ทำไม "คนไทย" จนลง


ทำไม "คนไทย" จนลง
ทำไม "คนไทย" จนลง

เมื่อปลายสัปดาห์ ที่แล้ว ผลสำรวจของ 2 สำนักชื่อดัง หอการค้าโพลล์และเอแบคโพลล์ สำรวจสถานการณ์ "หนี้ภาคครัวเรือน" หอการค้าโพลล์ พบว่า "คนไทยจนลง หนี้นอกระบบพุ่ง" ขณะที่เอแบคโพลล์ก็บอกว่า "คนไทยไม่มีเงินออม" จากปัญหาน้ำท่วมและค่าครองชีพสูงขึ้นต่อเนื่อง

เคยมีนักวิชาการได้ คำนวณตัวเลขเงินเฟ้อหรือภาวะราคาสินค้าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าสูงขึ้นทุกปี ปีละ 3% กว่าๆ เท่ากับว่า 10 ปีที่ผ่านมาเงินเฟ้อสูงถึง 30-40% สวนทางค่าแรง เงินเดือนคนทำงาน ที่ไม่ได้ปรับขึ้นทุกปี ปีใดปรับก็จะอยู่ระดับเดียวกับเงินเฟ้อเท่านั้น

เฉพาะอย่างยิ่ง ค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ปรับขึ้นมานานหลายปี

พลัน ที่รัฐบาลนี้มีนโยบายเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท โดยนำร่อง 7 จังหวัด ซึ่งประกาศใช้ไปเมื่อ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา และอัตราเงินเดือนข้าราชการใหม่ 1.5 หมื่นบาท ผสมโรงกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ได้กระชาก "ค่าครองชีพ" สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่งผลสะเทือนถึงคนไทยที่ไม่เข้าข่าย "ได้รับโบนัส" จากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการเก่าที่ไม่ได้ปรับเงินเดือนเพิ่ม แรงงานนอกระบบ เช่น แรงงานก่อสร้าง แรงงานที่อยู่ตามร้านค้า ร้านอาหารขนาดเล็ก รวมถึงพนักงานออฟฟิศในบริษัทเอกชนทั้งหลาย "ยากจนลง" ทันที

เมื่อ ก่อนเวลามีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการมักจะสร้างแรงกระเพื่อมฉุดให้บริษัทเอกชนต้องปรับตาม แต่คราวนี้ทั้งแรงงานนอกระบบ พนักงานบริษัทเอกชน ไม่ได้ผลพวงเนื้อนาบุญจากนโยบายค่าแรงของรัฐบาล เพราะบรรดาธุรกิจต่างๆ ก็ประสบปัญหาจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่กระเตื้องจากผลกระทบน้ำท่วม เศรษฐกิจโลกชะงักงัน อย่างที่รู้ๆกัน

คนส่วนใหญ่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น แต่ราคาสินค้าที่ไปขึ้นดักรอไปล่วงหน้า โดยผู้ผลิตสินค้าก็อ้างว่าค่าแรงราคาและราคาน้ำมันสูงขึ้นทำให้ต้นทุนเพิ่ม ขึ้นตามไปด้วย จะว่าไปแล้วไม่รู้ว่าราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นไปล่วงหน้ากับค่าแรงที่เพิ่ง ประกาศเมื่อ 2 วันก่อนหักกลบลบกันแล้วจะเหลือค่าแรงจริงๆ สักเท่าไหร่

ไม่ ต้องพูดถึงพนักงานบริษัทเอกชน แรงงานนอกระบบที่ "รายได้ไม่เพิ่ม" เมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่สูงขึ้นเงินในกระเป๋าย่อมเหลือน้อยลงแน่ๆรวมถึง คนจะตกงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากธุรกิจที่ต้องทิ้งกิจการ หรือต้องปลดคนงานเพื่ออยู่รอด คนกลุ่มนี้จะกลายเป็นคนที่จนกลุ่มแรกทันที

ทุกๆ รัฐบาลพยายามปั่นตัวเลขจีดีพีให้โตขึ้นทุกปี ไม่รู้ไปตกอยู่ในกระเป๋าใคร แต่คนเดินดินกินข้าวแกงเงินในกระเป๋าน้อยลงทุกที

คำสำคัญ (Tags): #ร้อยเอ็ด10
หมายเลขบันทึก: 484114เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2012 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คนที่รวยขึ้นมีกลุ่มเดียวกันธุรกิจการเมืองนั่นแล

ค่าครองชีพสูงขึ้นมากจริงๆ ค่ะ บ้านเรา ที่นี่คนสิงคโปร์รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณเดือนละ 5000 เหรียญ ขณะที่ก๋วยเตี๋ยวชามละ 3-4 เหรียญ บ้านเรารายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวสมมติ 30000 บาท (X6) ค่าก๋วยเตี๋ยวชามละ 30-40 บาท (X10) ที่นี่ค่าน้ำมันรถลิตรละ 2 เหรียญ บ้านเราลิตรละ 40 บาท ไม่แปลกใจว่าทำไมเงินเก็บน้อยค่ะ...

ประเทศไทยเริ่มแย่ขึ้น คนตกงานมากมาย ทำไมไม่ใส่ใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท