วิธีลดเสี่ยง-บรรเทาอาการหมอกควัน [EN]


เว็บไซต์ Rianovosti นำเสนอเรื่อง 'How to survive smog and heat' = วิธี(ทำอย่างไร)รอดตายจากสม็อค (หมอกควัน)และความร้อน"
.
เรื่องนี้เป็น 1 ในเรื่องทรงคุณค่าที่ช่วยให้ชาวรัสเซีย และคนทั่วโลกจำนวนมากอยู่รอด ปลอดภัยจากหมอกควัน และคลื่นความร้อนที่ปกคลุมรัสเซียอย่างหนักในปี 2553, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
  • [ survive ] > [ เสอะ - ว่าย - v/หวึ (เสียงเบามาก) ] > http://www.thefreedictionary.com/survive > verb = อยู่รอด(ไม่ตาย), มีชีวิตรอด, noun = survival = การอยู่รอด
  • [ smog ] > [ s/ซะ - มอก ]http://www.thefreedictionary.com/smog > noun = หมอกควัน; คำนี้มาจาก 'smoke (ควันไฟ ควันบุหรี่ การสูบบุหรี่)' + 'fog (หมอก)'
  • [ smoke ] > [ s/ซะ - โมก - k/ขึ (เสียงเบามาก) ] > http://www.thefreedictionary.com/smoke > noun = ควัน ควันบุหรี่; verb = รมควัน สูบบุหรี่ พ่นควันบุหรี่
  • [ fog ] > [ ฟอก - g/กึ (เสียงเบามาก) ] > http://www.thefreedictionary.com/fog > noun = หมอก; verb = ทำให้พร่ามัว

หลังวาเลนไทน์ (14 กพ.) จะมีการเผาป่าทั่วภาคเหนือ-พม่าใกล้ชายแดนติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์ ทำให้มลภาวะในรูปฝุ่นควันขนาดเล็ก (PM10 = particulate matter 10 micron = ฝุ่นควันที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน; 1 ไมครอน = 1/1,000 มิลลิเมตร; 10 ไมครอน = 1/100 มิลลิเมตร) เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าปกติ
.
ฝุ่นละอองจิ๋ว PM10 มีคุณสมบัติเฉพาะ คือ ผ่านการกรองจากขนรูจมูก และการจับของเมือก (น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ฯลฯ) ในทางเดินหายใจ เข้าไปในหลอดลมฝอย-ถุงลมปอดได้, ทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบ เช่น แสบตา แสบคอ เจ็บคอ ไอ หายใจลำบาก ฯลฯ
.
คนที่อยู่ทางเหนือจะมีอาการคล้ายคนเป็นโรคถุงลมโป่งพอง + ตาอักเสบอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์/ปี
.
สถิติมะเร็งปอดสูงสุดที่เชียงใหม่-ลำปาง, คนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง-หอบหืด-โรคหัวใจจะมีอาการหนักขึ้น, คนไข้เต็ม รพ.ชุมชน (บ้านนอกในไทย = บ้านคนสูงอายุ; คนอายุน้อยๆ ไปทำงาน หรือย้ายไปอยู่ในเมืองใหญ่), และผู้เฒ่าผู้แก่มักจะพากันกลับบ้าน (เก่า) บ่อยในช่วงนี้
.
 
วิธีทำตัวให้รอดตาย หรืออยู่รอดปลอดภัยจากควันไฟ หมอกควันได้แก่
.
(1). ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำชาเจือจางให้มากพอ > 2-3 ลิตร/วัน สังเกตสีปัสสาวะควรใส หรือเห็นสีเหลืองจาง, ถ้าปัสสาวะสีเข้ม... ควรดื่มน้ำเพิ่ม และดื่มให้มากพอที่จะปวดปัสสาวะทุก 1-2 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน
.
ภาวะขาดน้ำทำให้หัวใจ-ปอดต้องทำงานหนักขึ้น เลือดหนืดขึ้น เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
.
หลังพระอาทิตย์ตกดิน ควรดื่มน้ำให้น้อยลง ครั้งละไม่เกิน 1/2 แก้ว เพื่อจะได้หลับสนิท ไม่เสี่ยงฝันร้าย-นอนไม่หลับจากการปวดปัสสาวะ
.
ไม่แนะนำเครื่องดื่มเติมน้ำตาล (soft drinks) เพราะจะทำให้อ้วน-น้ำหนักเกิน, ไม่แนะนำน้ำเติมเกลือ เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ได้รับเกลือจากอาหารมากเกินเกณฑ์อยู่แล้ว (ยกเว้นเสียเหงื่อมากจริงๆ จึงจะเสี่ยงขาดเกลือ)
.
(2). หลีกเลี่ยงการออกนอกอาคาร-ที่ร่ม, กลางแจ้งมักจะมีหมอกควันสูงกว่าในอาคาร, ถ้ามีเครื่องปรับอากาศที่ฟอกอากาศได้ ควรเปิดเครื่อง และตั้งอุณหภูมิ 25C หรือสูงกว่านั้น
.
ถ้าไม่มีเครื่องปรับอากาศ-ฟอกอากาศ, อาจทำห้องที่กันอากาศรั่วได้ ติดพัดลมดูดอากาศพร้อมมุ้งลวดขาออก (กันไฟดับแล้วยุง ตุ๊กแกเข้าบ้าน), ทำมุ้งลวด 2 ชั้นด้านอากาศขาเข้า ใช้ผ้าขาวบางเปียกน้ำหมาดๆ ช่วยกรองอากาศ เปลี่ยนผ้าใหม่ทุกวัน
.
(3). ใช้หน้ากาก (mask) ปิดปาก-จมูก, ถ้าต้องการกรองฝุ่นละอองให้ดีขึ้น ให้นำหน้ากากผ้าชุบน้ำพอเปียกเล็กน้อย (หมาดๆ) และอย่าลืม... เปลี่ยนหน้ากากทุก 4 ชั่วโมง เพื่อให้การกรองดีขึ้น และป้องกันเชื้อฝีหนองสะสม (เชื้อโรคเพิ่มจำนวนได้เมื่อความชื้นสูงนานพอ)
.
(4). ลดการกวาดบ้าน, ถูพื้นให้บ่อยขึ้น เช่น ทุกวัน ฯลฯ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในบ้าน
.
(5). ไม่สูบบุหรี่ ไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป ไม่ใช้ฟืนในบ้าน ไม่เผาขยะ-ใบไม้ (ถ้าเพื่อนบ้านเผา... แนะนำให้เรียนปรึกษาอาจารย์หมออนามัย อบต.)
.
(6). หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ-เครื่องดื่มเย็นจัด, ฝึกดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำชาเจือจางที่ไม่ร้อน-ไม่เย็น-ไม่เติมน้ำตาล, ไม่ตั้งแอร์ต่ำกว่า 25C (เวลาเข้าออกบ้านจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็ว ป่วยเป็นหวัด ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวมง่ายขึ้น)
.
(7). อย่าสวมเสื้อผ้าเปียกในห้องแอร์หรือที่ที่มีลมแรง หลีกเลี่ยงการเป่าลมแอร์-พัดลมใส่ลำตัว-หัวโดยตรง เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการระเหยของน้ำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายเย็นลงเร็ว ป่วยง่าย
.
(8). ไม่ออกแรง-ออกกำลังหนักนอกบ้าน, ควันไฟและหมอกควันทำให้ปอด-หัวใจทำงานหนักขึ้นมาก
.
(9). ถ้าแสบตา-เคืองตา, แนะนำให้ใช้น้ำตาเทียม หรือยาหยอดตากลุ่มลดการระคายเคือง (เช่น Hista-Oph ฯลฯ) หยอดตา โดยนอนราบ ดึงหนังตาล่างลง หยอด แล้วนอนต่อ 3-5 นาทีก่อนลุก หยอดซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง
.
ก่อนใช้ยาหยอดตา... ให้เขียนวันที่เปิดขวดไว้ที่กล่อง ห้ามใช้เกิน 1 เดือน (เสี่ยงเชื้อโรคสะสม เติบโตในน้ำยา), ไม่แนะนำให้ใช้น้ำชาล้างตาแบบในรัสเซีย
.
ยาสามัญประจำบ้านแก้แพ้ เช่น คลอเฟนิรามีน ฯลฯ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง ช่วยลดอาการแพ้ ระคายเคือง แสบตา แสบคอ ฯลฯ ได้, แนะนำให้ดื่มน้ำให้พอ บ้วนปากบ่อยๆ ร่วมด้วย
.
(10). ลดเนื้อสัก 1/2 > กินอาหารจากพืชผักให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฝึกเพาะถั่วงอกกินเองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง, อุ่นเต้าหู้หลอดในไมโครเวฟ แล้วเติมไปในข้าว-กับข้าวเป็นอาหารเสริม 1 หลอด/วัน, ทำผักสุก หรือหาผักง่ายๆ เช่น แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ เป็นอาหารเสริม 
.
(11). นอนให้พอ และออกกำลังป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เช่น เดินในบ้าน กายบริหารกล้ามเนื้อโครงสร้าง โยคะ ไทชิ-ชี่กง พิลาทิส ฯลฯ, และเสริมด้วยขึ้นลงบันไดในบ้าน 4 นาที/วัน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank (picture / infographics from the great website) > [ RiaNovosti ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 26 กพ.55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 484707เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2012 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท