ข้อคิดเพื่อการปฏิรูปการศึกษาไทย(แบบไทยๆ..ไม่บ้าหรั่ง)


1)      เลิกการสอนแบบคิดวิเคราะห์ได้แล้ว หันมาพัฒนา “ความจำ” ให้มากที่สุด เริ่มแต่ท่องสูตรคูณ กลับมาท่องอาขยานเหมือนเดิม เพราะทุกวันนี้ไปเห่อ “คิดวิเคราะห์” กันมาก (ตามก้นฝรั่ง)  จนจำวิชาการอะไรก็ไม่ได้ และคิดวิเคราะห์ก็ไม่เป็น เพราะการจะคิดได้มันต้องมีพื้นความรู้ที่จำได้มาเป็นฐานในการคิด

 

2)      ต้องเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์ว่าพวกตะวันตกนั้น “โตไว” เป็นพวกม้าตีนต้น ส่วนพวกเราตะวันออก โตช้า เป็นม้าตีนปลาย พวกเขามักเก่งฉกาจมากตอนวัยรุ่นหนุ่มสาว แต่ของเรายังเป็นเด็กอยู่เลย ดังจะเห็นได้ว่าในประวัติศาสตร์ฝรั่งนักคิดนักประดิษฐ์มักมีวัยไม่มาก ส่วนของเราต้องแก่เฒ่าถึงจะปราดเปรื่อง ดังนั้น น่าจะสอนให้เด็กๆเราจำความรู้ให้มากจะดีกว่า บ่มความรู้ไว้นานๆ เดี๋ยวแก่ๆ ก็เก่งเอง แต่ต้องพัฒนาความมานะอดทนวินัยคู่ขนานไป เช่น ญี่ปุ่นนั้นประเทศแสนรวย แต่นวัตกรรมด้านความคิดต่ำมาก ไม่ค่อยคิดอะไรได้กะเขา ลอกฝรั่ง พัฒนาต่อยอดเป็นหลัก ดังจะเห็นได้ว่ามีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลไม่กี่คน ส่วนฝรั่งประเทศเล็กๆ เช่น ฮอลแลนด์ ยังมีมากกว่า

3)      แม้ปริญญาตรีก็ยังต้องเรียนแบบจำให้มากสัก 80% คิดสัก 20% พอโทเอกแล้วโน่นแหละ ถึงค่อยเพิ่มความคิดเข้าไป

 

4)      ว่าไปแล้วการพัฒนาความคิดนั้นใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ทำแบบกลมกลืนไปกับการจำนั่นแหละ อย่าไปแยกออกจากกันสิ เช่น สอนให้นักเรียนตีหลักการใหญ่ให้แตก ให้ถ่องแท้ (คิด)  ยกตัวอย่างที่หลากหลาย จากนั้นก็ให้จำข้อมูลวิธีการที่เกี่ยวข้องให้แม่น ให้การบ้านเสริมทั้งในเรื่องการคิดและการจำ

 

5)      เพิ่มเงินเดือนให้ครูสองเท่า และห้ามครูไปหารายได้ด้วยการทำอาชีพอื่นเด็ดขาด  (ทุกวันนี้ครู 80% สอนเป็นอาชีพเสริม ค้าขายเป็นอาชีพหลัก) ให้อุทิศเวลากับการสอนเท่านั้น เงินที่เพิ่มนี้มาจากการลดปริมาณข้าราชการ ทหาร ตำรวจลงสัก 3 เท่า แล้วเพิ่มเงินเดือน 1.5 เท่า (ซึ่งทำได้สบายๆ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขึ้น 3 เท่า)  วิธีนี้จะทำให้คนเก่งคนดีอยากเข้ามาเป็นครูมากขึ้น

 

6)      การส่งนศ. ไปเรียนนอก ให้ลดจากปีละ 5000 คนเหลือ 50 คนก็พอแล้ว (เพื่อประโยชน์ใน “การศึกษาเปรียบเทียบ”)  เพราะไปเรียนกันมานานมากกว่า 110 ปีแล้ว ยิ่งเรียนยิ่งเห่อฝรั่ง ยิ่งดูถูกตัวเองมากขึ้นทุกที  ส่งหัวกะทิไปรับใช้งานวิจัยฝรั่ง แทนที่จะเอามาคิดแก้ปัญหาให้ชาติไทย พัฒนาความเข้มแข็งให้มหาลัยไทย  แถมยังเสียเงิน เสียโอกาส เสียความมั่นใจในตัวเอง (พึ่งฝรั่ง) ไปเสริมความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาฝรั่ง แต่ทำลายความเข้มแข็งสถาบันไทย ฯลฯ รัสเซี่ย ญี่ปุ่น ส่งนศ. ไปเรียนนอกแค่ 30 ปีก็หยุด หันมาสร้างชาติจนเป็นมหาอำนาจ ส่วนไทยไปมากว่า 110 ปีแล้วก็ยังได้แค่เป็นบ๋อยญี่ปุ่น มองไม่เห็นอนาคตเลย

 

7)      การวิจัยในมหาลัย วิจัยกันแต่เรื่องไกลตัว เราต้องวิจัยเพื่อประโยชน์ประเทศไทยได้แล้ว เช่น วิจัยปลาร้า มะม่วง แทนที่วิจัยนม องุ่น นาโน เลิกเห่อฝรั่งเสียที

 

8)      เรียนภาษาอังกฤษไปทำไม เพราะเสียเวลาเรียน 10 % แต่ไม่ได้ใช้อะไรนอกจากเอาไว้อ่านชื่อสินค้าฝรั่งออก เช่น pepsi Cola Nokia Louis Vitton เท่านั้นเองหรือ คุ้มกันไหมที่เสียเวลาไป 1.2 ปี ในช่วงมัธยม เอาเวลานี้ไปเรียนทำไร่ไถนา อ๊อก เชื่อมโลหะ จัดการพัสดุคงคลัง จะดีกว่าไหม ญีปุ่น เกาหลี พูดอังกฤษสู้ไทยไม่ได้ แบบ 10 ต่อ 1 เพราะเขาเรียนน้อย แต่ทำไมเขารวย ส่วน ฟิลิปปินส์ ไนจีเรีย พม่า พูดเป็นไฟ แต่ด้อยพัฒนา  

 

9)      การเรียนอังกฤษควรให้เป็นวิชาเลือก ในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น สำหรับพวกที่คิดจะเรียนต่อปริญญาโท เอก ทั้งนี้เพราะพวกเรียนระดับป.ตรีคงไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษคุ้มค่ากับการหว่านแหให้เรียนกันทั้งประเทศ ซึ่งเสียทั้งเวลาและงบประมาณมหาศาล เอางบนี้มาพัฒนาห้องทดลองวิทยาศาสตร์ หรือ ห้องพัฒนาฝีมือแรงงานดีกว่า

 

10)  เลิกเรียน รด. เนตรนารี ได้แล้ว เสียเวลามากไม่คุ้ม เสียโอกาสในการพัฒนาชาติ ถือเสียว่าการเรียนจบปริญญาตรีเป็นการรับใช้ชาติเท่ากับการเป็นทหารเกณฑ์

 

11)  ในมัธยมปลายควรมีวิชาเลือกที่เป็นวิชาชีพด้วย สำหรับพวกที่จะจบออกไปทำงาน โดยไม่เรียนต่อป.ตรี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดถึง 70% แต่หลักสูตรเน้นไปที่การเรียนต่อป.ตรี จึงเป็นการสูญเสียมาก ประเทศชาติลงทุนทางการศึกษาไม่คุ้มค่า

 

12)  ขณะนี้ป.ตรีล้นตลาด (คุณภาพต่ำอีกด้วย) แต่ อาชีวศึกษามีคุณภาพต่ำทั้งที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การค้าของประเทศ เนื่องจาก ราชมงคล ราชภัฎ ยกระดับขึ้นไปเป็นมหาลัยกันหมด บางแห่งสอนปริญญาโทเอกไปโน่น ควรปรับทิศทางใหม่ โดยกำหนดให้มหาลัยเหล่านี้ให้เป็นมหาลัยที่สอนเน้นด้านการปฏิบัติเสียมากกว่า จะให้ปริญญาเอกได้ก็ต้องเป็นด้านการปฏิบัติ ซึ่งม.หลายแห่งในต่างประเทศก็มีวิชาการด้านนี้ เช่น Ph.D. (Pr.) หมายถึงเป็นปริญญาเอกด้านการปฏิบัติ (Practice) เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในโรงงาน

 

13)  ทำไมไม่เอาคนแก่เกษียณอายุอาสาสมัครที่มีความรู้มาสอนเด็กประถม  โดยให้ค่าตอบแทนน้อยๆ จะได้ทั้งคุณภาพและลดงบประมาณ คนแก่ก็มีความสุขที่ได้ทำงานตอบแทนสังคม ดีกว่าอยู่เปล่าๆ ดูไร้ค่า

 

14)  ในระดับประถม 1-6 ให้เน้นวินัย จริยธรรม ความสะอาดสาธารณะ การเคารพสิทธิผู้อื่น  การเคารพกฎหมาย ให้มาก เพราะถ้ารอให้อายุมากกว่านี้จะใส่ไม่เข้า เนื่องจากเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว และประเทศไทยเราบกพร่องในเรื่องเหล่านี้มาก ทำให้ประเทศไม่พัฒนา

 

15)  โรงเรียนกวดวิชาเลิกลดได้ ถ้าให้ออกข้อสอบเข้าสถาบันต่างๆ ตรงกับเนื้อหาในหลักสูตร ไม่ออกนอกหลักสูตร หรือยากเกินไป บอกนักเรียนว่าถ้าศึกษาเนื้อหาในหลักสูตรรู้เรื่องเข้าใจดีหมดรับรองว่าทำข้อสอบได้เต็มแน่นอน เท่านี้ก็คงช่วยแก้ปัญหารร. กวดวิชาไปได้มาก คุณภาพชีวิตเด็กนักเรียนจะดีขึ้น

 

16)  รร. มีมาตรฐาน คุณภาพเท่ากันทั่วประเทศ  (สำคัญมาก แต่ขอละรายละเอียดไว้ก่อน)

 

17)  ......  

 

....คนถางทาง

 

หมายเลขบันทึก: 483689เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2012 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

I agree with most of points 13, 14 and 15.

13. We can make our senior citizens more productive and alive but we must recognize their need (at advanced age) too. Facilities and access for their transport, health and safety must be provided 'at school'.

14. I would put the teaching of skills to be able to look after themselves in various aspect of living and being a member of a community/society at the top of the list. The skills are language (speaking and listening -- or communication); interaction (observing, understanding and 'playing' rites, traditions and rights, and environment); hygiene and health -- physically and mentally (strong body-strong mind); social responsibilities ('right and wrong').

15. Yes and (in its place) promote (volunteer) 'buddy' or 'mentor' activities with venues (like community halls, botanical parks, roadside gardens, bicycle tracks, swimming pools, sports fields, ...) (with the money saved from extra classes).

Schools can be used as venues when in out-of-class-time for this purpose too in combination with point 13. Volunteers for many out-of-curriculum activities (arts, crafts, dancing, singing, acting, trades, horticulture, sports, religious seminars, ....) can be draw from the community or supporters' organizations.

ข้อ 15 ที่ท่าน sr ว่ามา ดีมากๆ เห็นด้วยล้าน% ครับ โดยเฉพาะพวกหมอ พยาบาล นั้นการสอบเข้าใน usa เข้าต้องดูว่าทำงานอาสามาแล้วครบชั่วโมงด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานแบบนี้ได้จริงนะ ไม่ใช่มาเรียนพอจบก็ลาออกกันหมด เหมือนหมอไทย เพราะทนงานไม่ไหว ทั้งที่สังคมลงทุนมหาศาลไปแล้ว จ๋อยเลย

มาเยี่ยมบันทึกแล้วครับ ;)...

ได้ใจชลัญมากค่ะ แถมดอกไม้ให้อีก 1999 ดอก ค่ะ

อ่านแล้วคันไม้คันมือ เลยขออนุญาต เพิ่ม ข้อ 17 ต่อด้วยดังนี้ครับ 

ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนเพื่อการมีชีวิตอยู่ในสังคมให้กลมกลืนกับชุมชม ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองแบบกลางๆ ไม่ทุนนิยมเกินไป ไม่หลังเขาเกินไป ตามแนวคิดทฤษฎีใหม่ของพระองค์ท่าน เช่น การผลิตปัจจัย 4 ด้วยการพึ่งพาตนเอง ฟื้นฟูงานเกษตรกรรมธรรมชาติพื้นฐาน เป็นต้น งานทั้งหลายเหล่านี้ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ดังตัวอย่างของชุมชนชาวอโศกทั้งหลายที่ทำสำเร็จอย่างครบวงจรมาแล้ว (มองเฉพาะแนวคิดหลักการ ไม่เกี่ยวกับความเป็นลัทธิ)

http://www.trf.mju.ac.th/lobby/lobby.php?Lpage=AT&id=AAT520102.php

http://www.asoke.info/06Community/Community/seesa.html

http://www.prachasan.com/wisdom/srisaAsoke.pdf  

 

เห็นด้วยกับคุณไทยเลย ครับ แนวทางสันติอโศก ผมก็ชอบนะครับ ไปดูมาหมดแทบทุกศูนย์แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท