หนังสือกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลที่น่าสนใจ


      วิจารณ์หนังสือกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1 เรื่องสัญชาติ ของรองศาสตราจารย์ ดร. ชุมพร ปัจจุสานนท์ พิมพ์เมื่อเดือน มิถุนายน 2546
       ในหนังสือฉบับนี้ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายภาคพื้นยุโรป โดยได้จำแนกกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลออกเป็นภาคใหญ่ ๆ ได้สองภาค คือ
       ภาคหนึ่ง : จะเป็นการกล่าวถึงกฎหมายสัญชาติของบุคคลธรรมดา โดยในภาคหนึ่งนี้ได้มีการแบ่งออกเป็น 5 บท ได้แก่
              บทที่ 1 แนวคิดและคำจำกัดความของสัญชาติ ซึ่งจะนำแนวคิดการตีความคำว่า "สัญชาติ" ของผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล คำอธิบายในตำรากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล รวมถึงการตีความคำว่า "สัญชาติ" ในคำพิพากษาของศาลต่างประเทศมาประกอบการตีความ
              บทที่ 2 สัญชาติในทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกดคีเมือง โดยในบทนี้จะเป็นการศึกษาถึงความเป็นมาว่ากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมาเกี่ยวข้องในเรื่องสัญชาติได้อย่างไร ซึ่งจะมีการยกตัวอย่างคำพิพากษาของศาลต่างประเทศและความตกลงระหว่างประเทศประกอบด้วยประกอบคำอธิบาย
            บทที่ 3 กฎหมายไทยเกี่ยวกับสัญชาติ ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงตั้งแต่ประวัติของกฎหมายสัญชาติจนถึงความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายสัญชาติเรื่อยมาจนปัจจุบัน ในส่วนสุดท้ายจะเป็นการกล่าวถึงหลักกฎหมายสัญชาติของไทยในเรื่องต่าง ๆ
            บทที่ 4 การปรับใช้กฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติ โดยจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการของการได้สัญชาติ และการเสียสัญชาติรวมถึงการพิสูจน์สัญชาติ รวมถึงในบทนี้จะมีการยกตัวอย่างคำพิพากษาไทยเกี่ยวกับสัญชาติด้วย
           บทที่ 5 ปัญหาปัจจุบันเกี่ยวกับสัญชาติไทย โดยจะเป็นการศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับการให้สัญชาติของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย
    ภาคสอง : กฎหมายสัญชาติของนิติบุคคล โดยในภาคนี้จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 บทดังนี้
          บทที่ 6 แนวความคิดเกี่ยวกับสัญชาติของนิติบุคคล บทนี้จะเป็นการศึกษาถึงความจำเป็นที่นิติบุคคลต้องมีสัญชาติ โดยเป็นการพิจารณาจากความตกลงระหว่างประเทศประกอบการพิจารณา
          บทที่ 7 การพิจารณาสนธิสัญญา และคำพิพากษาระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสัญชาติของนิติบุคคล โดยในส่วนแรกจะเป็นการกล่าวถึงสัญชาติของนิติบุคคลโดยเป็นการยกตัวอย่างความตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ มาพิจารณา และในส่วนของคำพิพากษาได้ยกตัวอย่างคำพิพากษาของศาลต่างประเทศมาประกอบการพิจารณาสัญชาติของนิติบุคคล
        บทที่ 8 การพิจารณาการให้สัญชาติของนิติบุคคล โดยจะเป็นการศึกษาถึงทฤษฎีในการกำหนดสัญชาติของนิติบุคคลว่าดูจากองค์ประกอบใดบ้า
       บทที่ 9 ข้อพิจารณาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติของนิติบุคคลไทย ในบทนี้จะเกี่ยวกับข้อพิจารณาองค์ประกอบของนิติบุคคลต่างด้าวและนิติบุคคลไทยภายใต้กฎหมายไทย       

        จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะได้รับการพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ก็พอจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในเรื่องสัญชาติได้ โดยหนังสือเล่มนี้จะเป็นการอธิบายตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของกฎหมายสัญชาติทั้งสัญชาติของบุคคลธรรมดาและสัญชาติของนิติบุคคลทั้งที่เป็นนิติบุคคลไทย และนิติบุคคลต่างด้าว รวมทั้งผู้เขียนได้มีการยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายต่าง ๆ รวมทั้งได้สอดแทรกข้อสังเกตประกอบคำอธิบายในบทต่าง ๆ ทำให้สามารถทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้เขียนได้มีการแนบแบบคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญชาติมาด้วยซึ่งทำให้บุคคลที่ไม่เคยประสบกับปัญหาในเรื่องของสัญชาติได้ทราบว่าแบบคำขอในเรื่องต่าง ๆ นั้น มีลักษณะเป็นอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 48717เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2006 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขียนดีค่ะ แต่อาจมีสีสรรในการเขียนกว่านี้ได้ เคยลองไปอ่านงานวิจารณ์หนังสือที่เขาเขียนๆ กันบ้างไหมคะ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท