จุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุงตอนที่ 4 ขยายความเรื่องมิติกระบวนการทางปัญญาด้านเข้าใจและวิเคราะห์


จุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรับปรุงตอนที่ 4 ขยายความเรื่องมิติกระบวนการทางปัญญาด้านเข้าใจและวิเคราะห์

ท่านผู้อ่านที่รัก

                ในขณะที่หลักสูตรที่เราใช้อยู่เป็นหลักสูตรปีพุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน หลักสูตรฉบับนี้มีความชัดเจนขึ้นเพราะกำหนดกริยาไว้ให้เราในฐานะครูผู้สอนไว้อย่างชัดเจนแต่ประเด็นปัญหาอยู่ที่เราที่เป็นครูผู้สอนสามารถกำหนดจุดประสงค์ทางการเรียนไว้ชัดเจนหรือไม่ ในวันนี้ผมจะได้นำเสนอจุดประสงค์ทางการศึกษาฉบับปรุงของ Krathwohl และคณะมาให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้พิจารณากันครับ

            .ในบันทึกคราวที่แล้ว ผมได้นำเสนอขยายความเรื่องความรู้ทางอภิปัญญา หวังว่าคงจะชัดเจนขึ้น วันนี้ผมจะมานำเสนอกริยาของมิติทางกระบวนการทางปัญญามี 19 ขั้นกันนะครับ ผมที่ถือว่าตอนนี้เป็นสุดท้ายแล้วนะครับ อย่างไรก็ตามเนื่องจากผมเห็นพฤติกรรมด้านจำ ด้านประยุกต์ใช้ ด้านประเมินค่า ด้านสร้างสรรค์คงจะชัดเจนแล้วจึงไม่นำเสนอในที่นี้ครับ สำหรับรายละเอียดส่วนอื่นๆมี ดังนี้

                                2.0 เข้าใจ ความสามารถในสร้างความหมายจากสิ่งที่เรียน ซึ่งนักเรียนจะทำอย่างนี้ได้ก็ต่อเมื่อนักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เก่าได้ มี 7 พฤติกรรม คือ

                                                2.1 ตีความ บางครั้งก็เรียกว่าทำให้กระจ่าง อธิบาย สรุปอ้างอิง (inferring) เสนอภาพตัวแทน และแปลความก็ได้ การตีความเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนต้องสามารถแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปหนึ่งไปเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบอื่นๆได้

                                                2.2 ยกตัวอย่าง เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนสามารถยกตัวอย่าง หรือนำเสนอสังกัปหรือหลักการที่เกี่ยวข้องได้

                                                2.3 จัดประเภท เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนสามารถที่จะติดสินใจว่าตัวอย่างหรือของชิ้นใดชิ้นหนึ่งอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยความเป็นสังกัปหรือหลักการได้ เห็นเสาธงซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อนแล้วจัดประเภทว่าเป็นทรงกระบอกได้ เป็นต้น

                                                2.4 สรุปความ เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนสามารถสรุปเรื่องที่กระจัดกระจายกันเป็นสังกัปที่มีความหมายถึง เช่น เมื่อพบคำว่าน้ำ น้ำชา น้ำเย็น น้ำกาแฟ ก็สรุปได้ว่าเป็นคำนามที่นับไม่ได้ในภาษาอังกฤษได้

                                                2.5 สรุปอ้างอิง บางครั้งเรียกว่าการทำนาย เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนสามารถสรุปข้อสรุปเชิงตรรรกะของข้อมูลได้ เช่นเมื่อสอนโครงสร้างของ Simple Present Tense นักเรียนสามารถสรุปอ้างอิงหลักการโดยดูจากตัวอย่างได้

                                                2.6 เปรียบเทียบ บางครั้งเรียกว่าจับคู่ ทำให้แตกต่าง เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนักเรียนสามารถบอกความเหมือนและความแตกต่างระหว่างของสองสิ่งได้

                                                2.7 อธิบาย เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนักเรียนสามารถอธิบายเนื้อหาที่เรียนในรูปของตรรกะและเหตุผลได้

                                4.0 วิเคราะห์ ความสามารถในการแยกแยะชิ้นต่างๆออกเป็นส่วนๆ แล้วสำรวจดูว่าชิ้นต่างๆเหล่านั้นทำอย่างไรในองค์ประกอบใหญ่ มี 3 พฤติกรรมคือ

                                                4.1 แยกแยะแตกต่าง บางครั้งก็เรียกว่าจำแนกแยกแยะ เลือก เน้น เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนสามารถแยกระหว่างที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวเนื่องหรือสิ่งที่สำคัญออกจากสิ่งที่ไม่สำคัญได้ อันนี้แตกต่างเปรียบเทียบซึ่งอยู่ในขั้นเข้าใจนะครับ เปรียบเทียบบอกว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ไม่สามารถจำแนกแยกแยะให้เห็นได้ เช่นบอกว่าสี่เหลี่ยมแตกต่างจากสามเหลี่ยมเป็นขั้นเข้าใจ แต่ถ้าไปเห็นโครงสร้างของบ้านแล้วบอกรูปทรงทางเราขาคณิคของบ้านได้อันนี้เป็นวิเคราะห์ครับ

                                                4.2 จัดวางองค์ประกอบ เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนสามารถตัดสินใจได้ว่าองค์ประกอบจำเป็นต่อโครงสร้างหรือองค์ประกอบใดทำหน้าที่ให้โครงสร้างดำเนินไปได้อย่างไร เช่นนักเรียนเรื่องระบบอุปถัมภ์แล้วนำมาอธิบายว่าระบบนี้ขับเคลื่อนสังคมในปัจจุบันอย่างไร

                                                4.3 วิเคราะห์อคติและความคิดเห็น เกิดขึ้นเมื่อนักเรียนสามารถมองหาอคติ ความคิดเห็น คุณค่า ค่านิยม แรงจูงใจที่ปรากฏในสื่อต่างๆที่อ่านหรือเนื้อหาสาระที่เรียนได้

หนังสืออ้างอิง

Richard E. Mayer. Rote Versus Meaningful Learning. (ออนไลน์)www.unco.edu/cetl/ sir/stating.../ Krathwohl.pdf วันที่เข้าถึงได้ 4 เมษายน 2555.

                               

 

หมายเลขบันทึก: 484363เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2012 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท