๒๑. สรุปบทเรียนกรณีศึกษา : การจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมศูนย์เรียนรู้ชุมชน


การสร้างความรู้ความเข้าใจ พร้อมกับรวบรวมข้อมูลและความรู้จากการปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ผ่านกระบวนการ การถอดบทเรียน การจัดการความรู้เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของศูนย์เรียนรู้ชุมชน : การจัดกลุ่มวิเคราะห์และอภิปรายข้อมูลจาก ๔ กรณีศึกษา นำเสนอ และสรุปบทเรียน ในครึ่งบ่ายของวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ ในการประชุมชี้แจงและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ ณ โรงแรมเอเชีย ราชเทวี กรุงเทพฯ

รูปแบบและกระบวนการ ดำเนินการในระยะเวลา ๓ ชั่วโมง โดยมีกระบวนการก่อนหน้าให้พื้นฐานความพร้อมที่สำคัญ ก่อนจัดกระบวนการถอดบทเรียนซึ่งออกแบบกระบวนการให้เชื่อมโยงกัน คือ

๑. การเจาะจงเลือกผู้เข้าร่วมเวทีจากทุกพื้นที่จังหวัด ๗๗ จังหวัด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน ๓ คน ประกอบด้วยระดับหัวหน้า นักวิชาการพัฒนาชุมชน และผู้ประสานงานศูนย์เรียนรู้ชุมชน
๒. ประสบการณ์พื้นฐานของผู้เข้าร่วมเวที ผู้เข้าร่วมเวทีทั้งหมดเป็นนักวิชาการพัฒนาชุมชน สามารถใช้ประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจเดิม เป็นฐานในการหยิบยกประเด็นต่างๆขึ้นมากล่าวถึงแล้วเข้าสู่การอภิปรายเชิงลึกเกี่ยวกับความเป็นชุมชนได้มากกว่ากลุ่มคนทำงานในสาขาอื่นหลายประการได้มากพอสมควร
๓. การชี้แจงแนวนโยบายและแนวดำเนินการโดยระดับผู้บริหารของกรมการพัฒนาชุมชน
๔. การบรรยายและให้แนวคิดโดยผู้รับผิดชอบแผนงานระดับประเทศ
๕. การบรรยายให้แนวคิดและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้
๖. การเลือกกรณีศึกษา ๔ กรณีอย่างเหมาะสมและสะท้อนบทเรียนอันซับซ้อนของการทำงานในพื้นที่ภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย

องค์ประกอบของผู้เข้าร่วมเวทีและการเตรียมพื้นฐานดังกล่าวนี้ มีส่วนสำคัญมากต่อการทำให้สามารถใช้เวลาอันจำกัดใน ๓ ชั่วโมง จัดกระบวนการถอดบทเรียนในลักษณะนี้ได้

ระเบียบวิธี : วิเคราะห์และสังเคราะห์บทเรียนจาก ๔ กรณีศึกษา 
๑. ศึกษาภาพรวมกับกลุ่มกรณีศึกษาโดยการอภิปรายและเสวนา
๒. วิเคราะห์จากประสบการณ์หลายจุดยืนโดยกลุ่มย่อย
๓. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลภายในกลุ่มประสบการณ์ย่อยระดับภูมิภาค ในห้องกลุ่มย่อย
๔. นำเสนอเพื่อประมวลภาพและสังเคราะห์ภาพรวมข้ามบริบทของกรณีศึกษา
๕. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลภายในกลุ่มประสบการณ์ย่อยระดับประเทศและระดับทั่วไปซ้ำอีกครั้งผ่านกระบวนการในเวทีรวม เพื่อสร้างความเชื่อถือได้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มี ทั้งภายในกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ และระหว่างสาขาการปฏิบัติที่แตกต่าง รวมทั้งความเชื่อถือได้ต่อการนำไปเชื่อมโยงกับการอธิบายเชิงทฤษฎีที่มีความสามารถอ้างอิงกันได้ในระดับต่างๆ กระทั่งหลักทฤษฎีและวิชาการที่คนทั่วไปเข้าใจได้
๖. วิพากษ์ระเบียบวิธี เพื่อให้เห็นถึงการสร้างคุณภาพข้อมูลความรู้ ธรรมชาติเฉพาะของสิ่งที่ได้ จุดแข็ง จุดอ่อน ข้อจำกัด สรุปและอภิปรายผล เสริมความรู้เชิงทฤษฎี โดยวิทยากร

เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์

๑. การออกแบบกระบวนการเวที ๔ องค์ประกอบ และดำเนินการแบ่งกลุ่ม ๓ ขั้น ประกอบด้วยการเสวนาในเวทีรวม การแบ่งกุล่มย่อย การนำเสนอเวทีรวม การสรุป เสริมความรู้เชิงทฤษฎี และพัฒนาการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง
๒. ประเด็นคำถาม พัฒนาโดยทีมผู้ดำเนินโครงการของกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อตอบโจทย์เชิงนโยบายของหน่วยงาน ๕ ประเด็น
๓. ประเด็นคำถามเพื่อการวิเคราะห์ ศึกษาเรียนรู้จากเวที และสรุปบทเรียน ๙ ประเด็น พัฒนาโดยทีมวิทยากร แจกจ่ายแก่ผู้ร่วมเวทีทุกคน คนละชุด
๔. สื่อและอุปกรณ์ช่วยเก็บบันทึกข้อมูลเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์แบบผสมผสานและให้ประสบการณ์ที่เข้มข้นหลายระดับและหลากหลายช่องทาง ประกอบด้วย บอร์ดขาตั้งและฟลิปชาร์ต วิดีทัศน์ โน๊ตบุ๊คและผู้บันทึกโดยวิทยากร
๕. วิทยากรหลัก ๑ คน ทีมวิทยากรเชิงวิชาการจากสำนักจัดการความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชน ประจำกลุ่มย่อยกลุ่มละ ๑-๒ คน และวิทยากรกรณีศึกษา ๔ คน
๖. วิทยากร ๔ กรณีศึกษา มีบทบาทใน ๓ กระบวนการ ประกอบด้วยเสวนาในเวทีรวม ประจำกลุ่มย่อย และร่วมเวทีนำเสนอในเวทีรวม

วิธีดำเนินการ

๑.รวบรวมข้อมูล พัฒนาประเด็นการวิเคราะห์บทเรียนให้ครอบคลุมรอบด้าน และศึกษากรณีตัวอย่างผ่านเวทีรวม : อภิปรายและเสวนากับวิทยากรกรณีศึกษาจาก ๔ พื้นที่จังหวัด ๔ คน มีประสบการณ์ ภาวะผู้นำ และเงื่อนไขแวดล้อมในการทำงานแตกต่างหลากหลาย โดยเป็นหญิง ๑ คนการศึกษาระดับประถมศึกษา จากชุมชนไม้เรียง นครศรีธรรมราช ผญบ.ชาย ๑ คน จากพิจิตร กำนัน อดีตเป็นครู จากสกลนคร และปราชญ์ชาวบ้าน อดีตเป็นครู จากราชบุรี

๒. วิเคราะห์และอภิปรายผลจากหลายจุดยืนด้วยกลุ่มย่อย ๔ กลุ่ม :  วิเคราะห์และอภิปรายจากประสบการณ์ของผู้ทำงานเชิงพื้นที่เป็นกลุ่มย่อยโดยมีประเด็นเชิงโครงสร้าง ๙ ประเด็น เพื่อการวิเคราะห์และสรุปบทเรียน สำหรับประมวลผลให้ได้แนวคิดและแนวดำเนินการส่งเสริมการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แต่ละกลุ่มมีทีมวิทยากรประจำกลุ่มย่อยจากกรมการพัฒนาชุมชนซึ่งได้ซักซ้อมแนวทางเพื่ออำนวยการกระบวนการกลุ่มให้บรรลุจุดหมายด้วยการทำงานร่วมกันในกลุ่มย่อย

๓. กระบวนการเรียนรู้และวิเคราะห์ข้ามบริบท : ตัวแทนจาก ๔ กลุ่มย่อย นำเสนอเพื่อเรียนรู้ข้ามกลุ่มย่อย ๔ กลุ่มบนเวทีรวม

๔. บันทึกและเพิ่มพูนความเข้มแข็งของประสบการณ์จำเพาะตนของผู้เรียน : วิทยากรบันทึกรวบรวมประเด็นสำคัญเพื่อช่วยสร้างมโนทัศน์ฉายขึ้นจอภาพด้วยเครื่องฉาย LCD ให้เวทีเห็นไปพร้อมกัน เพื่อได้เห็นและใช้ประสบการณ์ของตนเองครุ่นคิดไประหว่างการรับฟังพร้อมกับพิจารณาให้เห็นความเชื่อมโยงกับประเด็นเชิงนโยบายของภารกิจที่ได้รับมาแล้วจากแหล่งข้อมูลต่างๆ นับแต่การบรรยายพิเศษของอธิบดีและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งระดับแผนและระดับติดตามกำกับการปฏิบัติ และเห็นประเด็นความเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ไปบนกิจกรรมการปฏิบัติต่างๆ

๔. วิเคราะห์และสรุปบทเรียนภาพรวมจากเวที ตอบโจทย์ร่วมกัน ทั้งเพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจต่อการกลับไปดำเนินการและขับเคลื่อนการจัดการความรู้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในพื้นที่จังหวัด สำหรับรับมือกับภัยธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพื่อประมวลผล รวบรวมข้อมูล แนวคิด และบทเรียนการปฏิบัติ เพื่อทำสื่อเป็นแนวทางส่งเสริมและสนับสนุน ให้เครือข่ายเชิงพื้นที่ต่างๆมีแหล่งอ้างอิงและสามารถประสานความร่วมมือกันได้ในระดับปฏิบัติ

๕. สรุปบทเรียนและสร้างมโนทัศน์ร่วมในหลายมิติที่สำคัญ อภิปรายให้ได้หลักคิดพื้นฐานและเสริมความรู้เชิงทฤษฎี วิพากษ์ระเบียบวิธีเพื่อให้ได้ความตระหนักถึงจุดอ่อนจุดแข็ง รวมทั้งนัยต่อการพัฒนาการเรียนรู้บนการปฏิบัติ ทั้งของเครือข่ายนักวิชาการพัฒนาชุมชน ชาวบ้าน และเครือข่ายในพื้นที่ต่างๆ

.................................................................................................................................................................................................

สรุปบทเรียน

จากสื่อพาวเวอร์พ๊อยต์ ซึ่งได้บันทึกฉายขึ้นจอระหว่างนำเสนอผลการทำงานกลุ่มย่อย ๔ กลุ่ม

.................................................................................................................................................................................................


.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

.................................................................................................................................................................................................

การวิเคราะห์บทเรียน เป็นการผสมผสานไปด้วยกันระหว่างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในเวที เกิดการวิเคราะห์และอภิปรายเป็นกลุ่ม สื่อสารและไหลเวียนข้อมูลได้ทั่วถึง ซึ่งช่วยลดสื่อกลางและสิ่งสอดแทรก ให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั่วประเทศสามารถเข้าถึงเรื่องราวต่างๆภายใต้บริบทของสถานการณ์เดียวกันชุดหนึ่งด้วยตนเองได้มากกว่าการส่งหนังสือชี้แจงหรือจัดประชุมชนมอบหมายงาน สามารถสร้างมิติสังคมและความมีประเด็นส่วนรวมที่เชื่อมโยงถึงกันให้เกิดขึ้นบนกระบวนการทางความรู้ พร้อมทั้งได้ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลกันทั้งภายในและภายนอกกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งโดยกระบวนการดังกล่าวนี้ ผู้เข้าร่วมเวทีจะผ่านกระบวนการเตรียมข้อมูล วิธีคิด และเตรียมทักษะพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับลักษณะของเวทีทำงาน จึงคาดว่าผู้ร่วมเวทีแต่ละคนจะสามารถใช้ประสบการณ์จำเพาะตนมาร่วมสร้างความคิด ความเข้าใจ และเห็นแนวปฏิบัติของตนเอง ยืดหยุ่นไปตามบริบทจำเพาะของแต่ละคน อีกทั้งได้เตรียมตนเองให้มีความสอดคล้องยืดหยุ่นไปกับบริบทเชิงพื้นที่สำหรับลกลับไปทำงานต่อไปอีกด้วย

นอกจากนี้ ในอีกแง่หนึ่ง ข้อมูล บทเรียน และแนวโน้มความตั้งใจ ตลอดจนความคาดหวังต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวทีครั้งนี้ ก็จัดว่าเป็นข้อมูลพื้นฐานชุดหนึ่ง ก่อนที่จะกลับเข้าสู่พื้นที่จังหวัดและดำเนินการโครงการกิจกรรมไประยะหนึ่ง ดังนั้น จึงสามารถใช้เป็นข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ หรือ Baseline Data ซึ่งเมื่อดำเนินการไประยะหนึ่งแล้ว หากประเมินและถอดบทเรียนเพื่อยกระดับการทำงานอีกเป็นระยะๆ ก็จะได้ข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบและวิเคราะห์มิติต่างๆ ทำให้การทำงานจัดการความรู้ มีการจัดการความรู้และเกิดกระบวนการเรียนรู้อยู่ในตนเองควบคู่ไปกับการปฏิบัติ พอดีและพอเพียงสำหรับการที่คนในพื้นที่กับชาวบ้านจะเดินไปด้วยกันด้วยกำลังและเงื่อนไขของตนเองได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลชุดนี้ เป็นข้อมูลก่อนดำเนินโครงการที่เกิดขึ้นจากเวทีเครือข่ายของคนทำงานซึ่งบันทึกไปบนการมีประสบการณ์ด้วยกัน ซึ่งจัดว่ามีความสำคัญในฐานะเป็นการอธิบายและพรรณาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วยมุมมองของผู้ปฏิบัติในระดับประสานงานเชิงนโยบายและแผนเชื่อมต่อกับเครือข่ายปฏิบัติการในพื้นที่ ซึ่งในระยะต่อไป ก็จะมีนัยสำคัญต่อการสร้างความรู้ที่มีพลังต่อการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติที่เป็นจริงของสังคมไทยในพื้นที่ต่างๆ พร้อมกับสามารถสื่อสารและมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับความพร้อมต่อการที่จะพึ่งความรู้ความเข้าใจของตนเองของเครือข่ายคนทำงานในสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดีอีกวิธีหนึ่ง ทำให้การถอดบทเรียนหรือการติดตามประเมินเพื่อบริหารจัดการตนเองในลักษณะต่างๆ มีข้อมูลและวิธีดำเนินการให้พอดีไปกับกำลังความพร้อมทางด้านต่างๆของการทำงาน โดยเฉพาะงานเชิงความรู้ การเรียนรู้ การปฏิบัติการเชิงสังคม การบริหารจัดการเป็นกลุ่มด้วยตนเองของกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสุขภาวะชุมชนที่พึงประสงค์ พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและชุมชน และสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขของชุมชน ตลอดจนสร้างความกลมกลืนกับสังคมวัฒนธรรมตามพื้นถิ่นต่างๆอย่างมีชีวิต.

หมายเลขบันทึก: 485753เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2012 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เยี่ยมเลยครับอาจารย์
  • เห็นภาพการทำกิจกรรมทั้งหมด
  • ได้เห็นตัวอย่างดีจากอาจารย์เสมอๆ
  • เสียดายพลาดไม่ได้พบกันครับ
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/485589

หนูได้รับประโยชน์จากการไปอบรมครั้งนี้มาก พวกเราอยู่กันถึงเย็นค่ำ ก็ไม่รู้สึกเบื่อ หรือเหนี่อยล้าแต่อย่างใด (แต่อาจารย์คงเหนื่อยอยู่ไม่น้อยนะค่ะ) ความรู้ ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ คงเป็นแนวทางให้พวกเราชาว พัฒนากรคนชนบท ได้ใช้ปรับปรุงพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนในหมู่บ้านให้มีความสมบูรณ์ให้ได้มากที่สุดจ้า

ผมว่าอาจารย์เป็น Role Model เรื่องการจัดการความรู้เลยครับ.. ชัดเจน เห็นภาพ เอาไปคิดไปทำเป็น kNOWLEDGE CAPITAL ได้เลย

สวัสดีครับอาจารย์ ดร.ขจิตครับ
เลิกเอาเสียเย็นทั้งสองวันเลยครับ ตอนโทรกลับหาอาจารย์นั้น ก็หลังเวลาเสร็จกิจกรรมประจำวันของเขา ซึ่งก็มืดค่ำเสียแล้ว ที่ มศว.ประสานมิตรนั้น ก็ได้ทราบว่าอาจารย์ไปช่วยอาจารย์ ดร.จันทวรรณ แล้วก็มีมือดีหลายท่านมาร่วมในเวทีด้วย รวมทั้งเสียดายมากอีกอย่างคือผมอยากไปที่ มศว.ประสานมิตร อยากไปดูหอศิลป์ ดูการแสดงงานศิลปะ แถวๆนั้นนะสิครับ เลยไม่ได้ไปสักที

สวัสดีครับคนเมืองแกลงครับ
เวทีลุยทำงานกันอย่างจริงจังใช้ได้เลยนะครับ เสียดายที่ระยะเวลาจำกัดมาก แต่ก็ทำงานออกมาได้ดีที่สุดเท่าที่จะออกมาภายใต้ข้อจำกัดที่มีได้ ดูแล้วก็น่าจะมีประสิทธิภาพดีต่อการเตรียมเครือข่ายให้ออกไปส่งเสริมคนในพื้นที่ ให้สามารถทำงานเชิงยุทธศาสตร์ ที่นำเอาปัจจัยความรู้และการจัดการความรู้ไปช่วย ได้อย่างพอเพียงกับเหตุปัจจัยที่เอื้อให้ทำกันได้นะครับ ขอให้ประสบความสำเร็จและบรรลุจุดหมายสมดังความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานต่างๆเสมอๆนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์ดร.ภิญโญครับ

หากมีบทเรียนคืบหน้าไปแล้วสักระยะหนึ่งละก็ เชื่อว่าหลายแห่งจะมีทุนทางความรู้สำหรับยกระดับเข้าสู่ประเด็นการพึ่งตนเองเชิงการจัดการได้มากยิ่งๆขึ้นเป็นลำดับตามกำลังประสบการณ์ของชุมชนต่างๆเลยละครับ

หลายบทเรียนของชุมชนมีลักษณะเป็น Social Lab และมีกระบวนการจัดการตนเองที่มากกว่าการจัดการศึกษาดูงาน แต่เป็นการผสมผสานเข้ากับการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมของชุมชนไปด้วย เช่น จัดการศึกษาดูงานพร้อมกับมีโฮมเสตย์และมีระบบจัดการเชิงธุรกิจที่พอดีกับวัฒนธรรมชาวบ้าน ทุนทางความรู้อย่างนี้ หากบ่มเพาะไปเรื่อยๆ ผมว่าสามารถเป็นทุนการจัดการ สำหรับขับเคลื่อนพลังการผลิตและการบริการ ที่ชี้นำและสร้างสรรค์การยกระดับมิติคุณค่าใหม่ๆให้เกิดขึ้นด้วยความรู้ ได้รสนิยมชีวิต ได้ความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตและการอยู่ร่วมกัน มีความหมายต่อการพัฒนาสังคมและเรื่องอื่นๆ ได้ดียิ่งๆขึ้นอีกแรงหนึ่งเลยนะครับ

เครื่องมือช่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและนำเสนอบทเรียน

ในช่วงการถอดบทเรียนนั้น ทางทีมของสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ได้ช่วยกันทำประเด็นคำถามแบบมีโครงสร้างขึ้นชุดหนึ่ง แล้วทำเป็นใบงานสำหรับทำเป็นงานกลุ่ม เขียนเป็นจดหมายโดยใช้กระแสนิยมจากสื่อเครือข่ายสังคมเป็นจดหมายจากครูอังคณา มอบให้ผู้เข้าร่วมเวทีตอบคำถาม ดังนี้

๑. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนตัวอย่างเกิดขึ้นได้อย่างไรมีความเป็นมาอย่างไร?
๒. เขามีกระบวนการ / ขั้นตอน / วิธีการในการพัฒนากันอย่างไรจนประสบผลสำเร็จ ?
๓. เทคนิคหรือเคล็ดลับในการดำเนินงานมีอะไรบ้าง ?
๔. กิจกรรมที่ดำเนินการมีอะไรบ้าง และผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ?
๕. ปัญหา อุปสรรคที่เจอและแก้กันได้อย่างไร
๖. ความโดดเด่นหรือเอกลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ชุมชนนี้คืออะไร ?

ลักษณะประเด็นคำถามแบบมีโครงสร้างดังกล่าว อาจจะช่วยในการทำงานถอดบทเรียนได้ดีในกรณีทำกลุ่มสัมภาษณ์เชิงลึกหรือ Focus Group แต่หลังจากผมได้ศึกษาดูประสบการณ์พื้นฐานของคนทำงานที่เข้ามาร่วมเวที ๒๐๐ กว่าคนจาก ๗๗ จังหวัด รวมทั้งได้ติดตามดูข้อมูลความเป็นมาต่างๆที่เกี่ยวข้อง และดูระยะเวลาที่มีเพียง ๓-๔ ชั่วโมงแล้ว ก็เห็นประเด็นสำหรับออกแบบกระบวนการให้เหมาะสมบางประการคือ

  • การทำ Focus Group จะจัดความสัมพันธ์กลุ่มผู้เข้าร่วมเวทีกับวิทยากรณีศึกษาซึ่งเป็นประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่มีประสบการณ์และมีความสำเร็จดีมาก กับกลุ่มผู้เข้าร่วมเวทีซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการพัฒนาชุมชนและพัฒนากร ให้กล่มหนึ่งเป็นกลุ่มสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม และประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชนก็จะอยู่ในฐานะเพียงผู้นั่งให้สัมภาษณ์หรือผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่อยู่ในฐานะที่จะได้นั่งมองความมีอนาคตร่วมกันและปรึกษาหารือ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งต่างๆไปด้วยกัน
  • กลุ่มขนาดใหญ่เกินกว่าจะทำสนทนากลุ่มให้ได้การเรียนรู้ที่ดี หากแยกให้นั่งสนทนากับเจ้าของความรู้อันได้แก่กรณีตัวอย่าง ๔ คน ก็จะไม่สามารถเห็นภาพรวมที่หลากหลาย หากหมุนเวียนให้สนทนาครบเป็นฐานการเรียนรู้กลุ่มย่อย ระยะเวลาสำหรั้บทำกระบวนการ และการเตรียมความเข้าใจต่างๆก็มีเวลาจำกัดเกินไป
  • กรณีตัวอย่างทั้ง ๔ พื้นที่จังหวัด มีข้อมูล สื่อ และบทเรียน ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทการดำเนินงาน เผยแพร่อย่างเป็นที่แพร่หลายมากพอสมควรแล้ว หากมีวิธีเรียนรู้เพื่อเกิดประเด็นแนวคิดที่ดีที่ต่างออกไป ก็สามารถกลับไปรวบรวมสื่อและความรู้ต่างๆที่มีอยู่แล้วไปศึกษาและจัดการความรู้ด้วยตนเองได้ดีมากกว่าการนั่งสนทนากลุ่มในระยะสั้นๆ
  • การนั่งเรียนรู้ผ่านการสนทนากลุ่ม จะทำให้ผู้เข้าร่วมเวทีกว่า ๒๐๐ คนจากทั่วประเทศ ไม่ได้ใช้ประสบการณ์ของตนเองวิเคราะห์และสร้างความรู้ร่วมกัน มากไปกว่าการเป็นผู้รับฟังการถ่ายทอดความรู้
  • กลุ่มผู้เข้าร่วมเวทีเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งมีประสบการณ์จากการหมุนเวียนทำงานตามพื้นที่ต่างๆของประเทศอย่างหลากหลาย

เพื่อแก้ไขข้อจำกัดตามประเด็นการพิจาราณาดังข้างต้น และเพื่อความเหมาะกับลักษณะประสบการณ์ของผู้ร่วมเวที รวมทั้งเพื่อให้เหมาะสมกับวุฒิภาวะของเครือข่ายคนทำงานซึ่งมีศักยภาพทางการปฏิบัติสูง สามารถกลับไปหาคนและขับเคลื่อนงานในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว ผมจึงออกแบบกระบวนการเสียใหม่และปรับแต่งประเด็นเพิ่มเติม ให้เป็นทั้งแนวการสังเกตและแนวในการวิเคราะห์เพื่อสร้างความรู้เป็นกลุ่ม จำนวน ๘ ประเด็นด้วยกัน ขอนำมาแสดงไว้เพื่อเป็นตัวอย่าง ดังนี้

การวิเคราะห์ สรุปบทเรียน
และพัฒนาประเด็นการพิจารณาศูนย์เรียนรู้ชุมชน

๑. จากการนำเสนอกรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้ชุมชนตัวอย่าง ลักษณะของศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ดีเป็นอย่างไร ดูจากอะไร ?
................................................................................................................
................................................................................................................

๒. สิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ที่จะมีส่วนต่อการก่อตั้งและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ดีให้ดำเนินการได้ มีอะไรบ้าง ทุนเดิมแต่ละด้านดังกล่าว มีบทบาทต่อกระบวนการต่างๆอย่างไร ?
................................................................................................................
................................................................................................................
๓. แนวคิด วิธีคิด หลักการและประเด็นสำคัญ ที่ถือเป็นหลักในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ดีให้ดำเนินการได้ มีอะไรบ้าง เป็นอย่างไร มีทำไม ?
................................................................................................................
................................................................................................................
๔. กระบวนการ / ขั้นตอน / วิธีการในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ดีให้ดำเนินการได้จนประสบความสำเร็จ เป็นอย่างไร ?
................................................................................................................
................................................................................................................
๕. ลักษณะกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นอย่างไร และผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ?
................................................................................................................
................................................................................................................
๖. ลักษณะของปัญหาและอุปสรรค เป็นอย่างไร วิธีการและกระบวนการในการแก้ปัญหา เป็นอย่างไร ?
................................................................................................................
................................................................................................................
๗.ความโดดเด่นหรือเอกลักษณ์ของศูนย์เรียนรู้ชุมชนคืออะไร ?
................................................................................................................
................................................................................................................
๘.เทคนิคหรือเคล็ดลับในการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ชุมชนมีอะไรบ้าง ?
................................................................................................................
................................................................................................................

ประเด็นในการศึกษาและวิเคราะห์นี้ ได้ทำเป็นเอกสารและแจกจ่ายแก่ผู้เข้าร่วมเวทีทุกคน วิทยากรได้แนะนำวิธีเรียนรู้และวิธีบันทึกช่วยการเรียนรู้ของตนเอง จากนั้น หลังเสวนากับวิทยากรทั้ง ๔ คนแล้ว ได้ให้มีเวลาสำหรับนั่งบันทึกรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ระดมความคิดและรวบรวมข้อมูลในกลุ่มย่อย กลับมานำเสนอในเวทีรวมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยจัดระบบและสร้างคุณภาพข้อมูลสำหรับกระบวนการถอดบทเรียนให้กับเวที โดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ทุกคนก็ได้.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท