๓๓๑.พรหมระดับรูปาวจรเทพ ๑๖ ชั้น


รูปาวจรเทพ(พรหม)  ๑๖  ชั้น

                ชั้นที่ ๑ ปาริสัชชะ

     ที่ชื่อว่าปาริสัชชะ แปลว่าเป็นสมาชิกของบริษัท ดังนั้นต้องเติมคำว่า พรหมปาริสัชชะ จึงหมายความว่า เพราะตั้งอยู่ในฐานะผู้รับใช้ของมหาพรหม หรือผู้รับใช้ของมหาพรหม

                ชั้นที่ ๒ พรหมปุโรหิต

     พรหมปุโรหิต ดังนั้นที่ชื่อว่าพรหมปุโรหิต เพราะตั้งอยู่ในฐานะปุโรหิตของมหาพรหม

                ชั้นที่ ๓ มหาพรหม

     ที่ชื่อว่ามหาพรหม เพราะเป็นพรหมผู้ใหญ่กว่าโดยความเป็นผู้มีพรรณะ(วรรณะ-ผิวพรรณ) และความเป็นผู้มีอายุยืนนาน

                ชั้นที่ ๔ ปริตตาภะ ที่ชื่อว่าปริตตาภะ เพราะมีรัศมีน้อยกว่าเทพชั้นอาภัสระ

                ชั้นที่ ๕ อปมาณาภะ ที่ชื่อว่าอปมาณาภะ เพราะมีรัศมีไม่มีประมาณ

                ชั้นที่ ๖ อาภัสระ

     ที่ชื่อว่าอาภัสระ เพราะรัศมีซ่านออกราวกะว่า หยาดหยดตกไปอยู่จากสรีระของพรหมเหล่านี้ ดุจเปลวไฟซ่านออกจากคบเพลิง หรือรัศมีซ่านออกข้างนี้และข้างนั้นราวกะสายฟ้าในเวหก เพราะพรหมเหล่านี้ เป็นผู้มีขันธสันดานเกิดแต่ฌานอันปีติ

                ชั้นที่ ๗ ปริตสุภะ ที่ชื่อว่าปริตสุภะ มีรัศมีอันงามแต่น้อย

                ชั้นที่ ๘ อัปมาณสุภะ ที่ชื่อว่าอัปมาณสุภะ มีรัศมีอันงามไม่มีประมาณ

                ชั้นที่ ๙ สุภกิณหะ

     ที่ชื่อว่าสุภกิณหะ เพราะเรี่ยรายกำจายด้วยรัศมีอันงาม เจิดจ้าด้วยพรรณรัศมีสรีระอันงาม คือประกอบด้วยสิริเสมอด้วยก้อนทองอันสุกสว่างที่ตั้งไว้ในหีบทอง

                ชั้นที่ ๑๐ อสัญสัตตะ

     ที่ชื่อว่าอสัญสัตตะ สัตว์ที่เว้นจากสัญญา หรือเพราะเป็นเพียงรูปสันตติอันเกิดเพราะภาวนาเป็นเครืองสำรอกสัญญา

                ชั้นที่ ๑๑ เวหัปผละ

     ที่ชื่อว่าเวหัปผละ เพราะมีผลอันไพบูรณ์ที่เกิดแล้ว เพราะอำนาจแห่งฌาน หรือเพราะเป็นผู้มีผล เช่น ความสุข อายุ วรรณะอันเป็นผลไพบูลย์

                ชั้นที่ ๑๒ อวิหะ

     ที่ชื่อว่าอวิหะ เพราะไม่เสื่อมทรามจากสมบัติของตน หรือ เพราะไม่ละฐานะของตนโดยกาลอันน้อย

                ชั้นที่ ๑๓ อตัปปะ

     ที่ชื่อว่าอตัปปะ เพราะไม่เดือดร้อนด้วยเหตุไร ๆ หรือเพราะไม่เดือดร้อนสักน้อยหนึ่ง

                ชั้นที่ ๑๔ สุทัสสะ

     ที่ชื่อว่าสุทัสสะ เพราะมีทัสสนะ(รูปารมณ์) อันงาม คือมีรูปงามนำมาซึ่งความเลื่อมใส หรืออันบุคคลพึงดูได้โดยความสุข เพราะมีรูปงามอย่างยิ่ง

                ชั้นที่ ๑๕ สุทัสสี

     ที่ชื่อว่าสุทัสสี เห็นโดยความสุขเพราะมีทัสสนะบริสุทธิ์ด้วยดี

                ชั้นที่ ๑๖.อกนิษฐะ

     ที่ชื่อว่าอกนิษฐะ เพราะเป็นผู้เจริญที่สุดโดยคุณทั้งปวงทีเดียวและโดยภวสมบัติ และเพราะไม่มีความด้อยในชั้นนี้ หรือไม่มีสมบัติอันด้อยเพราะประกอบด้วยสมบัติอันอุกฤษฎ์

หมายเลขบันทึก: 487224เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท