โคมไฟฟ้าสนามบินแบบตั้งพื้น ถูกออกแบบมาให้สามารถแตกหักได้ กรณีถูกล้อยางเครื่องบินชนกระแทก


Frangible

คุณสมบัติโคมไฟฟ้าสนามบินแบบตั้งพื้น

สนามบิน ควรเป็นพื้นที่โล่งไม่มีวัตถุสิ่งปลูกสร้างสูง มาขวางการปฏิบัติการบิน เหตุที่ดอนเมืองทำสนามกอล์ฟ ก็ชอบด้วยการที่จะได้ตัดต้นไม้ปรับถมดินให้เตียนโล่ง ตามพระราชดำรัสในรูปวาด สมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งรูปตั้งอยู่ด้านใน สนามกอล์ฟในสนามบินดอนเมือง เขียนไว้ใต้รูปใจความว่า

 "สนามกอล์ฟนี้ สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเตียน โล่งแลปลอดภัยต่อการบิน"

ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ  ที่บัญญัติไว้ให้รัฐเจ้าของสนามบิน ควบคุมเรื่องนี้ โดยให้รัฐออกกฏระเบียบควบคุมห้ามมีวัตถุใดๆตั้งกีดขวางในบริเวณพื้นที่ปลอดภัยรอบๆทางวิ่ง(Runway Strips) นอกจากตั้งเครื่องอำนวยความสะดวกในการบิน(การเดินอากาศ) แต่เครื่องอำนวยและอุปกรณ์ที่ยอมให้ติดตั้งนั้นจะต้องถูกออกแบบ ให้มีคุณสมบัติแข็งแต่เปราะหักพับหรือล้มได้โดยง่าย (Frangible)

เป็นสาเหตุให้วัสดุอุปกรณ์ นั้นจำเป็นต้องทำจากวัสดุมวลเบาเช่น อลูมิเนียมบาง หรือวัสดุผสมเช่นไฟเบอร์กลาส หรือ คาร์บอนเคฟล่าร์ รวมถึงการประกอบด้วยจุดข้อต่อที่เปราะบาง สามารถแตกหักได้โดยง่าย เมื่อถูกแรงกระแทกจำนวนหนึ่งๆ ตามข้อกำหนด (ข้อต่อที่ได้ทำคอคอดเพื่อให้เกิดจุดที่ท่อมีความบางกว่าส่วนอื่นๆนั้นหักได้ง่าย) ข้อต่อที่แตกหักง่าย (Breakable Coupling) จะต้องสามารถทนแรงกระแทกตามค่าแรงกระทำปริมาณจำนวนหนึ่งๆ คือจุดแตกหัก Breakdown Point  ถูกออกแบบและทำการทดสอบค่าความสามารถในการทนแรงกระแทก ฉนั้นคุณสมบัติของโคมไฟฟ้าสนามบินจึงต้องมีคุณบัติดังกล่าว ในทุกโคมไฟฟ้าสนามบินแบบตั้งพื้น (Elevated Type)

 

จุดเชื่อมต่อสายไฟกับโคมหลอดไฟ

จุดต่อจะต้องเป็นลักษณะแบบเสียบเข้าหากันตรงๆ(Socket)  ทั้งสองสายแยกสายกัน เพราะเมื่อเวลาล้อเครื่องบินชนกระแทก สายไฟจะหลุดออกจากกันตรงๆ จาก Socket  ไม่พันกันหรือฉีกขาดซึ่งจะก่อให้เกิดการช้อตข้ามขั้วเกิดกระแสไฟกระโดดหรืออาร์คเกิดเป็นสะเก็ดไฟอันจะก่อให้เกิดอันตราย

 

สีของขาตั้งโคมไฟ
 
อันนี้ถามกันบ่อยครับ ว่าถ้าไม่ทาสีขาตั้งโคมไฟจะผิดมาตรฐานหรือไม่ ทั้งโคมไฟและขาตั้งโคมไฟจะต้องถูกทาสีทำเครื่องหมาย(หรือติดสตื้กเกอร์สี) เพื่อให้แนวโครงเสาและโคมไฟเด่นชัด แตกต่างจากสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นครับ ทั้งนี้ก็เพื่อหากอากาศยานเสียหลักลื่นไถลมาไม่ว่าสิ่งใดๆก็ตามที่มีความสูงจากพื้นขึ้นมา จะต้องทำให้เห็นชัดเจน คือการบ่งชี้ (Denoting) ด้วยการทาสีติดไฟ เพื่อให้ผู้ควบคุมอากาศยานเห็นว่าเป็นสิ่งที่อาจจะชนกระแทก กับตัวอากาศยานได้  เพราะมีความจำเป็นต้องติดตั้ง ในระดับที่อยู่สูงจากพื้นนี่เองครับ (ฉนั้นไม่ว่าจะเป็นวัตถุใดๆตั้งสูงจากระดับพื้นโดยรอบก็จะต้อง Denote บ่งชี้ให้เห็นชัด สีตัดกับฉากพื้นหลัง เช่น สีเหลือง ส้ม แดง ตัดกับหญ้าสีเขียว  สีเหลือง หรือ ขาว-ดำ ตัดกับพื้นลูกรังสีแดง เป็นต้น) ในเมื่อเราหลีกเลี่ยงย้ายตำแหน่งติดตั้งไม่ได้  เราจึงยอมรับความเสี่ยงในจุดนี้ และออกมาตรการควบคุมที่เนื้อวัสดุที่นำมาใช้แทน  จึงกำหนดให้โคมไฟฟ้าสนามบิน ที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่เคลื่อนไหวในการปฏิบัติการ(Aircraft Movement Area) ตลอดจนพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strips) อุปกรณ์พวกนี้ต้องทำจากวัสดุมวลเบา และมีคุณสมบัติสามารถแตกหักได้โดยง่าย  เป็นข้อบังคับ เพื่อลดความเสียหายของปีกลำตัวหรือล้อยางอากาศยาน กรณีปะทะหรือชนเข้ากับอุปกรณ์ดังกล่าว
 
ส่วนสีของโคมไฟและสีของโครงเสาไฟ นั้น
 
ให้ใช้สีที่ตัดกับสภาพแวดล้อม (Contrast)ไม่กลมกลืนไปกับพื้นหลัง เช่นถ้าบริเวณโดยรอบเป็นหญ้าเขียว ขาตั้งควรเป็นสีเหลือง หรือส้ม หรือแดง แต่หากรอบๆโคมไฟเป็นดินลูกรังสีแดง ขาตั้งโคมก็ควรเป็นสี เหลือง หรือสี ขาวสลับดำ (ไม่ควรเป็นสีเขียวเพราะสีเขียวหมายถึงความปลอดภัย) ซึ่งจะทำให้ผู้ควบคุมอากาศยานเห็นตำแหน่งที่โคมไฟฟ้าสนามบินนั้นตั้งอยู่ ได้เด่นชัดจากสภาพแวดล้อม
 
พบบ่อยว่าเสาไฟส่องลานจอดเครื่องบิน ต้องทาสีหรือติดไฟเตือนสิ่งกีดขวางหรือไม่นั้น
 
การทาสีหรือติดไฟเตือนสิ่งกีดขวางนั่นคือวัตถุนั้นเป็นสิ่งกีดขวาง หรือสูงเกินเขตปลอดภัยการเดินอากาศ ซึ่งตรวจสอลง่ายๆ คือให้ตรวจสอบจากจุดกึ่งกลางทางวิ่งลากเส้นที่สั้นที่สุดและตั้งฉากกับทางวิ่งมาบรรจบที่เสาไฟส่องลานจอด แล้วดูระยะว่าเท่าไร เช่น สนามบินอุบล เสาไฟส่องลานจอดห่างจากกึ่งกลางทางวิ่ง 185 เมตร ลบด้วยขนาดของ strips ด้านเดียว (strips 300 เมตรด้านเดียว 150 เมตร) 150 เมตร เหลือ 35 เมตร แล้วเอา 7 หารผลลัพท์เป็นความสูงเสาไฟที่ยอมให้สูงได้ กรณีนี้ คือ 35/7 เท่ากับ 5 เมตร สมมติเสาไฟเรา 9 เมตร แสดงว่าเกินไป 4 เมตร ส่วนที่ทาสี ให้ทาสีเฉพาะส่วนที่เกิน คือ 4 เมตรจากยอดเสาลงมา และหากมีเที่ยวบินกลางคืนก็จะต้องติดไฟเตือนสิ่งกีดขวางสีแดง ตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ถ้าเสาไฟเรา 5 เมตรหรือน้อยกว่า ก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการทาสีหรือติดไฟเตือนแต่อย่างใด (นำมาใช้ได้กับวัตถุและสิ่งปลูกสร้างทุกอย่างที่ตั้งบริเวณใน Inner horizontal Surface เช่น หอถังน้ำ เสาอากาศ อาคารสถานีวัดคุมต่างๆ) สังเกตุคือ ตำแหน่งห่าง strips (150m+)ทุกๆ 7 เมตร สูงได้ 1 เมตร 14 เมตร สูงได้ 2 เมตร......ไปจนขอบ Inner(ถ้ามองเขตปลอดภัยเป็นรูปทรงสนามกีฬารัชมังคลาฯก็คือ บริเวณขอบอัฒจรรย์) คือ 315 เมตร สูงได้ 45 เมตร ......บริเวณ inner นี้เองเป็นนี้คือตัวเลขที่เราคุ้นๆกันไงครับ ว่าห้ามสูงเกิน 45 เมตรครับ
 
วัสดุที่นำมาทำขาตั้งโคม
 
สมัยก่อนเราใช้ท่อเหล็ก หรือถ้าเป็นไฟนำร่อง ที่ต้องติดตั้ง บริเวณแนวกึ่งกลางทางวิ่ง ออกไป 420 เมตร(ไฟนำร่องแบบพื้นฐาน)บ้าง 900 เมตร(ไฟนำร่องแบบพรีซิชั่น แบบที่ 1)บ้าง ตามชนิดของทางวิ่ง ซึ่งบริเวณที่ติดตั้งเป็นที่ลุ่ม ก็มักจะยกเหล็ก C ขึ้นมาระดับ 1-2 เมตร แล้วติดตั้งโคมไฟนำร่องที่บนเหล็ก C อีกที่หนึ่ง ต่อมากรณีเครื่องบินในต่างประเทศเคสหนึ่ง ต้องลงฉุกเฉินแล้วทันใดนั้นล้อเครื่องได้ไปกระแทกชนเข้ากับ โคมไฟนำร่อง ทำให้เกียร์เสียหายจึงต้องบินกลับขึ้นไปใหม่และปูโฟม เป็นสิบเมตรเพื่อจะได้ให้เครื่องร่อนลงแบบเอาท้องไถลกับทางวิ่งตรงๆ ไม่ใช้ล้อเพราะเสียหายหมดนั่นเอง
 
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศก็ตระหนักและส่งเสริมให้แต่ละประเทศ นำความรู้ในเอกสารขององค์การฯ ในเรื่อง Frangibilities Mannual  (Document 9157 Part 6) ไปช่วยกันกำกับดูแลผ่านกฏระเบียบของรัฐฯนั้นๆ ในเรื่องลักษณะคุณสมบัติของอุปกรณ์ ที่ใช้งานในพื้นที่เคลื่อนไหวในสนามบินขึ้น (Aircraft Movement Area) ตลอดจนวันนี้ ก็ยังไม่หยุดการพัฒนาวิจัยกำหนดมาตรฐานของวัสดุมวลเบา และพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็นวัสดุผสมจำพวกไฟเบอร์กลาส ดังจะเห็นได้จาก เสาไฟนำร่องสนามบินสุวรรณภูมิ เสาไฟนำร่องสนามบินหาดใหญ่ ขาโคมไฟบอกมุมร่อน สนามบินหาดใหญ่ เสาสายอากาศเครื่องช่วยเดินอากาศ บอกมุมร่อน บริษัทวิทยุการบินที่ภูเก็ต โคมไฟแบบตั้งพื้นที่สนามบินดอนเมือง (ตัวโคมไฟใช้ไฟเบอร์กลาสแทนอลูมิเนียม)
 อาคารสถานีเครื่องช่วยทั่วประเทศไทย เปลี่ยนไปใช้ Shelter มวลเบา แทนรูปแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายทุกท่านที่ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในการกำกับ ดูแล พัฒนา แก้ไขโดยไม่นิ่งนอนใจเพื่อให้เป็นไปตามกฏระเบียบสากลเพื่อยกระดับความปลอดภัยของสนามบินของประเทศไทยเรามา ณ ที่นี้ด้วยครับ
หมายเลขบันทึก: 484189เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2012 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท