อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจนักศึกษา 2 ( ให้ยาผิด )


สำหรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากความไม่ตั้งใจของนักศึกษานั้นมีหลายเรื่อง  ทั้งที่ทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย  และกับตัว นักศึกษารวมทั้งพี่เลี้ยงเองด้วย เพราะการทำอะไรกับคนนั้นละเอียดอ่อน   ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ไม่อนุญาตให้ นักศึกษาเจาะเลือด ให้น้ำ เกลือ  หรือฉีดยา เลย  จริงๆชลัญ ไม่เห็นด้วย เพราะถ้าไม่ฝึก แล้วจะเก่งได้อย่างไร  แต่การฝึกนั้นต้องมั่นใจว่า ปลอดภัย  สมัย ชลัญเรียน นั้นฉีดยา ให้น้ำเกลือ เจาะเลือด ต้องจับคู่กัน  อาจารย์ ให้ใช้น้ำกลั่นฉีด คนละ 0.5 cc ปวดชะมัด  แต่เรียนแล้วก็ต้องทำ  แต่สมัยนี้ไม่รู้ว่ายังทำอยู่หรือเปล่า ถามน้องๆส่วนใหญ่มาฝึกกับผู้ป่วยเลย  การลองกับหุ่นนั้มีเหมือนกัน แต่คนละความรู้สึก   

    มีอีกเรื่องที่ทำให้ นักศึกษาเกือบให้ยาผู้ป่วยผิด  เราไม่คาดคิด เพราะเป็นยาง่ายๆ แค่ พาราเซตามอล  ไม่คิดว่า นักศึกษา พยาบาลชั้น ปีืั้ 4 ไม่รู้จัก 

      ในขณะที่ซักประวัติเด็กป่วยอยู่นั้น  เด็ก นน. 8.5 กก.  จำอายุไม่ได้แล้ว  วัดไข้ พบ มีไข้  39.0 'C ก็เลยบอก นักศึกษา ว่า น้อง เอายาลดไข้ให้เด็ก หน่อย   เอาค่อนช้อน ( 3.5 ml  1 ช้อนชา = 5 ml )  นักศึกษาก็ปฏิบัติตามอย่างรวดเร็ว  ขณะที่กำลังป้อนยา อยู่นั้น  ชลัญเหลือบไปเห็น

    เฮ้ย ....สียามันแปลกๆ  ...น้องเดี๋ยว  เมื่อกี้หนูเทยาขวดไหนให้เด็ก 

    นศ.หยิบยามาให้ดู  ชลัญเอามือกุมหัว  เลย  ตายแล้วเกือบไป 

    นศ.  ก็เขียนไว้ว่า Paracetamol ทำไมเหรอค่ะพี่โจ้

   ชลัญ :  เอ้าหนูลองหยิบอีกขวดซิ

    นศ.  : Paracetamol เหมือนกัน  อ้าวพี่โจ้ แล้ว  แล้วมันต่างกันยังไงค่ะ 

    ชลัญ :  เอางี้  หนูเปลี่ยนยาให้เด็ก  แล้ว  พาไปเช็ดตัวลดไข้ก่อนแล้วช่วงบ่ายพี่จะสอนเรื่องการให้ยา ( Paracetamol  ยาง่ายๆ ที่อาจให้ผิด )

แล้วเมื่อถึงช่วงเวลาบ่ายที่ผู้ป่วยซาลงแล้ว  ก็เรียก นศ.มาสอนการให้ยา

ยาพาราเซตามอลที่ใช้ ในโรงพยาบาลเรานี่มีทั้งหมด  4 แบบ ด้วยกัน

1. ชนิดฉีด  เป็น Paracetamol  injection  150 mg / ml in 2 ml นั่นหมายความว่า ใน 2 ml นี้มี Paracetamol 300 mg

2. Paracetamol  500 mg  tab. ใช้ในผู้ใหญ่  หรือ น่้ำหนัก มากกว่า 40 กก.ขึ้นไป   ใช้ครั้งละ 10 -15 mg /kg/dose  หรือประมาณ 1-2 tab ต่อครั้ง 3.    Paracetamol  325 mg  tab. ใช้ในเด็กโต ที่  นน.เกินกว่า 30 กก. และสามารถกินยาเม็ดได้   ใช้ครั้งละ 10 -15 mg /kg/dose 

4. Paracetamol syr.120mg / 5 ml 10 -15 mg /kg/dose    การใช้ ก็ คำนวณง่ายๆ นน. 10 กก. กิน 1 ช้อนชา 

5. Paracetamol drop  (60 mg/0.6 ml )การให้คำนวณง่ายๆ  0.1 ml / นน.1 kg ส่วนใหญ่ไว้ใช้ในเด็กเล็กๆ 

กรณีคนไข้ที่สั่งยา Para syr. ค่อนช้อน 3.5 ml ผู้ป่วยจะได้ยา = 3.5*120/5 = 84 mg

   แต่ถ้าน้องให้ Para drop  3.5 ml  ผู้ป่วยจะได้ยาถึง 3.5*60/0.6 =350 mg

    ซึ่งเป็น dose  ที่สูงมาก  แต่จริงๆ  ก็เป็นความผิดขอบชลัญที่สั่งไม่ครบว่า เอา Para syr.  หรือ Para drop  แต่เท่าที่ถาม นักศึกษา ไม่ทราบว่ามี para  ที่เป็นชนิดน้ำ 2 แบบ

 เฮ้อ.....เกือบไปแล้วมั๊ยล่ะ  นักศึกษา 

 

 

หมายเลขบันทึก: 486951เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

How can anybody tell the differences in "packaging" of paracetamol?

Do they have different colours (as in your case), distinctive signs/icons, prominent labels, etc.? Or is it "inadequate training" of nursing students? Or inadequate "supervision" of nursing stydents? ...

By the way, last time I was travelling upcountry in Thailand. I had some health problems, went to a private hospital in BKK, given some antibiotic tablets, later I had other symptoms, went to another hospital in the province, had blood tests (and a black, bruised area on my left arm that took 5 days to go away), found that I had low tolerance for one kind of the given antibiotic, and i was given alternate medicine, which increased my senses of taste and sense of smell markedly (i could not take chillies -- they became very hot and very smelly for about a week, and I spat out soup in a Sydney restaurant 10 days later because it was too salty to my taste).

I wonder if my extra adventures were added by "well trained doctors" in their rush to serve people ;-) not just a trainee nurse who punched for my vein 4 times and twisted the needle in my muscle to get to my vein.

I survived that. All my symptoms went when I ate less adventurously (more "home cooking"). Perhaps it was just the way the microbes in my gut protested.

Today, I still don't know and wonder if อาการแพ้อาหารแพ้ยา may come from the gut bacteria protesting or protecting their environment. What do you think?

ขอบคุณท่าน SR ค่ะที่มาให้กำลังใจและแสดงความคิดเห็น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึนทำให้ ชลัญมาคิดเหมือนกันค่ะ ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในกระบวนการให้การพยาบาลบางอย่าง พอทบทวนก็พบว่า การเรียนพยาบาลนั้นเน้นที่การให้การพยาบาล แต่เวลาปฏิบัติงานจริง เขาใช้พยาบาลแบบคุ้มค่า เช่น เอาพยาบาลไปทำหน้าที่จ่ายยาแทนเภสัชกร เช่น เอาพยาบาลไปทำหน้าที่ตรวจรักษาโรคแทนแพทย์ หรือเช่น เอาพยาบาลไปทำหน้าที่ ควบคุมโรคแทนนักวิชาการสาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งวิชาพวกนี้พยาบาลเรียนมาน้อยมาก และด้วยความน้อยนี่แหล่ะที่มักทำให้พยาบาล ได้รับผลกระทบเสมอ

   อย่างกรณีที่ชลัญเขียน นี่ อยากสื่อสารให้คนอื่นๆรู้ว่า  ในยาบางอย่างที่หลายคนคิดว่าไม่อันตรายมาก แต่ถ้าได้จากคนที่ไม่รู้ หรือรู้ไม่จริงอาจ เกิดโทษได้ ในกรณีนี้ชลัญเข้าใจว่า นศ . พบ.ซึ่งผ่านการเรียนมา 4 ปีเกือบจบเหลือเพียงฝึกวิชานี้เท่านั้น จะไม่รู้ว่าพารามีกี่ประเภท  ซึ่งจริงๆแล้วเวลาผ่านประสบการณ์จาก ward นั้นเขาน่าจะเจอ บ้าง  ไม่คิดว่าจะมี นศ.ที่ไม่เคนเจอไม่รู้  อย่างการ Lables ยา นั้น เราเขียนชื่อยาชัดเจน  ขนาดวิธีใช้  แต่ด้วยความที่ นศ.คนนี้ไม่ได้สักเกตว่ายาชนิดน้ำนั้นมันมี 2 ขวด คิดว่าเหมือนกันทั้งที่ขนาดขวดต่างกันสลากต่างกันแต่เขาคิดว่าคงเป็นคนละบริษัท  ก็เลยทำให้เข้าใจผิด  แต่ถ้าชลัญ เห็นสียาแล้วจำได้นั้น เพราะเวลาเบิกยามา เราจะต้องตรวจดูทุกอย่าง  วดป.ผลิต  วดป.หมดอายุ  ลักษะทางกายภาพ ที่ไม่ผิดแปลก  ซึ่งยา Lot. นี้ชลัญจำได้ว่าสีมันต่างกันก็เลยเอะใจ  แต่ถ้า เหมือนกันบาง Lot อาจไม่รู้  ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นความใส่ใจเล็กๆน้อยๆ ของชลัญเอง แต่ท่าน SR เชื่อมั๊ยว่า มีคนที่ได้รับผลกระทบ จากพยาบาล หรือแพทย์   ที่สะเพร่า มีไม่น้อย 

จากเรื่องนี้ทำให้ชลัญ ในฐานะ อาจารย์พี่เลี้ยง นศ. ก็มาปรับระบบ trainning ใหม่ โดยการ Orientation ใหม่หมด แต่คงได้แค่แผนกผู้ป่วยนอก เท่านั้นถ้าแผนกอื่น ชลัญไม่แน่ใจว่าเขารอบคอบแค่ไหน อย่างมีกรณี พบ.จบใหม่ ฉีดยาคนไข้ผิด ที่รพ.นี่ ชลัญกลุ้มเลยคือแพทย์สั่งยาตัวหนึ่งเป็นยาฉีดแก้ปวด  ผสมยาชา จะให้ฉีด ticker point แต่ พบ.ใหม่ไม่รู้จัก ticker pointซึ่งแพทย์จะเป็นคนฉีดเอง  ก็เลยเอาไปฉีดก้นคนไข้ พอแพทย์มาถามว่า ยาฉีดเตรียมเสร็จหรือยังพยาบาลถึงได้รู้เรื่องขึ้นมา  อาการปวดคนไข้น่ะหาย เพราะเขาปวดเข่า  แต่ของแถมคือชาก้นไปครึ่งวัน

 เป็นเพราะความไม่ซื่อสัตย์ของคน ซึ่งชลัญมักจะเน้นความซื่อสัตย์ องค์ความรู้ และ ความเอื้ออาทรในการดูแลคนไข้ นี่เขียนใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/486885  แต่ปรากฏว่าพยาบาลจบใหม่คนนี้ไม่รู้คำสั่งแพทย์แล้วไม่ถามใครปฏิบัติการพยาบาลไป ดีที่ว่าไม่เดิอันตรายมาก  แต่มันก็ แสดงถึงความ ละหลวมในการ trainning  ที่ OPD ชลัญ จึงเน้นมาก กลับเขาได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติที่เขาไม่รู้ กระทบทั้งเขาและคนไข้

ว๊าว....ดีใจจังท่านSR สนใจด้วยคำถามที่ 2 มาแล้ว เดี๋ยวขอเวลาแปลก่อนนะ ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แต่ดีนะชลัญ ได้ฝึกภาษาด้วย รอแป๊บนะเดี๋ยวมาตอบ ขอบคุณค่ะ

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจาการใช้ยานั้นมีหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งบางครั้งทำให้คนเข้าใจว่านี่คือการแพ้ยา แต่จริงๆการใช้ยานั้น อาจจะทำให้เกิดอาการผิดปกติได้เช่น

         การได้รับยาเกินขนาด เช่น ยาเบาหวาน อาจทำให้น้ำตาลต่ำ ถึงขั้นเสียชีวิต 

        ผลข้างเคียงจากฤทธิ์ของยา เช่น ยาพวกaspirin ที่มาใช้ในการระงับอาการปวดอาจส่งผลให้มีเลือดออกง่าย หรือระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้มีแผลมีเลือดออกในกระเพาะ

        ผลข้างเคียงจากยา เช่น พวกอาการ ขมในคอ หายใจมีกลิ่นเหม็น ถ่ายดำ ในพวกที่ได้ยาที่มีธาตุเหล็ก ปัสสาวะสีเปลี่ยนใจสั่นมือสั่นหัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น 

        การเพิ่มฤทธิ์ของยา Drug interactions เช่นถ้ากินยาตัวนี้ แล้วกินยาอีกตัวร่วมด้วยจะส่งผลให้มีการเพิ่มฤทธิ์ จะเกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ จากยาได้

          Idiosyncratic reactions เป็นปฏิกิริยาที่เกิดโดยคาดการณ์ไม่ได้ว่าจะเกิดอาการภูมิแพ้หรือไม่

         นี่เป็นความรู้ที่เราจะต้องแนะนำผู้ป่วยทุกครั้งที่จ่ายยา ว่าสิ่งที่เขาจะพบจากการใช้ยานี้มันจะเกิดอะไรได้บ้าง แต่ในความเป็นจริง ชลัญไม่แน่ใจว่าจะมีใครอธิบายคนไข้ให้เข้าใจหรือเปล่า ว่าอาการที่เกิดขึ้น นั้นอันตรายหรือไม่อันตราย อย่างยา Antibiotic นี่ใช้กันผิดมากที่สุด แล้วส่งให้เกิดผลกระทบทางด้านการรักษามาก จากความไม่เข้าใจเรื่องการใช้ยา ชลัญ เขียนเรื่องการใช้ยา Antibiotic ไว้ แล้วจะทยอยบันทึกใน GTK ต่อไป ขอบคุณที่ให้กำลังใจ

  • ตามมาให้กำลังใจ
  • เกือบเป็น Paracetaม่องแล้ว 555
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท