หมออนามัย การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ


หมออนามัย  การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

ค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นค่าตอบแทนต่ำสุดที่นายจ้างจะต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นรายชั่วโมง รายวันหรือรายเดือนตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีความหมายเหมือนกับค่าแรงต่ำสุด ซึ่งลูกจ้างจะขายแรงงานของตน แม้กฎหมายค่าแรงงานขั้นต่ำจะมีผลใช้บังคับ ก็ยังมีความเห็นต่างในผลดีแลผลเสียของค่าแรงขั้นต่ำ ผู้สนับสนุนค่าแรงขั้นต่ำบอกว่า จะเป็นการเพิ่มมาตรฐานชีวิตของลูกจ้าง และลดความยากจน ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยว่า ถ้าค่าแรงขั้นต่ำสูงพอจะเห็นผลได้ดังนี้ ก็จะเป็นเพิ่มอัตราว่างงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหมู่ลูกจ้างที่มีผลิตภาพต่ำเพราะขาดประสบการณ์หรือพิการ ดังนั้นจึงเป็นการทำร้ายแรงงานที่มีฝีมือน้อยกว่า และเป็นประโยชน์แก่แรงงานที่มีฝีมือสูงกว่า

 

ค่าครองชีพ คือ สวัสดิการที่ช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพจากนายจ้างประกอบด้วย การจัดตั้งร้านค้าสวัสดิการหรือสหกรณ์ร้านค้า การให้เงินช่วยเหลือต่างๆ เช่นงานแต่งงาน งานอุปสมบท งานศพการจัดชุดทำงาน การจัดหอพัก การจัดให้มีรถรับ-ส่ง เงินโบนัส ค่าครองชีพ ค้าเข้ากะ (ค่าล่วงเวลา OT) พูดง่ายๆ ก็ คือสวัสดิการ หรือเงินโบนัส ที่ได้นอกเหนือจากเงินเดือน หรือ ค่าจ้างที่ได้ตามปกติ

มาตรฐานการครองชีพที่ดี นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี มาตรฐานการครองชีพที่ดี คือ สิ่งที่มีความจำเป็น ความสะดวกสบาย เพื่อการรักษาบุคคล หรือกลุ่มบุคคลให้สามารถดำรงสภาพความเป็นอยู่ของตน ให้เหมาะสม ตามฐานะภาพ มาตรฐานชีวิตคุณภาพชีวิตที่ดี คือ การมีชีวิตที่ดีทั้งทางร่างกาย และจิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา สามารถใช้ภูมิปัญญา มาแก้ปัญหาชีวิตครอบครัวและสังคม จึงดำเนินชีวิตในสังคมนั้นๆ ได้อย่างมีความสุข แลร่วมกันพัฒนาของตน ให้สามารถพึงพาตนเองได้ ซึ่งตามมาตรฐานการครองชีพ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต มีความเหมือนกันคือ ทั้งสองมาตรฐานต่างก็เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งเป็นความต้องการทางด้านร่างกาย และจิตใจ มีความต้องการในปัจจุบันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ซึ่งความต้องการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความต้องการ สำคัญต่อชีวิตมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น มาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชนก็ย่อมที่จะลดน้อยถอยลง ซึ่งปัจจุบันสังคมนั้นๆมีมาตรฐานการครองชีพที่ดี มาตรฐานคุณภาพชีวิตดี มนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมนี้ได้อย่างมีความสุข

ความหมายของธุรกิจ SMEs หรือธุรกิจขนาดย่อม

ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริการ ธุรกิจ SMEs หรือธุรกิจเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคล หรือพนักงานจำนวนไม่มาก

 

ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม

  1. 1.       ธุรกิจขนาดย่อม ช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้เกิดธุรกิจอื่นมีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีสู่กลุ่มคนต่างๆทำให้เกิดการสร้างงานและประชาชน มีรายได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
  2. 2.       ธุรกิจขนาดย่อม เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตสูงขึ้น มีการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งเหล่านี้ เป็นฐานสู่ธุรกิจขนาดใหญ่
  3. 3.       ธุรกิจขนาดย่อม เป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ๆ เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาสู่ตลาด โดยธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงต่อการลงทุน

SMEs คืออะไร

   SMEs นั้นมาจากคำว่า Small and Medium Enterprise ในภาษาอังกฤษนั่งเอง สำหรับคำที่ใช้อย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นั่งเอง

  1. การผลิต คลอบคลุมในการผลิตในภาคเกษตรกรรม
  2. การค้า คลอบคลุมการค้าส่ง
  3. การบริการ

 

ค่าจ้างขั้นต่ำตามหลักการสากล

       ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจว่าค่าจ้างขั้นต่ำคืออะไร องค์การแรงงานระหว่างประเทศ Internation labour Organizition (ILO) กำหนดว่า ค่าจ้างขั้นต่ำควรเป็นค่าจ้างที่ช่วยให้แรงงาน ได้รับผลตอบแทนจากการผลิตสินค้าและบริการซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายตามกฎหมาย โดยต้องเพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานของแรงงานและครอบครัว รวมทั้งพอควรแก่ดำรงชีพในภาวะเศรษฐกิจและสังคมหนึ่งๆ และค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมสมควรเป็นค่าจ้างบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือเป็น Poverty safety net ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้แรงงานให้รอดพ้นจากความยากจนที่รุนแรงโดยไม่กระทบต่อโครงสร้างค่าจ้างอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ และขนาดเดียวกันก็เป็น Fair wage ที่ช่วยให้ผู้ใช้แรงงานได้ใช้ประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาพรวมด้วย

    ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทย ประเทศไทยได้นำหลักของ International Labour Organizitin (ILO) มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดค่าจ้าง โดยให้นิยามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ ค่าจ้างที่จ่ายแก่แรงงานไร้ฝีมือ หนึ่งคนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควรแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา คณะกรรมการค่าจ้าง สามารถกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดให้แตกต่างกันได้ โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ 3 ด้าน (1) ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง ซึ่งหมายความว่า จังหวัดที่มีค่าครองชีพสูง เช่นกรุงเทพฯและภูเก็ต ควรมีระดับค่าจ้างสูงกว่าจังหวัดอื่น และจังหวัดที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงน่าจะมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราสูงตามไปด้วย (2) ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง โดยพิจารณาจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดและความเห็นของผู้ประกอบการและ (3) ปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ เช่นผลกระทบของการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัด เป็นต้น

 

ความเป็นมา ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายถูกเสนอครั้งแรกเพื่อเป็นหนทางในการควบคุมการเพิ่มจำนวน อย่างรวดเร็วของโรงงานอุตสาหกรรมในภาคการผลิต โรงงานเหล่านี้ว่าจ้างลูกจ้างหญิงและเด็กเป็นจำนวนมาก และจ่ายค่าตอบแทนด้วย จำนวนที่ถูกมองว่าต่ำกว่าค่าแรงมาตรฐาน เจ้าของโรงงานถูกคิดว่ามีอำนาจต่อรองอย่างไม่ยุติธรรมเหนือลูกจ้างและค่าแรงขั้นต่ำได้ถูกเสนอเป็นวิธีในการบังคับให้พวกเขาจ่าย อย่างยุติธรรม เมื่อเวลาผ่านไป ความสนใจได้เปลี่ยนไปจากการช่วยเหลือผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัว กลายมาเป็นพอเพียงแก่ตัวเองมากขึ้น  ทุกวันนี้ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำครอบคลุมลูกจ้างในสาขาการจ้างงานที่จ่ายค่าแรงต่ำส่วนใหญ่ ค่าแรงขั้นต่ำได้รับความสนใจจากสังคมอย่างแข็งขัน โดยมีรากเหง้ามาจากความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของตลาดที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันของรายได้สำหรับสมาชิกแรงงานที่มีความสามารถน้อยที่สุด สำหรับบางคน ทางออกที่ชัดเจนของความกังวลนี้คือ การกำจัดความ โครงสร้างค่าแรงใหม่ทางการเมือง เพื่อบรรลุการกระจายรายได้ทางสังคมที่ดีกว่า ดังนั้น กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำจึงถูกตัดสินขัดแย้งกับเกณฑ์การลดความยากจน แม้ว่าเป้าหมายของค่าแรงขั้นต่ำจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเหมาะสม ก็มีความไม่เห็นด้วยอย่างมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำมีประสิทธิภาพพอจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ นับตั้งแต่การนำความคิดดังกล่าวมาใช้ กฎหมายค่าแรงงานขั้นต่ำเป็นที่โต้เถียงกันอย่างสูงทางการเมือง และได้รับเสียงสนับสนุนจากนักเศรษฐศาสตร์น้อยกว่า จากสาธารณชนทั่วไปมาก แม้ว่าจะมีประสบการณ์และการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์หลายทศวรรษ การโต้เถียงกันเกี่ยวกับมูลค่าและผลประโยชน์ของค่าแรงขั้นต่ำยังมีมาถึงปัจจุบันนี้

 

การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2555 ศกนี้ โดยในกรุงเทพฯ ปริมณฑลและภูเก็ต จะปรับเพิ่มเป็น 300 บาท (จากเดิมที่ 215 บาท ของ 6 จังหวัดและ 221 บาทสำหรับภูเก็ต) สำหรับจังหวัดอื่นๆก็จะมีอัตราลดหลั่น ลงไปตามมาตรฐานอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างกัน แต่ล้วนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึงประมาณร้อยละ 40 ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี 4 เดือน จากการปรับขึ้นค่าจ้างครั้งล่าสุดเมื่อตนปีที่แล้ว ซึ่งหัวใจหลักของ นโยบายดังกล่าว คือ ความพยายามในการเพิ่มอำนาจการซื้อให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่อำนาจการซื้อถดถอยมาเรื่อยๆเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีต้นทุนแรงงานเฉลี่ยประมาณร้อยละ16 ของต้นทุนการผลิต เป็นกลุ่มที่ได้ผลกระทบมากกว่า โดยการแข่งขันที่รุนแรงทำให้การผลักภาระหรือส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วยการปรับราคาขายของ SMEsให้สูงขึ้นนั้นทำได้ไม่ง่ายเลย ในขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนแรงงานเฉลี่ยต่ำกว่า โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 13 ก็มีอำนาจต่อรองในด้านราคากับผู้บริโภคมากกว่าด้วย

แน่นอนว่าภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งตกมายังผู้บริโภค โดยถัวเฉลี่ย ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 100 บาท ผู้ประกอบการจะแบกรับภาระต้นทุนไว้ 80 บาท อีก 20 บาทก็จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าสินค้าและบริการแพง ขึ้นกว่าเดิมแต่การปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้อัตราส่วนนี้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาอาหารซึ่งเป็นหนึ่งในภาคธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นในการปรับราคาค่อนข้างมาก ทั้งนี้ในสองเดือนแรกของปีนี้ ดัชนีราคาสินค้า หมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ7.4 ถ้าเป็นเฉพาะอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.2 มากกว่าดัชนีราคาสินค้า โดยรวมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ3.4 ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจส่งผลกระทบให้เงินเฟ้อหมวดอาหารเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 4 จากระดับปัจจุบันร้อยละ13-14 ในปีนี้ จริงอยู่ ปัจจุบันผู้ใช้แรงงานนั้นมีรายได้ที่ปรับขึ้นไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี และการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นกลไกหนึ่ง ในการเพิ่มกำลังซื้อให้คนกลุ่มนี้ได้รวดเร็วที่สุด แต่ทว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น อาจทำให้ค่าครองชีพของประชาชนดีดขึ้นไปกว่าที่ควรเป็น เนื่องจากผู้ประกอบการไม่มีเวลาในการปรับตัว จึงเลือกการส่งผ่านต้นทุนให้ผู้บริโภคมากที่สุดเป็นทางออก สุดท้าย ผลกระทบ ทางลบจะตกกับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีรายได้น้อยกว่า เนื่องค่าใช้จ่ายค่าอาหาร มีสัดส่วนรายได้ที่สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ ที่ชี้ไปถึงสู่การยายามลดแรงงานในบางอุตสาหกรรมเพื่อประหยัดต้นทุน และกลุ่มแรงงานที่อาจได้รับผลกระทบเชิงลบนี้ก็คือกลุ่มเดียวกันกับที่นโยบายตั้งจะช่วย

ค่าใช้จ่ายตามอัตภาพ ประกอบไปด้วย (1) ค่าอาหาร (2) ค่าเครื่องดื่ม (3) ค่าเช่าที่อยู่อาศัย (4) ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซักผ้ารีดผ้า ค่าโทรศัพท์ (5) ค่ารักษาพยาบาลและยา นอกเหนือประกันสังคม (6) ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและ และ (7) ค่าพาหนะ

ค่าใช้จ่ายตามคุณภาพ คือ ค่าใช้จ่ายตามอัตภาพบวกเพิ่มด้วย (1) ค่าผ่อนชำระที่อยู่อาศัย (2) ค่าทำบุญ ทอดกฐิน ผ้าป่า งานบวช งานแต่ง งานทำบุญ งานศพ (3) ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงและพักผ่อน

ท้ายที่สุด การปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ควรเป็นประเด็นที่สาธารณชนให้ความสนใจเฉพาะในช่วงที่มีข่าวการปรับเพิ่มค่าจ้างประจำปี แต่ควรนำไปสู่การตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและแรงงานควบคู่กันไป โดยเฉพาะกลยุทธ์การพัฒนาระบบเศรษฐกิจไทยให้เน้นใช้ทุนและเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดการพึ่งพิงแรงงานไร้ฝีมือ พร้อมกับพัฒนาแรงงานเดิมที่ไร้ฝีมือให้เป็นแรงงานที่มีทักษะและการผลิตสูงขึ้น เพื่อจะได้หลุดพ้นจากความยากจนในระยะยาว

 

คำสำคัญ (Tags): #ค่าแรง
หมายเลขบันทึก: 484711เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2012 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท