หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

คลื่นที่ส่งแบบบน-ล่าง หน้า-หลัง ซ้ายขวา มีที่มาอย่างไร


มีระบบเฝ้าระวังไว้สะกิดเตือน สึนามิ หลุมยุบ แผ่นดินไหว ดินถล่ม ให้ตื่นตัวก่อนคนอื่นส่งเสียงมาก็เป็นประโยชน์กว่าในแง่ของความเร็วในการช่วยคน

เปลือกโลกที่มีความหนา ๓๕ กิโลเมตร มีส่วนบนโผล่ขึ้นมาเป็นส่วนของทวีป  มีส่วนล่างเป็นพื้นของมหาสมุทรหรือเป็นหินรองรับน้ำทะเล

แต่เดิมเขาว่ากันว่า เปลือกโลกมีแผ่นเดียว เรียกชื่อว่า  “พันเจีย” รอยแยกและแผ่นต่างๆที่มี ๑๓ แผ่นนั้นเกิดขึ้นภายหลัง

แผ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาอย่างช้าๆ เมื่อไรเคลื่อนเร็ว ก็เป็นเรื่อง เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดขึ้นเมื่อนั้น

การเคลื่อนของเปลือกโลก มี ๓ แบบ คือ เคลื่อนเข้าหากันจนชนกันหรือเบียดอัดกันจนแผ่นนูนขึ้น เคลื่อนแยกจากกัน และ ไถลในแนวขนานกัน

ตรงไหนที่แยกออกจากกัน ตรงนั้นก็จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้น ถ้าเกิดบนทวีปก็เกิดหุบเขายุบ แล้วมีน้ำเข้ามาอยู่แทนที่สะสมกลายเป็นทะเล หรือบึงขนาดใหญ่  ถ้าเกิดในทะเลก็จะรอยแยกที่พื้นทะเล เกิดเทือกเขากลางสมุทร และแผ่นดินไหว มีภูเขาไฟและลาวาไหลอยู่ใต้ทะเล

 

ตัวอย่างแผ่นทวีปเคลื่อนแยกออกจากกันบนทวีปแล้วทำให้เกิดหุบเขายุบ : สีฟ้า คือ หุบเขายุบ

 

ภาพจำลองการเกิดน้ำพุร้อนแบบที่ ๑

 

ตรงไหนที่เคลื่อนเข้าหากันจนชนกัน ก็จะเกิดปรากฏการณ์ได้ ๓ แบบ แล้วแต่ว่าเป็นการชนกันของแผ่นทวีปกับแผ่นหินก้นทะเล หรือไม่ใช่

ถ้าแผ่นทวีปชนกับแผ่นหินก้นทะเล ก็จะเกิดร่องใต้ทะเลและเทือกเขาตามแนวขอบทวีป เป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง และแผ่นดินไหวรุนแรง

ถ้าแผ่นทวีปชนกันเอง ก็จะเกิดการเกยกัน และเกิดเทือกเขาใหม่จากแผ่นที่เกย และเกิดที่ราบใหม่จากแผ่นที่มุดต่ำกว่า

ถ้าแผ่นหินก้นทะเลชนกันเอง ก็จะเกิดการเกยกัน ปลายของแผ่นที่มุดจะกลายเป็นแมกมา ปะทุขึ้นมากลายเป็นแนวภูเขาไฟใต้สมุทร และมีร่องใต้ทะเลลึก ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟที่เกิดขึ้น เป็นภูเขาไฟที่ยังทรงพลัง

 

   ภาพตัวอย่างแผ่นหินเปลือกโลกใต้ทะเลส่วนล่างชนกันเอง แล้วทำให้เกิดภูเขาไฟที่ยังทรงพลัง : สีเทาคือเปลือกโลกส่วนล่าง สีฟ้าคือเปลือกโลกส่วนบน

 

ภาพจำลองการเกิดน้ำพุร้อนแบบที่ ๒

 

 



ตรงไหนที่ไถลในแนวขนานกัน ถ้าเกิดไถลมาเฉือนกัน ก็จะมีรอยเลื่อนเฉือนระนาบ มีแนวเหลื่อม เป็นรอยแยกในแนวตั้งฉากกับเทือกเขาในมหาสมุทรและรอยแยกใต้น้ำ ไถลมาเฉือนกันแล้วเกิดอะไรขึ้น ก็อยู่ที่คู่เฉือน  ปรากฏการณ์ของคู่เฉือนก็เหมือนกับคู่ชนข้างบน

ภาพข้างบนที่นำมาเทียบดู ทำให้เห็นภาพน้ำพุร้อนกระบี่ ซึ่งมีทั้งจืดและเค็มว่า ถ้าตรงนี้เคยเกี่ยวข้องกับภูเขาไฟมาในอดีต แล้วนำประสบการณ์สึนามิมาประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของเปลือกโลกที่น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำพุร้อนตรงนี้ คือ แบบคู่ชนมากกว่าคู่แยก

ถ้าเชื่อตามว่าภูเขาไฟที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นี้ดับลงแล้ว แล้วมาดูลักษณะที่เป็นอยู่ของน้ำพุร้อนที่มีน้ำผิวดินขังเป็นแอ่ง บางที่ก็ไหลได้คล้ายธารน้ำไหล บางที่ก็แค่เอ่อให้เห็นควันพอให้รู้ว่าน้ำผิวดินนั้นร้อน

ความน่าจะเป็นของคู่ชนก็จะเป็นแบบแผ่นหินใต้น้ำกับแผ่นทวีปชนกัน การเกิดน้ำพุร้อนที่กระบี่ก็น่าจะเป็นตามแบบจำลองที่ ๒

ภูเขาไฟที่ดับแล้วนี้อยู่ตรงไหน ไม่พบว่าระบุชัดไว้ที่ไหนเลย เคยค้นหาอย่างไรยังหาไม่เจอ

ถ้าเชื่อแบบจำลองความสัมพันธ์ที่ถอดมาได้เพื่อเตรียมรับการเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ไว้ก่อนดีมั๊ย

การเตรียมพร้อมรับมือสึนามิ  หลุมยุบ แผ่นดินไหว ดินถล่ม มีระบบเฝ้าระวังไว้สะกิดเตือนให้ตื่นตัวก่อนคนอื่นส่งเสียงมาก็เป็นประโยชน์กว่า ด้วยว่าจะแลกคืนมาซึ่งความเร็วในการช่วยคน ลดการบาดเจ็บ ลดการสูญเสีย

หมายเลขบันทึก: 487144เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท