สระลดรูป แปลงรูป 1/2 ชาตรี สำราญ


ลองคิดดู เรานำวิธีการคนอื่นมาสอนนานแล้ว ลองสอนด้วยวิธีการที่เราคิดได้เองบ้างจะดีไหม

เท่าที่สอนมาพบว่า  มีผู้เรียนบางคน  สามารถอธิบายที่มาที่ไปของคำที่แปลงรูปจากวิสรรชนีย์ (ะ) มาสู่ไม้หันอากาศ (  - ˜ ) ได้ เช่น 

            ด.ญ. ฟาอีซะ   บองอ     บอกเพื่อน ๆ ว่า “ ตอนแรกเริ่มอ่านคำ ฉัน ว่า    หันอากาศ    ฉัน  อ่านยากมาก  เหนื่อย มันขัด ๆ ลิ้น   ฟังแล้วเสียงที่ออกมาไม่ตรงกับคำที่อ่านจริง  แต่ภายหลังรู้ว่าจริง ๆ แล้ว คำ ๆ นี้มาจาก ฉะ + ะ + น = ฉัน   เวลาอ่านสะกดคำออกเสียงว่า  ฉ  อะ  น  ฉัน   รู้สึกสบายใจขึ้น  เวลาอ่านสะกดคำ ไม่เหนื่อยไม่เข็ดลิ้น    และเห็นว่าตัวสระอะ หรือวิสรรชนีย์นั้น ถ้าเขียนคงรูปวิสรรชนีย์ได้จะลำบากในการเขียน  อีกทั้งเปลืองเนื้อที่ด้วย   เวลาอ่านก็อ่านยาก  เช่น “ฉะน   น้ะน   ชอบ   ฝะนทุกคืน  บางทีกลางวะนก็นอนฝะน”  เพราะอย่างนี้เขาจึงหยิบวิสรรชนีย์ไปวางไว้ข้างบนอักษรนำแล้วเขียนตัวสะกดตาม  เช่น                       แต่พอจะเขียนคำว่า กน  ก็ยากอีกเพราะสระกับวรรณยุกต์ซ้อนกัน  3  ชั้น     เผลอ ๆ   เขียนรีบ ๆ  ก็จะเป็น     ไปได้  เขาจึงคิดแปลงรูป  ะ  (วิสรรชนีย์)   เป็น   - ˜ (ไม้หันอากาศ) แทน    ทำให้ง่ายต่อการเขียน      แต่ก็เข้าใจได้ว่า  “  ไม้หันอากาศก็คือ    วิสรรชนีย์แปลงรูปนั่นเอง”

            ด.ช. บาฮารี    หะยีมานุ    บอกเพื่อน ๆ ว่า  “  ที่ ฟาอีซะ  พูดมานั้นถูกต้องดีแล้ว  แต่ขอเพิ่มเติมตามความเข้าใจอีกนิดว่า   จากการเขียน ฉะน  อย่างนั้น  มันเปลืองเนื้อที่ ต้องยก  ะ  ขึ้นไปไว้บน ฉ  เขียนเป็น  ฉน  พอเขียนอย่างนั้นมันเกะกะ  มันไม่สวย   ยิ่งถ้าเขียนคำว่า สน  นน  ขน    ชน   หรือคำอื่น ๆ  ที่มีเสียงและรูปวรรณยุกต์โทด้วยแล้วจะดูรุงรังมาก   เขาจึงหั่นวิสรรชนีย์กลางอากาศออกไปหนึ่งตัวเหลือแค่  - ˜เท่านั้น    ดังนั้นคำว่า ไม้หันอากาศ  น่าจะมาจากคำว่า หั่นกลางอากาศ  นั่นเอง   และไม้หันอากาศก็คือวิสรรชนีย์นั่นแหละ”

            ทั้ง ฟาอีซะ และ บาฮารี  เป็นเด็กกลุ่มเรียนเก่ง  เขาจึงคิดและจำสิ่งที่เขาเรียนรู้มาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราว เล่า ให้เพื่อน ๆ ฟังได้   โดยพูดให้ฟังและเขียนคำประกอบคำบรรยายให้เห็นภาพได้อย่างดีแต่มะซอพลี  ซึ่งเป็นเด็กอยู่ในกลุ่มเรียนค่อนข้างอ่อนได้ผ่านการเล่าให้ฟังจากครู  จากเพื่อน   มะซอพลีซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มก็ออกมาเล่าให้เพื่อน  ๆ  ฟังได้ว่า “ฉัน  นั้น  แต่เดิมเขียนว่า  ฉะน  อ่านว่า  ฉัน   เวลาอ่าน   ฉอ   อะ   นอ    ฉัน    ถ้าเขียนอย่างคำอ่านนั้นมันยาว  และยาก เขาจึงยก  ะ   ไปวางไว้บนหัว         บ่นว่าหนักเพราะ  ะ   มันซ้อนกัน  2  ตัว  คือ       วิสรรชนีย์ หรือ   ะ     เห็นใจ     จึงแปลงร่างลงให้เป็น    - ˜ ตั้งแต่นั้นมา  ฉัน  จึงเขียนอย่างนี้  คำอื่น ๆ เช่น  กอ  อะ  นอ   กัน     วอ  อะ   นอ   วัน     ดอ    อะ   งอ    ดัง     พอ   อะ  งอ   พัง   ก็แปลงร่างด้วย   นั่นคือ  ไม้หันอากาศก็คือวิสรรชนีย์แปลงร่างนั่นเอง”

            จะเห็นได้ว่า   ผู้เรียนทั้ง   3   คน  เล่าเรื่องวิสรรชนีย์แปลงรูป ด้วยเรื่องเล่าที่ต่างกัน   แต่ปลายทาง เดียวกัน  นั่นคือต้องการให้เพื่อนรู้ว่า  ไม้หันอากาศมาจากวิสรรชนีย์แปลงรูป

 

            ตรงนี้จะเห็นได้ว่า   ระดับการซึมซับตัวรู้ของผู้เรียนต่างกัน  เรื่องเล่าจากครูผู้สอนที่เล่าให้ผู้เรียนฟังต่างกัน   แม้จะเรียนเรื่องเดียวกัน  แต่เมื่อนำสอน เด็กต่างกลุ่มระดับการเรียน  ลีลา การถ่ายทอดของผู้สอนก็ย่อมต่างกัน   แต่เนื้อหาหรือสาระของเรื่องยังคงเดิม

            สาระของการจัดการเรียนการสอนเรื่องนี้  ครูผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนจับหลักของเรื่องแล้วสรุปเป็นความเข้าใจของตนเองได้ด้วยตนเอง  จะเห็นได้ว่า   ไม้หันอากาศก็คือวิสรรชนีย์ที่แปลงรูป”   แต่ วิธีการ เข้าถึงเรื่องนั้นต่างกัน    การจัดการเรียนการสอนอย่างนี้แหละที่เรียกว่า  จัดการศึกษาแบบสนองความแตกต่างของผู้เรียน  ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาหรือจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนองเงื่อนไขของผู้เรียน ( Responsive  Teaching  Models  )   นี่คือการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

 

            ในกรณีที่กล่าวว่า “ผู้เรียนพัฒนาผู้สอน”  นั้น  ในการสอนเรื่องนี้ (วิสรรชนีย์)  ปรากฏผลชัดเจนคือ  ซุลฟา กับซุลกิบพลี และ มะปาตะ  เด็กทั้ง  3  คนนี้เรียนช้ามาก ๆ   เวลาสอนอ่าน  ฉอ  อะ  นอ  ฉัน  ทั้ง  3  คนอ่านยาก  ลิ้นแข็ง ๆ  เสียงที่เปล่งออกมาแข็ง ๆ  ตะกุกตะกัก  สอนเสร็จลืม  เป็นอยู่อย่างนี้หลายวัน  จึงลองคิดวิธีสอนขึ้นมา  เพื่อทดลองสอนเด็กน้อยทั้ง  3  คน ดังนี้

            แนะให้ดูว่า  อะ + น   อ่านว่า   อัน   ดังนั้น  ฉอ + อะ + นอ  อ่านใหม่ว่า  ฉอ   อัน  ฉัน  สังเกตดู เด็กทั้ง  3  คนอ่านได้  ลิ้นไม่แข็งนัก   พอฝึกให้อ่าน  วอ-อัน   วัน   ทอ – อัน  ทัน  ปอ-อัน   ปัน  ดูเด็ก ๆ อ่านคล่องขึ้น  เมื่อให้อ่านคำอื่น ๆ  เขาก็พอจะอ่านได้   วันต่อมา  เรียกมาอ่าน  เริ่มอ่านนำคำแรก  ทั้ง  3  คนก็อ่านได้  คำอื่น ๆ  ขัน   จัน   มัน  สัน   ตัน  เขาอ่านกันเองได้  จึงสรุปว่า นี่เป็นวิธีสอนเฉพาะเด็กกลุ่มนี้   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ  หรือห้องเรียนห้องหนึ่ง ๆ มักจะมีผู้เรียนต่างระดับกันทั้งกลุ่มเรียนเก่ง   เรียนปานกลาง  กลุ่มเรียนอ่อน  และกลุ่มเรียนอ่อนมาก  เพราะฉะนั้น  เรื่องราวสอนหนึ่งเรื่องจะสอนด้วยวิธีสอนวิธีเดียวทั้งชั้นไม่ได้  ต้องหาวิธีการสอนให้ตรงกับจริตผู้เรียนรายกลุ่มให้ได้

            สำหรับการคิดวิธีสอน  ดังที่กล่าวมานี้  ขอคุณครูอย่ากลัวว่าผิด  ว่าใช้ไม่ได้เพราะเราคิดเอง  เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจงจำไว้เถอะว่า  “เรื่องเด็กในห้องเรียนเราใครจะรู้ดีเท่าเรา   ใครจะมาเชี่ยวชาญเกินเรา”  ลองคิดดู  เรานำวิธีการคนอื่นมาสอนนานแล้ว  ลองสอนด้วยวิธีการที่เราคิดได้เองบ้างจะดีไหม

            เริ่มต้นทำด้วยตนเองจนอยู่ตัว  เราก็จะเป็นผู้เชี่ยวชาญของตัวเราเอง

 

อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ https://docs.google.com/docume...

 

หมายเลขบันทึก: 484200เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2012 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2018 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท