ผักตำลึง กับผลการทดลอง ลดน้ำตาลในเลือด และมีสารอาหารมาก


ลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้

 

 

ตำลึง 


ชื่ออังกฤษ   Ivy Gourd

ชื่อท้องถิ่น  :  ผักแคบ (เหนือ)  แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) สี่บาท

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ตำลึงเป็นไม้เถามีอายุอยู่ได้หลายปี เมื่ออายุมากเถาจะใหญ่และแข็ง เถาสีเขียวตามข้อมีมือเกาะ ใบออกสลับกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ดอกสีขาว ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน ผลคล้ายลูกแตงกวา แต่ขนาดเล็กกว่า ผลดิบสีเขียว และมีลายขาว เมื่อลูกสุกเต็มที่สีแดงสด ปลูกเป็นผักขึ้นตามรั้วบ้านตามชนบททั่วไป ปลูกโดยใช้เมล็ด

 

 




สาระสำคัญที่พบ 

 

น้ำย่อยแป้ง ( amylase ) ฮอร์โมน และอัลคาลอยด์ มีกรดอะมิโน ( amno acid ) หลายชนิด ในผลตำลึงพบสาร คิวเคอร์บิตาซิน ( cucurbitacin ) มีสาร pectin ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้มี daucosterol ,  glucopyranosyl ,  sitosterolm ,  taraxerone

 

คุณค่าทางด้านอาหาร

ในตำลึงมีคุณค่าทางด้านอาหารสูง ประกอบด้วยวิตามินเอ และสารแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีโปรตีน ไขมัน  คาร์โบไฮเดรต  ฟอสฟอรัส  เหล็ก วิตามิน และอื่นๆ นับเป็นอาหารบำรุงที่ดี ยอดตำลึงใช้เป็นผักปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงจีดตำลึงหมูสับ แกงเลียง หรือใส่ก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอกก็ได้

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา  ใบสด

ขนาดที่ใช้ ตำลึง250 กรัมต่อน้ำหนักตัว50 กิโลกรัม เช้า – เย็น วันละ 2 ครั้ง

 

รสและสรรพคุณยาไทย

รสเย็น ใบสด ตำคั้นน้ำ แก้พิษแมลงกัดต่อย ที่ทำให้ปวดแสบปวดร้อน และคัน

 

ประโยชน์ทางยา

ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยเอา

 

 ใบสด 1 กำมือ ( ใช้มากน้อย ตามบริเวณที่มีอาการ ) ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย

 

ใบแก่ 

ของตำลึงมีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด  อุดมไปด้วยสาร pectin  ซึ่งหมอยาสมุนไพรพื้นบ้านชาวตะวันออก ได้ใช้รักษาโรคเบาหวานแต่โบราณ

 

เมื่อปีพ.ศ. 2523 

ได้มีการศึกษาโดยการแบ่งคนไข้โรคเบาหวานชาวปากีสถาน 32 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม เท่าๆกัน กลุ่มหนึ่งให้รับประทาน ยาใบตำลึงวันละ 6 เม็ด พบว่าเมื่อให้ยาติดต่อกัน 6 สัปดาห์น้ำตาลในเลือดของคนไข้กลุ่มนี้ลดลง และความสามารถในการใช้น้ำตาลดีขึ้น 20% เพียงแต่ว่ากระบวนการรักษาโรคเบาหวานของตำลึงนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

 

 


รายงานการทดลอง

ส่วนใหญ่นั้น จะพบว่าส่วนต่างๆของตำลึงมีผลในการลดน้ำตาลในเลือด เช่น

 

พ.ศ 2496 ในประเทศอินเดีย

ให้กระต่ายที่เป็นโรคเบาหวาน กินน้ำต้มรากตำลึงเป็นเวลาประมาณ 58 – 71 วัน พบว่า น้ำตาลในเลือดของกระต่ายส่วนใหญ่ลดลงจนเกือบเป็นปกติ

 

พ.ศ  2515 ในประเทศไทย

มีการทดลองใช้สารสกัดแอลกอฮอล์ จากเถาตำลึง กับกระต่ายที่เป็นเบาหวาน พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดหลังจากกินยา ไปแล้ว 1 ชั่วโมง และยาออกฤทธิ์นาน 6 ชั่วโมง โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ  50% ของยาลดน้ำตาล ทอลบูตาไมค์

 

พ.ศ 2536  ประเทศเยอรมัน

ทดลองใช้สารสกัดจากผลตำลึง ขนาด 200 มก./100 กรัม ในหนูปกติ มีฤทธ์ ลดน้ำตาลในเลือดได้

 

พ.ศ  2546  ในประเทศอินเดีย

ทำการทดลองในหนูที่เป็นเบาหวาน ที่กระตุ้นโดยสาร Streptozotoein โดยใช้ สารสกัดจากใบตำลึง 200 มก./กก. ให้สารสกัดทางปากแก่หนู เป็นเวลานาน 45 วัน ให้ผลลดน้ำตาลในเลือดไ ด้ดีกว่ายา  glibenclamide

 

มีรายงานการทดลองจากต่างประเทศ

ว่าน้ำต้มผักตำลึงจะมีฤทธิ์ครึ่งหนึ่งของน้ำยาสกัดแอลกอฮอล์

 

ส่วนในคนนั้น

พบว่า มีการทดลองโดยนำใบตำลึงมาคั้น ในอัตราส่วนน้ำ 20 มล.ต่อใบตำลึง1 กก. โดยให้ผู้ป่วยเบาหวานดื่มวันละ 2 ครั้ง พบว่า ได้ผลในการลดน้ำตาล เช่นกัน

 

 

 

 

ส่วนรายงานการทดลองที่ไม่ได้ผล 

นั้นส่วนหนึ่งพบว่าเมื่อนำส่วนของตำลึงที่ใช้ประกอบอาหารมาสกัดให้หนูที่เป็นเบาหวานกิน ปรากฏว่าไม่สามารถลดน้ำตาลในหนูได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะใบและยอดอ่อนของตำลึงมีอายุน้อยเกินไป

 

ในปีค.ศ 2003 ประเทศอินเดีย

มีการทดลอง สารสกัดจากใบตำลึงในหนูที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน พบว่า สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

 

การทดสอบความเป็นพิษ 

โดยป้อนสารสกัดทั้งต้นด้วยน้ำ และแอลกอฮอล์ ( 1:1 ) ในขนาด ( 1:1)  ในขนาด 10 ก/กก. ไม่พบสารพิษ



 

 

ขอบคุณข้อมูลตำลึง จากหนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน

รวบรวมเรียบเรียงโดยเภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก(พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง)

 

 

 


ตำลึงตัวเมีย

 

ใบ  รสเย็น  ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ดับพิษฝีถอนพิษของตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน

 

ดอก  รสเย็น แก้คัน

 

เมล็ด  รสเย็นเมา  ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด

 

เถา  รสเย็น ใช้น้ำจากเถาหยอดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ  ชงกับน้ำ ดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ

 

ราก  รสเย็น   ดับพิษทั้งปวง

 

น้ำยาง, ต้น,ใบ, ราก   รสเย็น  แก้โรคเบาหวาน

 

หัว   รสเย็น      ดับพิษทั้งปวง

 

 

 

ตำลึงตัวผู้  


หัว  รสเย็น   ดับพิษทั้งปวง ระบายท้อง

 

 

 

ขอบคุณสรรพคุณตำลึงจากหนังสือเภสัชกรรมไทย ฯโดยวุฒิ วุฒิธรรมเวช

 

 

 

 ผักตำลึง

บางคนกินมากเกินต่อครั้ง หรือต่อมื้ออาหาร ทำให้เกิดการะบายท้อง  แล้วเข้าใจว่าท้องเสีย พอต่อมาก็ทำให้ไม่อยากกินอีก หรือสั่งผู้ทำอาหารว่าไม่ต้องนำมาทำอาหารอีกนะ กินแล้วท้องเสีย  ทำไมไม่คิดว่า ล้างลำไส้ด้วยผักตำลึง ช่วยระบายท้อง บ้างก็ดีนะ พอมื้อต่อๆมาเราก็ควรกินแต่พอดี หากไม่ทานเลย ก็น่าเสียดายคุณค่าของสารอาหารในผักตำลึง ซึ่งเป็นผักที่ปลูกเองได้ ไม่ปลูกก็เก็บริมรั้วบ้านตัวเองหรือเพื่อนบ้าน ได้เช่นกัน หรือหาซื้อได้ง่ายจากตลาดและมีราคาถูก  ผู้อยู่ในเมืองเราคงต้องหันมาเริ่มปลูกตำลึงกันไว้บ้างแล้วนะคะ หรือบ้านที่มีอยู่บ้างแล้วก็ต้องไม่ถอนตัดทิ้งหมดเหลือ ราก-เถาไว้บ้าง

 

   ผู้เขียนเวลากลับบ้านสุพรรณ มีให้เห็นรอบบ้าน เจ้าตำลึงก็พันเลื้อยเต็มไปหมด ไม่ว่าบนต้นมะกรูด มะลิเป็นพุ่ม กระถิน ฯ ก็ต้องดึงถอนทิ้งบ้าง เมื่อเด็กๆเก็บยอดตำลึงเด็ดสดๆจากต้น สั้นๆเฉพาะยอด มาลวกจิ้มน้ำพริก  ก็อร่อยมากแล้ว ตำลึงเป็นผักที่นำมาต้มบดเป็นอาหารให้เด็กเล็ก ก่อนทานข้าวเป็นเมล็ดดีมากๆ เพราะสารอาหารที่มีประโยชน์มีมาก บดให้ละเอียดง่าย  ต่อนี้ไปเราไม่ควรมองข้ามผักตำลึงนานเกินไป นำมาทำอาหารกันบ้างนะคะ  และครอบครัวไหนที่มีผู้ป่วยโรคเบาหวานก็นำใบแก่ตำลึงตัวเมีย ฯ ทำเป็นอาหารให้ทานเป็นประจำ เพื่อช่วยลดน้ำตาลในเลือด ซึ่งในแต่ละมื้อควรแบ่งทานแต่พอดี  หรือผู้ที่เป็นโรคท้องผูก ก็ทานผักตำลึงบ่อยๆก็น่าจะช่วยระบายท้องได้ดี  

 

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา   แสนมณี  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 484296เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2012 07:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2013 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

Good to see a wonderful reporting -- a true journalist quality ;-)

ชอบทานตำลึงค่ะ อร่อยดี^_^

แม่ผมชอบทำกับข้าวใส่ใบตำลึงเยอะ ๆ น่ะครับ หาจากรั้วบ้านนี่แหละครับ ไม่ได้ปลูกเองอีกต่างหาก ^^

  • ชอบทานค่ะพี่ดา ทั้งต้มจืด ลวกจิ้มน้ำพริก..
  • เพิ่งทราบถึงความต่างของตำลึงตัวผู้กับตัวเมีย สรรพคุณมากมายจริงๆนะคะ
  • ขอบคุณข้อมูลมากๆเลยค่ะ

ชอบมากค่ะใบตำลึง

รั้วที่บ้านมีเยอะ

ทานบ่อยมากโดยเฉพาะแกงเลียงค่ะ

มาเยี่ยมอ่านตำลึงไม้เลื้อยมีคุณค่า..ไม่ต้องดูแลมาก งอกงามทั้งปีค่ะ

บันทึกได้น่าอ่าน และแสดงข้อมูลสองด้านให้ใช้วิจารณญาณ ได้ดีมากเลยค่ะ

ชอบทานตำลึงเหมือนกันครับ รสชาติดี

สวัสดีค่ะ

         ขอบคุณมากนะคะ ดอกไม้และกำลังใจที่มอบให้บันทึก

"ผักตำลึง กับผลการทดลอง ลดน้ำตาลในเลือด และมีสารอาหารมาก"


Ico48    AutumN
Ico48    krusorn
Ico48    ป.
Ico48    Mr. SAKDA SUEABUNTHONG
Ico48    sr
Ico48    อ้อยเล็ก
Ico48    กาญจนา สุวรรณเจริญ
Ico48    ชาดา ~natadee
Ico48    หนุ่ม กร
Ico48    นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

 

Ico48    Bonnie
Ico48    โสภณ เปียสนิท

สวัสดีค่ะ

คุณsr  Ico48   ดีใจและขอบคุณมากนะคะ

 

น้องชาดาฯ  Ico48  ค่ะ ใส่คั่วแค ก็อร่อยมากนะคะ

 

น้องAutumN  Ico48  ดีจังค่ะ ได้เก็บริมรั้วสดๆ พี่ดาจะเริ่มบ้าง มีต้นเลื้อยข้ามรั้วมาในบริเวณบ้าน  ดึงทิ้ง 2 ครั้งแล้ว เห็นภาพเถาบนรั้วไหมค่ะ พี่ดาจะให้แตกใหม่ไว้เก็บใบบ้างค่ะ 

 

น้องติ๋ม  Ico48  บางคนเข้าใจว่าถ้าถ้ากินตำลึงตัวผู้แล้วระบายท้อง ซึ่งไม่ว่าตัวเมียหรือตัวผู้ บางคนระบายท้องมาก บางคนไม่เป็นอะไรเลย ก็ต้องสังเกตตัวเองด้วย  ใบตำลึงเป็นผักที่มีสีเขียวเข้มประโยชน์จึงมาก ดีที่หามาทำอาหารได้ง่ายนะคะ ขอบคุณเช่นกันค่ะ

 

คุณBonmie  Ico48  ดีจังค่ะได้เก็บสดๆจากต้นมาทำอาหารได้บ่อย ค่ะตำลึงคู่กับแกงเลียงอร่อยมากนะคะ

 

คุณพี่ใหญ่ Ico48  ที่บ้านปลูกไว้หรือขึ้นเองค่ะ ดาชอบผัดน้ำคลุกคลิกใส่เห็ดฟางค่ะ

 

คุณหมอป.Ico48  พี่ดาได้ยิ้มทั้งวัน ขอบคุณมากค่ะ

 

อาจารย์โสภณ  Ico48  ค่ะทานบ่อยๆนะคะ มีประโยชน์มาก

 

 

 

 

สวัสดีค่ะคุณดา ฝนลงเป็นครั้งคราวอย่างนี้ ตำลึงข้างรั้วงามดีค่ะ ได้เคยห็นคนรุ่นคุณปู่คุณย่า นำลุกตำลึงดิบมาแกงคั่ว ยังไม่เคยชิมเลยค่ะ

จำได้คลับคล้ายคลับคลา สมัยเป็นเด็กเป็นลมพิษ ผู้ใหญ่เอาใบตำลึงขยี้ๆให้มีน้ำออกมา ทาให้เย็นๆค่ะ

ปัจจุบันชอบแกงจืดบะช่อใบตำลึงมาก เคยทำให้เพื่อนฝรั่งที่มาเยี่ยมได้ลิ้มรส ยกถ้วยซดเลยล่ะค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพี่นุช Ico48

ค่ะเวลาดากลับบ้านสุพรรณมองตำลึงพันตามต้นไม้อื่นๆดาก็จะเก็บยอดไปลวกจิ้มน้ำพริกกะปิ-ปลาทู  ใช่แล้วค่ะบะช่อตำลึงฝีมือของแม่สุดอร่อยค่ะ ดาทำไม่อร่อยเท่าแม่ทำสักที ค่ะดาเขียนบันทึกนี้ ก็ทำให้ทราบสรรพคุณที่เราสามารถนำมาใช้ได้ทันท่วงที ในการรักษาสุขภาพได้ สบายดีนะคะ คิดถึงเสมอค่ะ  ขอบคุณดอกไม้และกำลังใจมากนะคะ

 

 

สวัสดีค่ะ คุณพ.แจ่มจำรัส Ico48

กำลังงามเลยนะคะ มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมียอยู่ด้วยกัน เก็บทำอาหารได้บ่อยดีจังค่ะ ขอบคุณดอกไม้และกำลังใจมากนะคะ


  • เยี่ยมจริงๆ ค่ะ น้องกานดา พี่เห็นด้วยกับ "คุณ srIco48" ว่า บันทึกนี้ เป็น "a wonderful reporting" ค่ะ ได้ข้อมูลตำลึงที่สมบูรณ์ทั้งในด้านพันธุ์พืช (เพิ่งรู้ว่า ที่คิดว่าเป็นอีกพันธุ์ของตำลึงน่ะ ที่แท้เป็นตำลึงตัวผู้) คุณค่าทางโภชนาการและทางยา ค่ะ ได้เก็บไว้ในแหล่งเรียนรู้พันธุ์พืชของฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ เรียบร้อยแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะคะกับการแบ่งปันข้อมูลที่มากด้วยคุณค่านี้
  • ที่ฟาร์มไอดินฯ ปลูกตำลึงยังไม่ได้ผล (ที่ฟาร์มเป็นดินทราย ถ้าไม่ดูแลอย่างดีพืชผักไม่โตค่ะ) แต่ที่บ้านเรือนขวัญดินดีกว่า จึงมีตำลึงและยานางเป็นพืชมนุษยสัมพันธ์พันรั้วทั้งสามด้าน (เว้นด้านหน้าที่มีไม้ดอกพัน) ทั้งที่ไม่ได้ดูแล เพื่อนบ้านได้เก็บไปทำอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำลึง ใช้เลี้ยงหลานของเพื่อนบ้านมา 3 คนแล้วค่ะ
  • และตำลึงก็เป็นผักโปรดชนิดหนึ่งของพี่ เวลาไปทานข้าวต้มที่ร้านเมนูที่สั่งประจำคือ แกงจืดตำลึงหมูสับ/หรือแกงเลียงผักรวมเน้นตำลึง ตำลึงไฟแดง และยำตำลึงค่ะ ถ้าทำเองก็จะเป็นนึ่งจิ้ม แกงเลียง และใส่เสริมผักในเกาเหลา/ก๋วยเตี๋ยวที่ซื้อมาค่ะ    

ที่บ้านเรียกผักแคบครับ ชอบลูกมันตอนแดงสุกใส ยอดก็นำมาทำอาหารสารพัด ขอบคุณที่ช่วยบอกสรรพคุณของผักแคบครับ

สวัสดีค่ะคุณพ่อน้องซอมพอ

  เชียงใหม่ก็เรียกผักแคบ อาหารพื้นเมืองหลายอย่างก็ใส่ผักแคบ เช่น แกงโฮ๊ะ แกงแค ฯอร่อยมากค่ะ มีประโยชน์ทุกส่วนเลยนะคะ แต่เราทานกันแต่ยอดกับใบอ่อนเท่านั้น ส่วนผลสีดแดงสุกก็เป็นอาหารของนกโดยเฉพาะเจ้านกหัวจุก นำไปผลิตเป็นอาหารเม็ดให้โดยเฉพาะทีเดียว ขอบคุณภาพดอกไม้สวย เป็นดอกของต้นอะไรค่ะ

 

ตัวผู้ตัวเมีดูอย่างไรครับ


ชอบจังเลยต่ะ มีประโยชน์ทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงยอด  ขอบคุณสำหรับข้อมูลอันมีประโยชน์มากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณต๋อง



ตำลึงตัวผู้ ใบจะมีหยักเว้า



ตำลึงตัวเมีย ใบไม่มีหยัก


สวัสดีค่ะคุณแมววิเชียรมาศ

ค่ะตำลึงผักพื้นบ้านริมรั้วมีทุกท้องถิ่น มีประโยชน์มากทุกส่วนของต้น

แต่บางคนกินมากเกิน ท้องเดิน ระบายท้อง ก็ต้องระวังด้วย

อย่าไปโทษว่าตำลึงทำให้ท้องเสีย ตำลึงไม่ได้มีเชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย

เพียงแต่ช่วยระบาย บางคนกินก็ไม่เป็นอะไร แล้วแต่สภาพร่างกายของแต่ละคน

ผู้ที่กินแล้วเข้าห้องน้ำบ่อย ก็ต้องโทษตัวเองกินมากเกินไป

เหมาะกับผู้ที่ท้องผูกบ่อยๆ ก็กินตำลึงช่วยระบายท้องได้ดี ดีกว่ากินยานะคะ 



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท