สอนคนให้เป็นคน


แกะดำทำธุรกิจ (ติดตามรายละเอียดของ Workshop ได้ที่ www.blacksheep.co.th/workshop)

ผมไม่เคยรู้จักโรงเรียนลําปลายมาศพัฒนา จนกระทั่งคุณนฤมล บุญทวีกิจ ที่เป็นจ่าฝูงแกะดําด้วยกันแนะนําว่า พวกเราน่าจะไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนนี้ เพราะกระบวนในการสอนหนังสือของโรงเรียนนี้มีความพิเศษที่น่าจะเผยแพร่ ให้สังคมรับรู้

โรงเรียนลําปลายมาศพัฒนาตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พวกเรามีโอกาสพูดคุยกับครูวิเชียร ไชยบังครูใหญ่ของโรงเรียนจึงทราบถึงที่มาและความวิเศษของระบบการศึกษาแนว ใหม่ โรงเรียนนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของคุณมีชัย วีระไวทยะที่ต้องการพัฒนาให้เยาวชนไทยในต่างจังหวัดมีโอกาสได้รับการศึกษา ที่มีคุณภาพ ประจวบเหมาะกับคุณ James Clark ซึ่งเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย มีความต้องการตอบแทนคุณให้กับถิ่นที่อยู่ที่เขามีความผูกพัน คุณ Clark ติดต่อกับคุณมีชัย พร้อมแจ้งความประสงค์ว่าต้องการบริจาคทุนทรัพย์ส่วนตัวเพื่อใช้ในการ พัฒนาการศึกษา

นี่คือจุดตั้งต้นของโรงเรียนลําปลายมาศพัฒนา ที่มีครูวิเชียรเป็นผู้บริหารโดยมีเป้าประสงค์ให้เป็นโรงเรียนที่ดีที่สุด ครูวิเชียรให้ความเห็นว่าระบบในการศึกษาปัจจุบัน ครูที่มีอยู่กว่า 400,000 คนทั่วประเทศยึดติดกับความรู้ โดยไม่สนใจในเรื่องของวิธีคิดและกระบวนการในการแสวงหาความรู้ เป็นผลให้คุณภาพของคนที่จบการศึกษาในระบบเก่ามีพัฒนาการที่ช้า และบางครั้งไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้

ระบบในการศึกษาที่โรงเรียนลํา ปลายมาศพัฒนาจึงให้ความสําคัญกับกระบวนการในการแสวงหาความรู้ ด้วยความเชื่อว่าถ้านักเรียนมีสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการดําเนินชีวิต พวกเขาจะตกนํ้าไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกครู ครูวิเชียรบอกว่า ผมไม่ต้องการคนเก่ง ผมต้องการคนที่มีความสนใจในเรื่องการเรียนรู้ เมื่อได้บุคลากรที่มีจิตวิญญาณที่ถูกต้องแล้ว ต้องมาฝึกอบรมอีกหกเดือน เน้นให้มีความเข้าใจว่ากระบวนในการเรียนรู้ที่ถูกต้องมีขั้นตอนอย่างไร และให้พวกเขามีความศรัทธาและลึกซึ้งกับสิ่งเหล่านี้

ครูวิเชียรขยายความให้พวกเราเข้าใจว่ากระบวนในการเรียนรู้ที่ถูกต้องมีรูปแบบอย่างไร

เริ่มต้น จากการที่ครูต้องหาให้เจอว่านักเรียนแต่ละคนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร สร้างให้นักเรียนเกิดความอยากรู้ สงสัย ให้เกิดการตั้งคําถาม ให้นักเรียนรู้ว่าเรื่องที่เรียนรู้จะมีความหมายอย่างไรกับตัวของพวกเขาเอง ครูจึงมีหน้าที่เล่าเรื่องให้มีผลกระทบ สร้างแรงบันดาลใจกับนักเรียนให้เกิดแรงผลักดันที่ทําให้วงล้อของการเรียนรู้ เริ่มหมุนได้ด้วยตัวของมันเอง

ในขณะเดียวกันครูต้องร่วมกับกลุ่มนักเรียนมาวางแผนว่าจะเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องอะไร แล้วต่างคนต่างแยกย้ายไปศึกษาเรื่องของตนเอง

หลัง จากนั้นคือการรวบรวมข้อมูล ในโรงเรียนจะมี Computer วางไว้ในทุกที่ นักเรียนอยู่ที่ไหนก็เข้าไปใช้ได้หมด และครูจะมีการชี้แนะแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยทําให้นักเรียนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ครูจะให้ความเป็นอิสระกับนักเรียน มีโอกาสลองผิดลองถูกในการหาข้อมูล แล้วนําข้อมูลเหล่านั้นมาแบ่งปันกันห้องเรียน เพื่อนําไปขยายผลต่อ

การศึกษาที่โรงเรียนลําปลายมาศพัฒนาจึงเป็นการเรียนที่ไม่มีแบบเรียน ไม่มีหนังสือ

ครู วิเชียรเชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้เปรียบเหมือนสปริง ช่วงแรกจะยากและใช้เวลา พอฝึกฝนไปเรื่อยๆ จะสะสมความเข้าใจในแก่นแท้ ทํางานได้เร็วขึ้น ตรงเป้าหมาย เป็นกระบวนการที่สุดท้ายจะเป็นสปริงที่มีแรงดีดมาก สามารถต่อยอดของการเรียนรู้ได้ไม่รู้จบ

ที่โรงเรียนลําปลายมาศพัฒนา ยังให้ความสําคัญกับกระบวนในการคิด เพราะเชื่อว่าคนที่คิดเป็นคือคนที่สามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยมีรายละเอียดของการสอนวิธีคิดคือ

  • คิดแบบมีตรรกะ

  • ความคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยฝึกให้นักเรียนมีจินตนาการ แล้วจินตนาการจะนําไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ครูวิเชียรให้ความเห็นว่า กระบวนการในการเรียนรู้ที่ผิด จะทําให้คนเราขาดจินตนาการทําให้คนคนนั้นคิดแบบสร้างสรรค์ไม่ได้

  • คิดเชิงวิสัยทรรศน์ การพัฒนาให้นักเรียนเกิดความแข็งแกร่งจากภายในคือความพิเศษอีกประการหนึ่ง ที่ผมคิดว่ามีน้อยโรงเรียนในประเทศไทยที่ใส่ใจเรื่องอย่างนี้ และครูวิเชียรได้ยกตัวอย่างสิ่งละอันพันละน้อยที่ทางโรงเรียนได้ลงในทุก รายละเอียดเพื่อสร้างคนให้เป็นคน

  • โรงเรียนนี้ไม่มีระฆัง นี่คือชีวิตจริงที่ฝึกให้ นักเรียนมีวินัยของตัวเอง

  • โรงเรียนนี้ไม่มีการ เปรียบเทียบ ไม่มีการจัดลําดับในการสอบของนักเรียน มีแต่การประชัน ไม่มีการแข่งขัน เพราะโรงเรียนนี้มีความเชื่อว่า นักเรียนทุกคนมีข้อดีหมด เพียงแต่มีข้อดีที่แตกต่างกัน

  • โรงเรียนนี้ไม่มีคําพูดทางด้านลบให้กับนักเรียน ไม่มีการตั้งฉายา ไม่มีคําตวาด ไม่ใช้ความรุนแรงกับนักเรียน

  • เมื่อนักเรียนทําผิด ครูจะไม่เป็นคนตัดสินว่าจะลงโทษอย่างไร แต่ให้นักเรียนเป็นคนพิจารณาตนเองว่าควรจะทําอย่างไร

ครูวิเชียรบอกว่าในช่วงเวลาที่นักเรียนใช้ชีวิตที่โรงเรียนนี้คือการ เตรียมการให้พวกเขามีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจ เมื่อพวกเขาออกไปผจญกับโลกภายนอกจะทําให้เขาสามารถ เหนี่ยวนํา ดึงดูดคนอื่นไปในทางที่ดี ทําให้สังคมเดินไปข้างหน้าได้

เป้าหมายในการทํางานของโรงเรียนลําปลายมาศพัฒนา จึงเป็นการสร้างความพร้อมให้นักเรียน มีเครื่องมือที่สามารถโต้คลื่นลมของชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง

ไม่ใช่เป็นการติดอาวุธด้วยองค์ความรู้

แต่เป็นการสร้างกระบวนการคิดที่ถูกต้อง สอนคนให้เข้าใจกระบวนในการแสวงหาความรู้ มีความมั่นคงทางจิตใจ

นอกจากการสอนนักเรียน โรงเรียนลําปลายมาศพัฒนายังต้องการเผยแพร่ระบบการศึกษาแนวใหม่นี้ให้กับ โรงเรียนอื่นๆ ที่สนใจ โดยการฝึกอบรมครูจากโรงเรียนอื่นๆ โดยครูวิเชียรตั้งเป้าหมายว่าอยากให้มีโรงเรียนที่ใช้ระบบการสอนใหม่นี้สัก 1,000 โรงเรียน เพื่อเกิด Critical mass ของการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาของประเทศนี้

ผมถามครูวิเชียรว่าแล้วทางโรงเรียนหาทุนทรัพย์มาสนับสนุนค่าใช้จ่ายของโรงเรียนได้อย่างไร เพราะนักเรียนของโรงเรียนนี้เรียนฟรีทุกคน

เมื่อรู้คําตอบ ทําให้ผมกับคุณนฤมลหยุดคิดไปชั่วครู่ใหญ่

เป็นเงินบริจาคของคนต่างชาติ และบริษัทต่างชาติ

มีน้อยมากที่มาจากเงินบริจาคของบริษัทคนไทย ทั้งๆ ที่ผลงานของครูวิเชียรและโรงเรียนลําปลายมาศพัฒนาเกิดจากความตั้งใจที่ ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย และผลงานเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยได้รับการประเมินจากมหาวิทยาลัย Tasmania ว่าโรงเรียนนี้อยู่ในระดับ World class standard

ผมจึงถือโอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ให้บริษัทคนไทย ที่มีจิตกุศลในเรื่องการศึกษาช่วยบริจาคทุนทรัพย์ เพื่อทําให้การพัฒนาคนให้เป็นคน มีโอกาสทําในวงที่กว้างมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยติดต่อได้ที่ครูวิเชียร ไชยบัง

ครูวิเชียร ไชยบัง

ผมอยากบอกกับสังคมไทยว่าในชีวิตจริง วิธีคิด มีความสําคัญกว่าองค์ความรู้ มันทําให้คนเราฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ แล้วประสบความสําเร็จตามศักยภาพของแต่ละคน
วิธีคิดจึงเปรียบเสมือนเสาเข็มของชีวิต
ด้วยความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ผมจึงจัด Workshop คิดและใช้ชีวิตแบบแกะดํา ในรูปแบบของ Public session ในวันที่ 11-13 มีนาคม สาระสําคัญของ Workshop คือการสอน ให้ผู้คนคิดให้เป็นองค์รวม นําด้วยสมองขวา แล้วตามด้วยสมองซ้าย สร้างให้คนมีจินตนาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์ แล้วรู้จักหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าสิ่งที่คิดมีตรรกะหรือไม่
เป็นวิธีคิดที่ผมเรียกว่า Rebalance ซึ่งจะทําให้เกิดสมดุลใหม่ของของสองสิ่ง
  1. ความรู้สึก กับ ความรู้
  2. ความคิดสร้างสรรค์ กับ ตรรกะ
  3. Cross industry learning กับ Category expertise
  4. ความเสี่ยง กับ ความรับผิดชอบ
คนไทยส่วนใหญ่ขาดสิ่งที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ และ Workshop ของผมจะมาช่วยเติมเต็มในสิ่งที่หายไป
Workshop นี้จึงเป็นการติดตั้งระบบทางความคิดที่มีพลังมหาศาล เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้คนเป็นแกะดําทําธุรกิจได้
หมายเลขบันทึก: 487057เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดิฉันสอนอยู่ที่ ร.ร. แห่งนึงใน จ. ปทุมธานี และมี โอกาสเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับหลักสูตรโรงเรียนมาตราฐานสากล ที่ต้องใช้ กิจกรรมการเรียนการสอน เป็นวิชา ซึ่ง ผอ.ร.ร. แห่งนึง เสนอให้ไปศึกษาดูงานที่ ร.ร.ลำปลายมาศพัฒนา จากนั้นมาดิฉันจึงรุุจัก ร.ร. ลำปลายมาศพัฒนา แห่งนี้ และพยายามติดตาม ความเคลื่อนไหว พร้อมกับเป็นกำลังให้กับคณะครูและบุคลกรทุกคนด้วยค่ะ

ครับชื่นชมวิธีคิดท่าน ผอ.วิเชียร ที่สร้างโรงเรียนแบบนี้ ในขณะที่เด็กบ้านนอกหลั่งไหลไปเรียนในเมือง แต่ที่นี่เด็กมาจากทุกที่ เพื่อเรียนรู้วิชาชีวิต

กล้าที่จะเปลี่ยน ชอบมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท