อัตวิสัย VS ปรวิสัย : ตกผลึกจากวิชาปรัชญา


ตั้งแต่เขียนบันทึกมา บันทึกนี้คงจะเป็นหัวข้อที่เข้ากับหมวดหมู่หัวข้อปรัชญามากที่สุดเลยค่ะ เพราะอยู่ๆ วันนี้เป็นอีกครั้งที่นึกถึงคำว่า อัตวิสัย และ ปรวิสัย อีกครั้ง หลังจากที่เมื่อเดือนก่อน ระหว่างที่นั่งอ่านหนังสือ อยู่ๆ 2 คำนี้ก็แว้บขึ้นมา วันนี้เลยมานั่งคิดอีกครั้งว่าทำไมเราถึงคิดถึง 2 คำนี้ขึ้นมาอีกครั้ง หากจะอธิบายก็คงเป็นเพราะความประทับใจอะไรบางอย่างกับ 2 คำนี้ค่ะ

รู้จัก 2 คำนี้ได้ยังไง

ดิฉันได้รู้จักคำนี้ครั้งแรกก็เมื่อตอนที่เรียนวิชาปรัชญาเมื่อตอนปี 1 ตอนนั้นก็ยังไม่เห็นความเชื่อมโยงกับการเรียนบริหารธุรกิจแล้วเราจะต้องมาเรียนปรัชญาทำไม เพียงแต่รู้ว่าวิชานี้มันได้ใจจริงๆ เพราะชอบมากที่ได้เรียนไปด้วยแล้วก็ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ไปด้วย

ถึงแม้ห้องเรียนจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือ ต้องเรียนในห้องประชุมของคณะ ซึ่งมีเก้าอี้กว่า 400 ตัว นักศึกษาประมาณ 100 คนต่างก็นั่งกระจัดกระจายกันไป แล้วอาจารย์ท่านก็นั่งตรงโต๊ะหน้าเวทีใหญ่

การเรียนวิชานี้เป็นอะไรที่อึ้งมากสำหรับการเรียนปี 1 ที่ยังไม่คุ้นชิ้นกับการเรียนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ในห้องเรียนใหญ่ แต่....ด้วยความที่ตัววิชาและลักษณะคำถามชวนให้คิดของอาจารย์ ตัวดิฉันเองก็อดไม่ได้ที่จะยกมือขอแลกเปลี่ยนมุมมองตามที่ตนเองเข้าใจ ตามคำถามในเชิงปรัชญาที่อาจารย์มักจะเอ่ยในห้องเสมอ

ความประทับใจจากห้องเรียนนี้ยังไม่หมดค่ะ คำว่า อัตวิสัยและปรวิสัย ยังคงฝังอยู่ในหัวมาโดยตลอด เพราะจำได้ว่าเป็นคำถามที่ดิฉันมานั่งคุยต่อกับเพื่อนๆ ว่า อัตวิสัย และ ปรวิสัย มันต่างกันยังไง ตามความเข้าใจของแต่ละคน

ตกผลึกความคิด อัตวิสัยและปรวิสัย

ต่อเนื่องมาจากห้องเรียน 2 คำนี้เป็นประเด็นที่ดิฉันและเพื่อนๆ มานั่งคุยกันต่อ ยังจำได้ว่าสถานที่พูดคุยก็นั่งคุยกับใต้ตึกกิจกรรมนักศึกษาที่อยู่ใกล้ๆ โรงช้าง ม.อ. จากในห้องเรียนตอนที่อาจารย์ถามในห้อง จำได้ว่า อาจารย์อธิบาย 2 คำนี้ด้วยประโยคประมาณว่า

"สิ่งที่มีอยู่จริงอาจจะไม่มีอยู่จริง"

"สิ่งที่คุณเห็นอาจไม่เป็นอย่างที่คุณเห็น"

เพียงแต่ด้วยความคิดอย่างไรเดียงสา ยังขึ้นอะไรมากกว่าการเปรียบเทียบคำพูดนั้นกับวัตถุเท่านั้น เรานั่งคุยกันว่า มันหมายถึงโต๊ะที่เราเห็นอยู่รึเปล่า จริงๆ มันไม่ใช่โต๊ะ แล้วมันคืออะไร หรืออันนี้ไม่ใช่เก้าอี้ แล้วอันนี้มันคืออะไร รายละเอียดการพูดคุยแตกประเด็นออกไปเยอะ

แต่มาวันนี้ ตกผลึกมุมใหม่ ดิฉันเข้าใจ 2 คำนี้มากขึ้น คำถามที่อาจารย์ใช้จุดประกายในห้องเรียน นั่นคือสิ่งที่บอกนัยความหมายของ 2 คำนี้ได้ดีมาก เพียงแต่มันกลับมุมที่เคยมองจากเรื่องวัตถุ มันเป็นเรื่องของความคิดและมุมมองด้วยเช่นกันค่ะ

เพราะคำนิยามของ 2 คำนี้ มันชี้ให้เห็นว่า บางสิ่งมันเป็นความจริงที่เกิดขึ้น แต่บางสิ่งมันเป็นสิ่งที่เราปรุงแต่งจากจินตนาการ ซึ่งอาจจะมาจากความเชื่อ ความเห็นในมุมมองประสบการณ์เดิม หรือสิ่งที่เกิดจากความคิดของเรานั่นเอง

และดิฉันอยากจะฝากคำถามจุดประกายของอาจารย์ท่านไว้ค่ะว่า

"สิ่งที่มีอยู่จริงอาจจะไม่มีอยู่จริง" "สิ่งที่คุณเห็นอาจไม่เป็นอย่างที่คุณเห็น"

มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะคะ ^__^

หมายเลขบันทึก: 487060เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2014 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เพราะอินกับวิชาปรัชญานี่เอง น้องมะปรางเปรี้ยว จึงช่างอ่าน ช่างเขียนสิ่งที่ลึกซึ้้ง อ่าน ในหนังสือเข็มทิศชีวิต II ของคุณฐิตินาถ เช้าวันนี้ (กำลังเริ่ม habit ตั้งเข็มทิศก่อนทำงานทุกเช้า) เรื่อง "นรกงาม" ตีความว่า กล่าวถึง ความรู้สึกทุกข์ทรมาน กับสิ่งรอบตัวที่เลวร้าย เรามักเห็น อย่างสัมพัทธ์ว่าเราดี แต่สิ่งแวดล้อมแย่ แท้จริง สิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ ก็คือสิ่งสะท้อนภายในตัวเราด้วย มีบางอย่างที่ สมมูล กันอยู่ หากยังคิดแบบเดิม ระดับคุณธรรมในจิตใจเท่าเดิม เราก็ต้องทนอยู่กับสภาพแวดล้อมแบบนั้น ดังนั้น หากอยากหลุดจากสิ่งแวดล้อมนั้น ก็ต้องเปลี่ยนตัวเราเอง

อย่างนี้พอจะเข้ากับ "สิ่งที่คุณเห็น ไม่เป็นอย่างที่คุณเห็น" ไหมค่ะ

ตอนเข้าเรียนปริญญาตรี เป็นคนอ่านหนังสือมาก แต่ยังคิดน้อย

ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนคนหนึ่ง ทำให้ได้คิดมากขึ้น ยังนึกถึงมันอยู่...

 

การตั้งเสนอคำถามข้างบนนี้ สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราๆ ("เราๆ" อิๆๆ) ไม่ค่อยมีนัยสำคัญนัก แต่สำหรับนักเรียนนักศึกษานับว่าสำคัญ ช่วยให้รู้จักคิด หาคำตอบ พิสูจน์ สนับสนุนหรือโต้แย้งได้ด้วยตัวเอง

มาชม

ผมรู้ว่าผมไม่รู้...อิ อิ อิ

สวัสดีค่ะ พี่หมอ Ico48 ป.

หนังสือเข็มทิศชีวิตเป็นการถ่ายทอดความคิดของครูอ้อยที่สอนให้เข้าใจธรรมะได้ง่ายและดีมากๆ เลยค่ะ

ที่พี่หมอยกมา ใช่เลยนะคะ สิ่งที่เห็น อาจไม่เป็นอย่างที่เห็น บางทีเราก็ปุรงสิ่งต่างๆ จากอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ และอะไรหลายๆ อย่างค่ะ

เหมือนกับว่า คำว่า อัตวิสัย และ ปรวิสัย โดยตัวนิยามของมันกำลังสื่ออะไรบางอย่างที่ทำให้เรารู้ตัวว่า บางทีบางสิ่งบางอย่างมันอาจมีอะไรมากกว่าสิ่งที่เราเห็น หรือไม่เป็นไปตามสิ่งที่เราเห็น มันมีความมีอยู่จริงบางอย่างที่เราก็อาจจะไม่รู้ หรือรับรู้ไม่ถึงจุดนั้นก็ได้ค่ะ

เอ....คุยเรื่องปรัชญาแล้วเริ่มยาว .... สนุกดีนะคะ ^__^

สวัสดีค่ะ พี่หมู Ico48 ธ.วั ช ชั ย

อาจารย์แต่ละท่านที่ได้เรียนด้วย มีแนวทางการสอนแตกต่างกันไปค่ะ แต่สำหรับวิชานี้เรียกได้ว่า culture shock นิดนึง แต่ก็ปรับตัวแล้วก็สนุกไปกับเรื่องที่อาจารย์สอนได้

นี่ก็ยังมีความประทับใจอีกอย่างคือ เรื่องเจ้าชายน้อยที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จากการเรียนวิชานี้ล่ะค่ะ

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Ico48 umi

อาจารย์ comment ไว้ เหมือนฝากคำถามไว้เชียวค่ะ ว่า "ผมรู้ว่าผมไม่รู้"

อันนี้จะเป็นปรวิสัย หรือ อัตวิสัย ........ ชวนคิด........ ดีจัง

แต่ยังฟันธงตอบไม่ได้นะคะ

..ธรรมะและ..อนัตตา..เห็นอยู่ไม่รู้จริง..เห็นแล้ว..ก็ยังไม่รู้อ้ะ..ว่าจะจริงหรือไม่จริง..อ้ะ..ชักงงงง..อิอิ..ยายธี

สวัสดีค่ะ ยายธี ... ^_^

ตกลงไม่รู้ที่เห็นมันจริงหรือไม่จริงเหมือนกันค่ะ... เอ๊ะ ชักงงด้วยคนแล้วค่ะ

  • ตามมาอ่าน
  • ทีแรกงง งง ตอนนี้ก็ยัง งง อยู่ ฮา
  • สวัสดีครับน้องมะปรางเปรี้ยว
  • ขอบคุณที่ตั้งคำถามให้ชวนคิด
  • คิดๆดูแล้ว น่าจะคล้ายๆกับคำว่า ปลาเป็นเป็นสิ่งที่ไม่ตาย ปลาตายเป็นสิ่งที่ไม่เป็น
  •  ยังงง งง อยู่ไหมครับ

ขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ

อ่านความคิดเห็นของทุกท่าน เหมือนบันทึกนี้จะเปิดประเด็นให้งงกันรึเปล่าค่ะ ^_^

จริงแล้ว อัตวิสัย กับ ปรวิสัย ตรงกับหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็เท่านั้นเอง หรือว่าจะไม่จริง นิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท