พาคนติดเหล้าก้าวข้ามความกลัวตอน2


ความกล้าหาญที่สุดคือกล้ายอมรับจุดอ่อนชองตน นั่นคือความตระหนักรู้ในตน. เราก็จะอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง......ความกล้าหาญเกิดได้ก็กลับไปขลาดกลัวได้อีก. นี่เป็นความจริงแท้

      คราวที่แล้วเล่าถึงการพาผู้ป่วยติดเหล้าได้รู้จักกับความคิดอัตโนมัติของตนว่ามีอะไรบ้าง. อีกสองวันถัดมาพบกันอีก. ถามไถ่ความก้าวหน้าของเขาถึงการหมั่นสังเกตความคิดอีตโนมัติของตน. ได้คำตอบว่า"ไม่ค่อยได้ทำ". ก็แปลว่าอาจไม่ได้ทำ เพราะเมื่อถามต่อในรายละเอียด. ก็ไม่ได้คลำตอบอะไรที่แจ่มชัด

     นี่คือภาวะธรรมดา ที่พบได้เสมอในผู้ป่วยกลุ่มนี้.    ที่เป็นอย่างนี้เพราะcognitive function.  ของเขาอ่อนด้อยกว่าคนทั่วไป เพราะดื่มมานานมาก

     หน้าที่ของผู้บำบัดที่ทำได้คือ. ยอมรับในสภาวะที่เกิดกับเขา ไม่เช่นนั้นเราเองจะรู้สึกล้มเหลว

    เอาละ!  อย่างน้อยเขาก็ได้มีประสบการณ์กับความคิดอัตโนมัติบ้าง.   

     การบำบัดใน3ครั้งสุดท้าย. เน้นไปที่การกำหนดวิธีการปฏิบัติ เพื่อพาตนออกจากวงจรซ้ำซาก ซึ่งตัวเขาเองบอกว่า"เบื่อตนเองเต็มทน".   ในช่วงแรกของการคิดวิธีการเขาก็ยังโยนให้เป็นหน้าที่ของรนอื่นตามวิสัยที่เคยชิน. หน้าที่ของฉันคือ. ชวนเขากลับมาที่ตัวเองว่า. แล้วเฉพาะตัวเขาเองเขาจะทำอะไรเองได้บ้าง.   เขาคิดอยู่นาน คำตอบที่ได้ยีงคลุมเคลือ.  แต่ก็มีความหวีงให้เห็น เพราะเขาบอกว่า "จริง ๆ. เราต้องพึ่งตัวเอง ทุกอย่างเกิดจากเรา.  ถ้าจะแก้ก็ต้องแก้ด้วยตัวเอง".  

      เลยต้องรีบชื่นชมกับความคิดนี้. เน้นย้ำอีกหน่อยว่าสิ่งที่เขาคิดช่างเป็นความกล้าหาญจริงๆ.  (ก็เขาขลาดกลัวมานาน) วันนี้คิดไม่ออกงั้นให้เป็นการบ้าน อีกสองวันเจอกัน

       นี่ก็เป็นเทคนิคการปิดชั่วโมงการบำบัดที่แนบเนียนวิธีหนึ่ง. เพราะวันนั้นฉันเหนื่อยมากกับภาระกิจที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้. ทำไมต้องเว้นวัน.   ก็เจอกันบ่อยบางทีเราก็ตันเหมือนกัน.   อีกอย่างการทิ้งช่วงห่างมากขึ้น. ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เขามีเวลาตรึกตรองมากขึ้น

      กลับไปเจอกันตามนัดหมาย. เขาถือกระดาษที่เขียนการบ้านมาอยล่างกระตือรือร้น ทักทายกันสั้นๆแล้วดูการบ้านเลย อืม....ชัดเจนขึ้น เขาเขียนเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน. เขียนคร่าวๆ ตามวิสัยของเขา.  เรามีหน้าที่ชวนคิดรายละเอียด.     ครั้งนี้กล้าเผชิญความจริงมากขึ้น.    พูดถึงความจริงที่แย่ๆ.  เจ็บปวดได้ง่ายขึ้น

       ฉันว่า เขาเดินมาถึงจุดนี้ได้.   นอกหนือจากเทคนิคพื้นฐานที่ใช้ตามทฤษฎีแล้ว. ฉันว่าความรู้สึกเป็นมิตร ความเมตตาที่ฉันมีต่อเขา. ทำให้เขารู้สึกปลอดภัยว่าเมื่อพูดอะไรกับฉันแล้วเขาไม่ถูกตำหนิ หรือวิพากย์วิจารณ์. ฉันเพียงชวนเขาคิดตรึกตรองให้หลากหลายแง่มุม. ที่สำคัญคือ.    การชวนให้เขากลับมารับผิดชอบต่อตัวเองในทุกๆ เรื่อง.   แทนการโยนทุกเรื่องไปให้คนอื่นรับผิดชอบ. (ซึ่งกว่าจะพาเขาเดินมาจุดนนี้ได้เหนื่อยเอาการ)

     สิ่งพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นคือ ในวันสุดท้ายที่พบกัน.  เขาพูดบางอย่างให้ฉันฟัง. เกี่ยวกับพฤติกรรมบริการของบุคลากรในหอผู้ป่วย. เป็นข้อมูลเชิงลบซะด้วย. แล้วเขาก็ปลอดภัยอีกรอบ

      ฉันปิดcourse.  การบำบัดด้วยการชวนให้เขาเห็นความจริงอีกข้อหนึ่งว่า เมื่อเขากล้บไปบ้าน ไปทำงาน.   ทุกอย่างที่นั่นจะเหมือนเดิม.  ซึ่งนั่นเป็นโจทย์ที่เขาต้องพาตัวเองผ่านให้ได้. นักจิตวิทยา. พยาบาลจะไม่ได้ตามไปเจ้าใจคุณ. หรือคอยให้การสนับสนุนคุณ.   โอ....มันเป็นความตริงที่ฟังดูโหดเอาการ.   แต่มันคือความจริง

      ฐานการคิดของการทำงานในขั้นนี้คือ. การพาเขาเข้าสู่โลกของความจริง.  

       เมื่อถึงเรื่องนี้ฉันเห็นแววหวั่นไหวปรากฏขึ้น เขาเริ่มพูดถึงการติดต่อกลับมายังฉันว่าจะทำได้ยังไงบ้าง.    และท้ายที่สุดฉันเชียร์ให้เขาลองอยู่ด้วยตัวเอง. เพราะที่ผ่านมาเขากล้าหาญมาแล้วระดับหนึ่ง

    ความกล้าหาญ  คำนี้ช่างดูห่างไกลหากเราไม่ใช่นักรบในสงคราม.หรือการทำหน้าที่เสี่ยงๆ   แต่แท้จริงแล้วการดำเนินชีวิตประจำวัน.  ล้วนต้องใช้ความกล้าหาญอยู่บ่อยๆ.   เช่นการทำสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นชิน.   การเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องเล็กๆ น้อย ๆ. หรือกระทั่งการกล้ายืดยกว่า เรานี่แหละเป็นต้นเหตุของเรื่องทั้งหมด.   ที่กล้าหาญที่สุดคือการกล้ายอมรับและอยู่กับสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตน.    เมื่อกล่ายอมรับนั่นคือความตระหนักรู้ในตน.   และหากเรามีสติปัญญาพอ(ซึ่งทุกคนมี).   เราก็จะอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง

เมื่อวันหนึ่งเรากล้าหาญ. วันต่อๆ.   ไปเราก็กล้าหาญได้อีก.   และขณะเดียวกันเราก็กลับขลาดกลัวได้เช่นกัน

      นี่คือความจริงแท้ที่มนุษย์ต้องเข้าใจะยอมรับ.      ในโลกนี่ไม่มีอะไรคงที่ถาวร

หมายเลขบันทึก: 487130เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท