการให้ยารับประทานร่วมด้วย

โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ(obsessive-compulsiveneurosis)
เป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยพอสมควรซึ่งมีอาการย้ำคิดหรือย้ำทำเป็นอาการเด่น อาการ ย้ำคิดเป็นความคิดที่ผุดเข้ามาในสมองโดยไม่ตั้งใจ และทำให้เกิดความกลัว หรือความกังวล ส่วนอาการย้ำทำเป็นการกระทำ หรือการคิดเพื่อลดความกลัว หรือความกังวลที่เกิดจากอาการย้ำคิด
อาการย้ำคิดย้ำทำบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นได้ในคนปกติ

โรคประสาท(neurosis)
เป็นโรค ทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีพื้นเพของการพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งชักนำให้ตีค่าตัวเอง ความขัดแย้งใจ ตลอดจนการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
คนที่เป็นโรคประสาทจะไม่มีอาการหลงผิด หรือประสาทหลอน ยังอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้หลุดออกจากโลกแห่งความเป็นจริงเหมือนคนที่เป็นโรคจิต (psychosis)คนที่เป็นโรคประสาท รู้สึกว่าตนไม่มีความสามารถ และทนต่อสภาพความบีบคั้นได้น้อย วิตกกังวล และขี้กลัว ตื่นเต้นมากเกินไป มักจะเอาแต่ใจตนเอง และสนใจตัวเองมากเกินไป ไม่ยืดหยุ่น และขาดความเข้าใจในปัญหาต่างๆ รวมทั้งไม่มีความพอใจ และไม่เป็นสุข มีอารมณ์เครียดได้ง่ายความย้ำคิดเป็นความคิดที่ผุดขึ้นมาในสมอง โดยไม่ต้องการ ความย้ำทำเป็นการกระทำซ้ำๆ ที่ผู้นั้นอดไม่ได้ที่จะต้องทำแม้ว่าจะดูโง่ๆ ก็ตาม ที่เหมือนโรคประสาทกลัวคือโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำมักเริ่มในช่วงต้นๆ ของวัยผู้ใหญ่แต่ที่ต่างจากโรคประสาทกลัวคือมันพบได้เท่าๆ กันทั้งหญิงและชาย ปัญหานี้มักเกิดในคนที่พิถีพิถันเจ้าระเบียบตลอดเวลาแต่ก็ไม่แน่เสมอไป ความย้ำคิดถึงการกระทำที่เป็นอันตรายมักไม่มีเหตุผลน้อยรายมากที่ผู้ป่วยจะทำตามความคิดนั้น

สาเหตุ

อาการ ย้ำคิดจะมีลักษณะคิดซ้ำๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิดอาจเป็นเรื่องแปลก เช่น คิดจะพูดคำหยาบ คิดจะว่าคนอื่น คิดจะทำร้ายคนอื่นโดย ที่ตนเองก็ไม่อยากจะทำเช่นนั้น อยากจะตัดความคิด
ออกไป ไม่อยากคิดซ้ำๆ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ความคิดมันจะเกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถห้ามได้ ถ้าเป็นมากๆ มักจะกลัวว่าจะทำไปอย่างที่คิดจริงๆ ส่วนอาการย้ำทำ จะมีลักษณะพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ เช่น เปิดปิดประตู เดินหน้าถอยหลัง ตรวจสอบการปิดไฟฟ้า-เตาแก๊ส หรือ ล้างมือ การกระทำมักจะเกิดจากความวิตกกังวลภายใน เช่น กังวลว่าไม่ได้ปิดประตู - ปิดแก๊ส หรือ มือไม่สะอาด เมื่อได้ทำซ้ำๆ แล้วก็จะสบายใจขึ้นสาเหตุของ อาการย้ำคิดย้ำทำมีรากฐานสำคัญมาจากความกลัว
โดยเรื่องที่ผู้ป่วยมักจะกลัวมีอยู่ 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ กลัวโชคร้าย กับกลัวความสกปรก ผู้ที่กลัวโชคร้าย เช่น กลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะลงโทษทำให้ต้องยกมือไหว้วัดหรือศาลทุกชนิดที่พบเห็น กลัวปิดประตูหน้าต่างไม่เรียบร้อยแล้วขโมยจะขึ้นบ้าน ทำให้ต้องคอยตรวจตราประตูหน้าต่างทั่วบ้านซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายๆ รอบจึงจะเข้านอนได้ ผู้ที่กลัวสกปรก เช่น ล้างมือซ้ำแล้วซ้ำอีกเพราะยังรู้สึกว่าไม่สะอาดอาบน้ำนานมากเพราะกลัวว่าจะล้างสบู่ออกไม่หมด เดินผ่านกองขี้หมาก็ต้องดูรองเท้าซ้ำแล้วซ้ำอีกเพราะกลัวว่าจะเผลอไปเหยียบ มันเข้าการที่คนเราจะป่วยเป็นโรคประสาทนั้น มักจะต้องมีองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ที่เป็นตัวสนับสนุนทำให้บุคคลป่วยเป็นโรคประสาท เช่น คนๆ นั้นมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ผิดบิดเบือนไปประเมินค่าหรือให้ความหมายกับสภาพบีบคั้นจิตใจบางอย่างในลักษณะที่เป็นสิ่ง ที่มีอันตรายหรือคุกคามต่อชีวิตของตนมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น มักจะมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรง และมีพฤติกรรมปกป้องตนเอง เมื่อต้องเผชิญกับการคุกคาม และความวิตกกังวล

อาการ

ผู้ที่เป็นโรค ประสาทย้ำคิดย้ำจะมีอาการย้ำคิดย้ำทำกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เขาไม่ปรารถนาที่ จะคิดหรือต้องการจะทำโดยไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยจะมีอาการจดจ่อผูกพันอยู่กับการย้ำคิดย้ำทำมากมายตลอดเวลาเกินขอบเขต ที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความรู้สึกผิด และกลัวการลงโทษทั้งที่อาการ ย้ำคิดย้ำทำเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยไม่ต้องการกระทำ ผู้ป่วยต้องการอยากหยุด แต่ก็หยุดไม่ได้ ห้ามไม่ได้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดีไม่เหมาะสม และไม่มีเหตุผลที่เป็นแบบนั้นบ่อยครั้งมากที่ผู้ป่วยโรคประสาทย้ำคิด ย้ำทำดึงเอาคนในครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ แม่บ้านคนหนึ่งกลัวเชื้อวัณโรคมากจนไม่กล้ากวาดบ้านปล่อยให้ฝุ่นเกาะพื้น  เพราะเธอคิดว่าในฝุ่นมีเชื้อโรคและขังลูกให้เล่นอยู่แต่ใน
คอกทั้งวันไม่ยอมให้คลานไปทั่วบ้านหรือตามทางเดินอาจพบโรคประสาท ย้ำคิดย้ำทำหลายคนในครอบครัวเคยมีครอบครัวหนึ่งแม่ และลูกสาว 2 คน นอนเตียงเดียวกัน และมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำล้างมือ เพราะกลัวสิ่งสกปรกเหมือนกัน ส่วนพ่อกับลูกชาย นอนอีกเตียงหนึ่ง
และไม่มีอาการย้ำทำทั้งคู่ความย้ำทำ ชนิดเชื่องช้าโรคประสาทย้ำคิดย้ำ ทำชนิดที่พบได้บ่อยเป็นความย้ำทำเชื่องช้าผู้ป่วยใช้เวลาในการทำอะไรๆนานมาก ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการแต่งตัว ต้องโกนหนวดล่วงหน้าเป็นวันๆ ใช้เวลาในการอาบน้ำนานมาก ความเชื่องช้าเกิดขึ้นกับกิจกรรม
ประจำวันทุกชนิดความย้ำทำ เก็บของโรคย้ำคิดย้ำทำอีก แบบหนึ่ง คือความย้ำทำเก็บของ อาจเกิดร่วมกับพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำชนิดอื่นได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สามารถทิ้งของได้จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง
ในการคุ้ยขยะจากการเตรียมอาหารก่อนทิ้งเพื่อป้องกันไม่ ให้เผลอทิ้งอาหารที่ยังมีประโยชน์ไป กระดาษเก่าๆเป็นสิบปีก็ยังเก็บไว้จนไม่มีที่จะเดิน อาจซื้ออาหาร เครื่องกระป๋อง และของอื่นๆ จำนวนมากมาตุนไว้โดยไม่จำเป็นและไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะขาดตลาดถ้ามีใครมาพยายามเอาของที่สะสมไว้มาหลายยุคหลายสมัยนี้ออกไปจะเกิดความวิตก พฤติกรรมย้ำ คิดย้ำทำเกี่ยวกับตัวเลขพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ เกี่ยวกับตัวเลขพบได้บ่อยมาก แต่มักจะไม่ได้รบกวนชีวิตประจำวัน
มากนัก ผู้ป่วยอาจนับจำนวนตัวอักษรในคำพูดทุกคำเวลาที่คุยกับคนอื่น บางคนคอยนับ
ตัวอักษรบนป้ายบอกทางทุกอันความย้ำคิด กลัวสกปรกมักเกิดร่วมกับความย้ำทำล้างและพฤติกรรมย้ำติดย้ำทำชนิดหลีกเลี่ยงผู้ป่วยอาจรู้สึกสกปรกทุกครั้งที่ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ หรือหลังจากเข้าไปใกล้สุนัข และต้องล้าง หรืออาบน้ำเป็นชั่วโมงหลังจากนั้น บางรายมีพฤติกรรมย้ำติดย้ำทำที่ซับซ้อนในการซักเสื้อผ้า ล้างห้อง คนที่รู้สึกว่าสุนัขสกปรก อาจหมดเวลาไปกับการหลีกเลี่ยงสุนัข ขนสุนัข หรือแม้กระทั่งตึกที่เคยมีสุนัขอยู่ ความกลัวแบบย้ำคิดไม่ใช่ความกลัวสิ่งนั้นตรงๆ แต่จะกลัวผลที่จินตนาการไปว่าจะเกิดจากมันมากกว่าการวินิจฉัยโดยทั่วไปจะถือว่า ป่วยเป็นโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ เมื่ออาการย้ำคิดย้ำทำนั้นเป็นมากจนทำให้เกิดปัญหาหนึ่งใน 3 อย่างต่อไปนี้อาการเป็นมาก เลิกคิดเลิกทำไม่ได้จนทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ทรมานมากอาการเป็นมากจน ทำให้เสียงานเสียการเพราะมัวแต่ย้ำคิดย้ำทำ หรือต้องคอยหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมากระตุ้นให้เกิดอาการย้ำคิดอาการต่างๆ ทำให้ต้องทำอะไรที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้เช่น ต้องกินเหล้ากินเบียร์เพื่อลดความเครียด โกรธ และทำร้ายตัวเอง หรือบางรายเกิดอาการซึมเศร้าอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

การรักษา จิตแพทย์สามารถ รักษาโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำได้การรักษาส่วน ใหญ่ใช้หลักกาเดียวกับการรักษาโรคประสาทกลัวแต่มักจะใช้เวลานานกว่า และมักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล 2-3 สัปดาห์
ตามด้วยการรักษาช่วงสั้นๆ ที่บ้านโดยมีคนในครอบครัวมาช่วยร่วมรักษาด้วยโปรแกรมที่ออก แบบเพื่อทำให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคย และกำจัดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำอย่างเป็นระบบตัวต่อตัว ทั้งนี้คนในครอบครัวจำเป็นต้องเข้ามาร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการรักษาปัญหาย้ำคิดย้ำทำ การเข้าเผชิญจริงๆ โดยมีคนทำให้ดูก่อน โดยผู้รักษาทำให้ดูก่อนโดยละเอียดแล้วให้ผู้ป่วยทำตามบ้าง มีประโยชน์ในผู้ป่วยโรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ

1. การทำการ รักษาเป็นกลุ่มโดยเอาผู้ป่วยหลายๆ ราย และครอบครัวมารักษาด้วยกัน เพื่อถกกันถึงความลำบากที่แต่ละคนได้รับมา และวิธีที่พวกเขาใช้แก้ปัญหา ระหว่างการพบกันพวก เขาจะทบทวนความคืบหน้า และหาวิธีในการลดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำที่ยังเหลืออยู่

2.ญาติๆ มักถูกดึงเข้าไปช่วยผู้ป่วยทำพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะทำให้มันเป็นมากขึ้น และวิถีชีวิตของครอบครัว และการเลี้ยงลูกอาจเสียหายมาก พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำที่พบบ่อยได้แก่ การล้าง และการตรวจตราซ้ำๆ ต่อการเปื้อน หรือสิ่งอันตราย การกังวลเกี่ยวกับผม การชักช้าอย่างมาก และการเก็บสะสมของที่ไม่มีประโยชน์ทุกชนิด

3.  การรักษาโรค ประสาทย้ำคิดย้ำทำใช้หลักการเดียวกับที่ใช้รักษาโรคประสาทกลัว แต่อาจใช้เวลานานกว่า เพราะอาการย่อยๆ แยกออกไปอาจเกี่ยวพันกับชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ผู้ป่วยอาจได้รับการบอกให้จงใจเข้าเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมย้ำ คิดย้ำทำ และไม่ทำพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำนั้นให้นานที่สุด และหัดทนความไม่สบายที่เกิดขึ้น ต้องให้ความสนใจกับรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกี่ยวข้อง และญาติๆ อาจเป็นผู้ช่วยที่มีค่ามากในการจัดการ โดยคอยเฝ้าดูและชมเชยความคืบหน้า และไม่ยอมทำพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำใดๆ ครอบครัวอาจช่วยในการหาวิธีแก้ปัญหาโดยพบกับครอบครัวอื่นๆในกลุ่มแก้ปัญหากังวลมากโรคประสาทวิตกกังวล
การรักษาโรคประสาทวิตกกังวล มี 2 วิธี คือ วิธีการที่ไม่ใช้ยาและวิธีการที่ใช้ยาสำหรับการรักษาแบบไม่ใช้ยา จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคนี้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อที่จะคิดได้ดี มองโลกในแง่ดี รู้จักการเผชิญปัญหาแบบที่ไม่เคร่งเครียดแบบเดิม มีวิธีการตรวจสอบความคิดและการประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้อง รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และมีโอกาสได้ระบายอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งฝังอยู่ในจิตใจส่วนลึกออกมา รู้จักการผ่อนคลายความคิดตนเอง ทำให้จิตใจสงบด้วยตนเองได้ ผู้ป่วยจะกลับไปดำเนินชีวิตด้วยวิธีการใหม่ๆ ซึ่งสามารถต่อสู้กับปัญหาได้ดีกว่าเดิม การรักษาแบบไม่ใช้ยานี้อาจทำเป็นรายบุคคลหรือทำเป็นกลุ่มก็ได้ เรียกการรักษาแบบนี้ว่า จิตบำบัดส่วนการรักษาแบบใช้ยา แพทย์อาจจะสั่งยาเพื่อช่วยรักษาโรคนี้ โดยฤทธิ์ของยาจะช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวล หรือ อาการทางร่างกายอื่นๆ ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

นอนไม่หลับ  รักษาอาการนอนไม่หลับ มีแนวทางดังต่อไปนี้

หาสาเหตุที่แท้จริงของอาการนอนไม่หลับ แล้วขจัดสาเหตุนั้นเสีย เช่น งดกาแฟ  งดนอนกลางวัน รักษาอาการทางจิตประสาท เป็นต้นจัดเวลานอนและเวลาตื่นให้คงที่สม่ำเสมอ แม้ว่าบางครั้งง่วงนอนเวลากลางวัน อาจจะต้องอดทนเพื่อเข้านอนตอนหัวค่ำ ก็จะช่วยให้นอนหลับได้เหมือนปกติ

จัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้สวยงาม สบายตาหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการนอนไม่หลับ แล้วขจัดสาเหตุนั้นเสีย เช่น งดกาแฟ  งดนอนกลางวัน รักษาอาการทางจิตประสาท เป็นต้น

จัดเวลานอนและเวลาตื่นให้คงที่สม่ำเสมอ แม้ว่าบางครั้งง่วงนอนเวลากลางวัน อาจจะต้องอดทนเพื่อเข้านอนตอนหัวค่ำ ก็จะช่วยให้นอนหลับได้เหมือนปกติจัดสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้สวยงาม สบายตางดกิจกรรมที่ตื่นเต้น ทำให้เครียด หรือวิตกกังวลก่อนที่จะเข้านอนหากิจกรรมผ่อนคลายก่อนจะเข้านอน เช่น ฟังเพลงเบาๆดื่มนมอุ่นๆ 1 แก้ว ก่อนจะเข้านอนสวดมนต์ ทำสมาธิ ก่อนนอนเป็นประจำใช้ยานอนหลับ เฉพาะในกรณีที่ได้ลองปฏิบัติตามข้อ 1-7 แล้วไม่ได้ผล แต่ควรให้แพทย์เป็นผู้สั่งยาให้ ไม่ควรใช้ยาเองหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ และเมื่อหลับได้ด้วยยา 2-3 คืนมาแล้ว ท่านอาจลองลดยานอนหลับทีละน้อยจนไม่ต้องใช้ยาเลยการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ จะช่วยให้การนอนเข้าสู่สภาวะปกติได้ง่าย ขอให้นอนหลับอย่างมีความสุข


อาการ นอนไม่หลับ พบได้บ่อยๆ แม้ในคนปกติก็ตาม ถ้าหากท่านเข้านอนแล้ว 30 - 60 นาที ถ้ายังนอนไม่หลับ แสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่

การเปลี่ยนเวลาหรือสถานที่ เช่น เดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ ที่นอนเปลี่ยนไปจาก เดิม อากาศเปลี่ยนไป คนบางคนจะไวต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้จิตใจและร่างกายตื่นตัวอยู่จนนอนไม่หลับอาจจะเป็นเพราะนอนตอนกลางวันมากเกินไป ร่างกายพักผ่อนได้พอเพียงแล้ว พอถึงเวลานอนจะทำให้นอนไม่หลับได้อดนอนติดต่อกันหลายๆ คืน ร่างกายและระบบประสาทจะตื่นตัวในเวลากลางคืนจนหลับได้ยากได้รับยาหรือสารกระตุ้น เช่น กาแฟยากระตุ้นประสาท หรือยาลดความอ้วน จะกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวทำให้นอนไม่หลับได้เครียดตื่นเต้นหรือวิตกกังวล เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ระบบประสาท จะตื่นตัวง่ายทำให้นอนไม่หลับ

โรคทางร่างกายบางอย่างทำให้นอนไม่หลับได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง
โรคปอดโรคหัวใจ และโรคที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง เป็นต้น

โรคทางจิตประสาท โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า จะทำให้นอนไม่หลับได้อย่างรุนแรง หรืออาจจะ หลับได้ตอนหัวค่ำ แต่ไปตื่นดึกๆ ตี1-2 แล้วนอนหลับต่อไม่ได้
โรค เครียด เป็นโรคที่รักษาได้ โดยการหาสาเหตุและแก้ไขตามสาเหตุนั้น
วิธีการมีดังนี้การรู้จักแบ่งเวลาให้พอเหมาะ มีเวลาทำงานประมาณ 8 ชั่วโมง เวลาผ่อนคลายสนุกสนาน หย่อนใจประมาณ 8 ชั่วโมงรู้จักจังหวะการดำเนินชีวิต ให้เคร่งเครียดจริงจังน้อยลง ลดภาระการงาน-การเรียนที่ทำ ให้เครียดลงบ้างมีเวลาทำจิตใจให้สงบบ้าง เช่น สวดมนต์ หรือ ทำสมาธิออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันมีคนที่สามารถพูดคุยรับฟังปัญหาต่างๆ ได้ ปรับทุกข์หรือปรึกษาปัญหาที่หนักใจอยู่ใช้ยาช่วยตามอาการ เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ซึ่งต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งให้การรักษาแบบจิตบำบัด เพื่อช่วยให้รู้จักตัวเอง หาวิธีเปลี่ยนแปลงตนเองบ้าง เพื่อให้รู้จักคิดได้ดี ผ่อนคลายตนเองได้ ปรับตัวให้เก่งขึ้นและมีความสนุกกับการดำเนินชีวิตต่อไปลักษณะสำคัญของโรคประสาท

  1. เกิดขึ้นฉับพลัน มักทราบว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น การตาย ฯลฯ
  2. เป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร
    1. บุคลิกภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
    2. อยู่ในสภาพของความเป็นจริงและคงสภาพตัวเองได้
    3. รู้ตัวว่าไม่สบาย กังวลผิดปกติ ตามลักษณะอาการ

ประเภทของโรคประสาท ตามลักษณะอาการ

  1. ชนิดวิตกกังวล มีอาการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ หวาดหวั่นไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบ ๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้า ก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว
  2. ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวลได้เปลี่ยนเป็นอาการทางกายที่เกี่ยวกับระบบความรู้สึกหรือส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ ตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ลักษณะสำคัญ คือ มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียมาก่อน เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอาการที่เกิดขึ้น มีความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องความสามารถจากคนอื่นหรือมีผลตอบแทนที่เกิดจากการที่เกิดขึ้นและมีลักษณะชักจูงง่าย
  3. ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ อาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์ สิ่งที่กลัวมักได้แก่ กลัวการอยู่ตามลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุ กลัวกิจกรรม
  4. ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้
  5. ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก ฯลฯ
  6. ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ
  7. ชนิดบุคลิกวิปลาส จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ฯลฯ
  8. ชนิดไฮโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป

โรคประสาท โรคกังวล  เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 เท่า พบมากในช่วงอายุ 20-35 ปี และวัยสูงอายุ คนทุกระดับการศึกษา และ ฐานะมีอาการทางร่างกายเกือบทุกระบ

สาเหตุ ผู้ที่เป็นโรคนี้ อาจมีสาเหตุทางกรรมพันธุ์ (พบว่าพ่อแม่พี่น้อง ของผู้ป่วย เป็นโรคนี้ด้วย) หรือเกิดจาก บุคลิกเดิมที่หวาดหวั่นวิตกกังวลง่าย หรือขี้อาย หรือเกิดจากความเครียดทางจิตใจ เช่น ปัญหาครอบครัว (สามีเจ้าชู้กินเหล้าเมายา เล่นการพนัน ทะเลาะเบาะแว้ง) ปัญหา เศรษฐกิจ (ยากจน ทำนาไม่ได้ผล เป็นหนี้สิน) ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่การงาน การเรียน หรือเกิดจากมีการสูญเสีย (เช่น ญาติตาย) เป็นต้น ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคนี้ทันที่ที่เกิดความเครียดหรือภายหลังจากเกิดความเครียดเป็นเวลานาน

อาการ ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุชัด เจนหรือจากสาเหตุเล็กน้อย ที่ไม่สมเหตุสมผล หรือวิตกกังวล เกิดเหตุ อาการสำคัญที่พบได้ทุกคน คือ นอนหลับยาก (เมื่อเข้านอนแล้ว กว่าจะหลับได้ใช้เวลานาน) และอาจีอาการฝันร้ายบ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มีสมาธิ ตื่นเต้นง่าย มักมีอาการใจสั่นใจหวิว เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดมึนศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืดบ่อย เบื่ออาหาร ชา หรือวูบวาบตามตัว และแขนขา มือสั่น เหงื่อออกง่าย ผู้ป่วยอาจบ่นว่า มีอาการหายไม่ออก (หายใจไม่อิ่ม) จุกแน่น ในลำคอ ออกร้อนในท้อง หรือ เจ็บหน้าอก (บ่นเจ็บหน้าอก ไม่เป็นเวลา อยู่เฉย ๆ หรือเวลานอนก็เจ็บ แต่เวลา ออกกำลังกาย หรือทำอะไรเพลินหายเจ็บ) บางคน อาจมีอาการจุกเสียดแน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องผูก หรือถ่ายเหลวบ่อย

โรคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกสบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแบบ
ลักษณะสำคัญของโรคประสาท

เกิดขึ้นฉับพลัน มักทราบว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์เช่นการตายฯลฯ เป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร บุคลิกภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
อยู่ในสภาพของความเป็นจริงและคงสภาพตัวเองได้ รู้ตัวว่าไม่สบายกังวลผิดปกติตามลักษณะอาการประเภทของโรคประสาทตามลักษณะอาการชนิดวิตกกังวล มีอาการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ หวาดหวั่นไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบ ๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้าก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวลได้เปลี่ยนเป็นอาการทางกายที่เกี่ยวกับระบบความรู้สึกหรือส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ ตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ลักษณะสำคัญ คือ มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียมาก่อน เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอาการที่เกิดขึ้น มีความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องความสามารถจากคนอื่นหรือมีผลตอบแทนที่เกิดจากการที่เกิดขึ้นและมีลักษณะชักจูงง่าย ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ อาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์ สิ่งที่กลัวมักได้แก่ กลัวการอยู่ตามลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุกลัวกิจกรรม
ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ กันโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้าอ่อนเพลียเบื่ออาหารนอนไม่หลับท้องผูกฯลฯ
ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ
ชนิดบุคลิกภาพแตกแยก จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใครไม่มีตัวตนที่แท้จริงฯลฯ ชนิดฮัยโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคน

โรคจิต (Psychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิตโรคปรับตัวผิดปกติบุคลิกภาพบกพร่อง อาการของโรคจิตมีดังนี้
ประสาทสัมผัสหลอน (Hallucination) เช่น ได้ยินเสียงคนที่ตายไปแล้ว ได้ยินเสียงกระแสจิต หรือเห็นภาพที่คนอื่นไม่เห็น ได้กลิ่นที่คนอื่นไม่ได้กลิ่น และอาการเหล่านี้เป็นบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน
หลงผิดอย่างรุนแรง (Delusion) เช่นคิดว่ามีคนจะมาฆ่า ทั้งที่จริงๆไม่มี หรือคิดว่าตัวเอง เป็นพระเจ้ากลับชาติมาเกิด หรือคิดว่ามีมนุษย์ต่างดาวจับตนไปฝังเครื่องส่งสัญญาณ โดยที่ไม่มีรายละเอียดหรือเหตุผลใดที่น่าเชื่อถือ
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (Behavioral change, Disorganized behaviour) ถ้าในช่วงแรกจะสังเกตได้ยาก ต้องเป็นคนใกล้ชิดเท่านั้น ที่พอทราบ แต่ช่วงหลังจะเปลี่ยนหนัก เช่น ไม่หลับไม่นอน ไม่กินอาหารเดินทั้งคืนพูดคนเดียว
สาเหตุของโรคจิต
มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโรคทางสมองเช่นถูกกระทบกระเทือนสมอง การใช้สารเสพติด เช่น ดมกาว ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี ยาลดความอ้วนบางประเภท กัญชา หรือ แม้แต่สุรา หรือเป็นจากสารพันธุกรรม (มักเริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่น) โดยพบว่า ในคน 100 คน จะพบ คนเป็นโรคจิต ประมาณ 3-4 คน โดยในนั้นโรคจิตที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคจิตเภท ในคน 100 คน พบได้ 1 คน
การรักษา
ทางการแพทย์พบว่าคนเป็นโรคจิต มีสารเคมีชื่อ Dopamine ในสมองที่สูงผิดปกติ การรักษาจึงเป็นการใช้ยาปรับสมดุลในสมอง ซึ่งถ้าไม่รักษา ปล่อยให้สารตัวนี้สูงผิดปกติไปเป็นเวลานานๆ สิ่งที่ตามมาคือการทำลายเนื้อสมองถาวร และผู้ป่วยจะไม่กลับคืนปกติ ดังเช่นที่เห็นในผู้ป่วยบางรายที่ญาติคิดว่าผีเข้า ไม่พามารักษา ไปรักษาหมอผี หมดเงินเป็นแสน กว่าจะมาพบแพทย์ก็สายเกิน ไม่สามารถเหมือนเดิมได้ หรือคนที่ใช้สารเสพติดนานๆ สมองจะถูกทำลายไปมาก จนไม่สามารถกลับปกติได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะไม่หักล้างความเชื่อ แต่ถ้าญาติอยากรักษาทางไสยศาสตร์ แพทย์ก็มักจะแนะนำให้รักษาทางยาด้วย
โรคจิตมีรักษาและบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวช ในประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง รู้ว่าโรคจิต กับโรคประสาท คนละอย่างกันครับ ส่วนใหญ่มักใช้เหมารวมว่าเป็นคนที่จิตวิกลจริตหรือบ้า โรคจิตจะนักกว่าโรคประสาทครับ คนเป็นโรคประสาทเช่น เครียดมากๆ แต่อาการยังปกติ พูดคุยกับใครรู้เรื่อง ไม่เก็บตัว หรือ บ้าบอเกินคนทั่วไป
แต่ถ้าโรคจิต จะเป็นแบบที่เราเห็นเดินตามท้องถนน วันๆ คุยโทรจิตกับพระพรหม (ท่านก็ต้องพักผ่อนนะครับโทรไปบ่อยๆจะดีเหรอ)
ชอบเพ้อฝัน คุยกันเดียว หรืออีกแบบ ก็รู้สึกว่าใครจะมาทำร้าย ตาขวางใส่คนทั่วไปที่เดินผ่านไปมา
โรคประสาทวิตกกังวลและความกลัว
 คำจำกัดความ

กลุ่มอาการทางจิตเวชที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด  ไม่สบายใจ     ผู้ป่วยอยากรักษาให้อาการหายไป  ผู้ป่วยไม่มีอาการหูแว่ว  หลงผิด  หรือประสาทหลอน  อาการจะเป็นเรื้อรัง  ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
 อาการ                            
 โรคประสาทมีหลายชนิดด้วยกัน  ในที่นี้จะกล่าวถึงอาการของโรคประสาทที่พบบ่อย  คือ
 โรคกังวล  (Generalized Anxiety Disorder) :  ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากผิดปกติ  และมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย  ได้แก่  กระวนกระวายใจ  เหนื่อยง่าย  หงุดหงิดง่าย  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  นอนไม่หลับ  อาการดังกล่าวเป็นติดต่อกันอย่างน้อย  6  เดือน  ผู้ป่วยมักกังวลกับเรื่องชีวิตประจำวัน เช่น การงานครอบครัวการเรียน เป็นต้น

โรคแพนิค  (Panic Disorder)  ผู้ป่วยมีความกลัวอย่างรุนแรง  รู้สึกว่ากำลังจะตาย  ควบคุมตัวเองไม่ได้  คิดว่าเป็นโรคหัวใจ  และมีอา

คำสำคัญ (Tags): #โรคประสาท
หมายเลขบันทึก: 487339เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท