๒๙๔.งานวิจัย:การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อพุทธศาสนาเชิงรุกฯ ตอน ๓


     สรุปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อพุทธศาสนาเชิงรุก  ในชุมชนชายแดนไทย-ลาว ในยุคโลกาภิวัตน์  3  ด้านคือด้านการเผยแผ่ ด้านการศึกษาสงเคราะห์ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ รายละเอียด ดังนี้

     ด้านการเผยแผ่  ประเทศไทย มีแนวทางในการส่งเสริมการเผยแผ่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่อสื่อต่าง ๆ  รองลงมา มีแนวทางในการสร้างหลักสูตรเพื่อฝึกอบรมพระนักเทศน์  พระนักเผยแผ่ และมีแนวทางในการส่งเสริมการเผยแผ่ในสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ  ส่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแนวทางในการส่งเสริมการเผยแผ่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่อสื่อต่าง ๆ รองลงมา มีแนวทางในการเข้าไปช่วยในการวางแผนการทำงานด้านการเผยแผ่ และมีแนวทางในการสร้างหลักสูตรเพื่อฝึกอบรมพระนักเทศน์  พระนักเผยแผ่

     ด้านการศึกษาสงเคราะห์  ประเทศไทยมีแนวทางในเรื่องเข้าไปช่วยถวายความรู้ในวิชาต่าง ๆ รองลงมา มีแนวทางในการส่งเสริมการสร้างโรงเรียนในวัดพระพุทธศาสนา และมีแนวทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมรับทราบปัญหาและโอกาส พร้อมลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ  ส่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว มีแนวทางเดียวคือการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา

     ด้านการสาธารณสงเคราะห์  ประเทศไทย มีแนวทางในเรื่อง เข้าไปช่วยรณรงค์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมสาธารณสงเคราะห์ รองลงมา มีแนวทางในการบริหารจัดการ และมีแนวทางในการรับทราบปัญหาและโอกาส พร้อมลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ  ส่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแนวทางในการวางแผนในการจัดสร้างสาธารณสงเคราะห์ รองลงมา  มีแนวทางในการบริหารจัดการ และมีแนวทางในการช่วยรณรงค์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมสาธารณสงเคราะห์

 

                   การพิสูจน์สมมติฐานที่ บทบาทการมีส่วนร่วมต่อพุทธศาสนาเชิงรุกของประชาชนในชุมชนชายแดนไทย-ลาว ไม่แตกต่างกัน ใช้ t-test และ F-test

                    บทบาทการมีส่วนร่วมต่อพุทธศาสนาเชิงรุก ประเทศไทย-ลาว จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมในแต่ละด้าน ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า ด้านที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการเผยแผ่  ด้านการศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณสงเคราะห์ โดยเพศชายมีแนวโน้มในการมีส่วนร่วมมากกว่าเพศหญิง

                   ผู้ที่มีอายุ 20-29 ปี อายุ 50 – 59 ปี และ 60 ปีขึ้นไป แตกต่างกับผู้มีอายุ 30 – 49 ปีและ 50 – 59 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นทุกคู่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

                    อาชีพรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้ประกอบอาชีพ แตกต่างกับ รับจ้าง รับราชการ ค้าขายและเกษตรกรรมอย่างมีนัยสำคัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นทุกคู่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

    รายได้เฉลี่ย 15,001  แตกต่างกับ รายได้ต่ำกว่า 5,000 บาท 5,001 – 10,000 บาท 10,001 -15,000 บาท อย่างมีนัยสำคัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

    สถานภาพการสมรส พบว่า ไม่แตกต่างกัน

   สถานะการเป็นผู้นำกลุ่ม  แตกต่างกับ เป็นสมาชิกกลุ่ม และไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                  

                   การพิสูจน์สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยส่วนบุคคล  และกิจกรรมการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาเชิงรุกของประชาชนในชุมชนชายแดนไทย-ลาว ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน

                   ค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ที่เป็นปัจจัย คือ อาชีพ (X3) กุศลพิธี (X8) ปกิณกะ (X11) สถานภาพสมรส (X6)  สถานภาพทางสังคม (X7) มีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .470,  -1.194, 1.291, .647 และ -.231 ตามลำดับ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  อายุ (X2) มีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .155 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าคงที่ของการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบเท่ากับ 4.112 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .696 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายเท่ากับ .484 หรือร้อยละ 48.4 โดยปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง อาชีพ (X3) กุศลพิธี (X8) ปกิณกะ (X11) สถานภาพสมรส (X6)  สถานภาพทางสังคม (X7) และ อายุ (X2) สามารถทำนายพุทธศาสนาเชิงรุกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ .775 หรือร้อยละ 77.5

    

     สรุปตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 4 ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พุทธศาสนานำไปเป็นแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในชุมชนชายแดนไทย-ลาว

1. ยุทธศาสตร์ด้านการเผยแผ่ ที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ

                1.1.การเผยแผ่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่อสื่อต่าง ๆ โดยการใช้สื่อยุคใหม่

                1.2.การจัดหลักสูตรฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทางพุทธศาสนา

                1.3.การเผยแผ่สู่พื้นที่นอกวัด

                     2.ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาสงเคราะห์

              2.1.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม

              2.2.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรส่งเสริมการสร้างโรงเรียนวิถีพุทธ

              2.3.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา

                     3.ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสงเคราะห์

                                3.1.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้าไปรณรงค์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมสาธารณสงเคราะห์

                                3.2.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมการบริหารจัดการที่ดี

                                3.3.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรสนับสนุนให้ประชาชนเข้าไปร่วมรับทราบปัญหาและโอกาสพร้อมร่วมลงมือจัดการปัญหาร่วมกัน

 

                     4.ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนทัศนะคติใหม่

                     การปรับเปลี่ยนทัศนะคติใหม่ให้กับประชาชนให้รู้และเข้าใจในเนื้อหาและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางพุทธศาสนาที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านกุศลพิธี กิจกรรมด้านทานพิธี กิจกรรมด้านบุญพิธี และกิจกรรมด้านปกิณกะ

                     5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรและการสร้างเครือข่าย

                5.1. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรมีนโยบายให้มีการจัดองค์กรด้านการเผยแผ่ โดยมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน มีคุณธรรมและเป็นมืออาชีพ

               5.2.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรสร้างเครือข่ายในการเผยแผ่ เพื่อสร้าง

พลังในการทำงานด้านการเผยแผ่เชิงรุก โดยมีเครือข่ายทั้งภายในและนอกประเทศทำงานเป็นทีมอันจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนพุทธศาสนาให้ก้าวต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              5.3.องค์กรที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาควรสนับสนุนด้านการเงินและการคลังให้กับองค์กรเผยแผ่ โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาทั้งในเชิงลึกและกว้าง สามารถคลอบคลุมทุกพื้นที่สองประเทศได้

                6. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนางานวิจัยพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคมองค์กรที่เกี่ยวของกับพุทธศาสนาควรส่งเสริมให้มีการทำงานวิจัยพุทธศาสนาทุกแง่มุมเพื่อพัฒนาสังคมให้เป็นสังคมวิถีพุทธอย่างยั่งยืน

 

อภิปรายผล

                     จากผลการวิจัยพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อพุทธศาสนาเชิงรุกในชุมชนชายแดนไทย-ลาวในยุคโลกาภิวัตน์  พบว่า  ประเทศไทย ด้านการเผยแผ่  จะมุ่งเน้นรุกในเรื่องการรับฟังความคิดเห็น รองลงมา ด้านการให้ความร่วมมือ และการเสริมอำนาจแก่ประชาชน  ด้านการศึกษาสงเคราะห์ จะมุ่งเน้นรุกในเรื่องการได้รับข้อมูลข่าวสาร รองลงมา ด้านการเกี่ยวข้อง และด้านการรับฟังความคิดเห็นและด้านการร่วม และด้านการสาธารณสงเคราะห์ จะมุ่งเน้นรุกในเรื่องการรับฟังความคิดเห็น รองลงมา ด้านการเกี่ยวข้อง และด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร  มาก าธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านการเผยแผ่ พบในด้านการให้ความร่วมมือ รองลงมา การรับฟังความคิดเห็น และการเสริมอำนาจแก่ประชาชน ด้านการศึกษาสงเคราะห์ รุกในด้าน การได้รับข้อมูลข่าวสาร รองลงมาการรับฟังความคิดเห็น และด้านความร่วมมือ และด้านการสาธารณสงเคราะห์ รุกในเรื่องการรับฟังความคิดเห็น รองลงมา ด้านการเกี่ยวข้อง และด้านการได้รับข้อมูลข่าวสาร

 

ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป

                   1.  ควรมีการศึกษาวิจัยการปรับตัวและการรักษาอัตลักษณ์ของพุทธศาสนาไทย-ลาว เปรียบเทียบกับศาสนาอื่น ๆ ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

                   2.  ควรศึกษาเปรียบเทียบหลักพุทธธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนแม่น้ำโขง เพื่อดูสภาพปัญหาที่พบว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

                   3. ควรศึกษาการปรับตัวขององค์กรพุทธศาสนาในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ว่ามีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างไร

 

บรรณานุกรม

     คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจิต  สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย. มิติใหม่ของการพัฒนาจิต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประเทืองวิทย์, 2528.

     โครงการเครือข่ายการวิจัย  สถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม-วัฒนธรรมและเศรษฐกิจของชุมชนในภาคเหนือ. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์, 2543.

     เดือน  คำดี. เอกสารประกอบการอภิปรายในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ปรัชญาและศาสนา : คุณค่าและบทบาทต่อสังคมร่วมสมัย”. เนื่องในโอกาสที่ภาควิชาปรัชญาและศาสนาครบรอบ 30 ปีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2549.

     ปรีชา  ช้างขวัญยืน. ธรรมรัฐ-ธรรมราชา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

     พระไพศาล  วิสาโล. พุทธศาสนาไทยในอนาคตแนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 2กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2546.

     มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. การปฏิบัติหน้าที่ต่อสังคมด้านการพัฒนาจริยธรรมของพระนักนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยส่วนกลาง ปีการศึกษา 2547. (ออนไลน์)แหล่งที่มา www.old2005.mbu.ac.th/index.php?option.2551.

     ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. วิกฤตพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2542.

     สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ พ.ศ. 2550-2554. เอกสารอัดสำเนา

     อรนุช  อาภาภิรม. การพัฒนาอย่างยั่งยืน คำตอบอยู่ในความหลากหลาย. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์ จำกัด, 2545.

     Bhikkhhu  Buddharakkhita. The  Role  of  a  Missionary : A  Buddhist  Perspective. Buddhist  Virtues  in  Socio-Economic  Development. The  8th  International  Buddhist  Conference  on  the  United  Nations  Day  of  Vesak  Celebration  12-14  May  2011. Bangkok, Thailand : Thairaiwanprinting.part. 2011.

     Osamu  Izumi. CIVIL  SOCIETY  MOVEMENT  AND  DEVELOPMENT  IN  NORTHEAST  THAILAND.  “Revival  of  Buddhism  in  Thailand  : an  examination  of  the  school  textbook  on  Buddhism”  Khon  Kaen : Printing  House  of  Khon  Kaen  University, 2008.

     Lionel  Obadia.   Tibetan  Buddhism  in  France  :  A  Missionary  Religion?. (ออนไลน์).www.globa/buddhism.org. 2554.

     Wibke  Lobo.  The  Middle  Way  Theravada  Buddhism  and  its  special  nature  in  Laos.(ออนไลน์) www.hansgeorberger.com. 2554.

 

หมายเลขบันทึก: 483997เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2012 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท