การศึกษาเพื่อใคร ??? เพื่ออะไร ???


ใครเคยคิดเหมือนฉันบ้าง ? หากเราจะเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโท เราจะได้ประโยชน์สูงสุดอย่างไร ?

          นับถอยหลังอีกหนึ่งวัน  คือ วันที่  ๒๗  มีนาคม  และวันมะรืนนู้นที่ ๒๘  มีนาคม ๒๕๕๕  จะเป็นวันที่ประกาศผลการสอบคัดเลือกผู้ที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาโท  สาขาไทยศึกษา  คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง  ระหว่างที่นั่งทำเอกสารวิชาการ ปพ.๕  ๙ เล่ม เสร็จ  แล้วละมาทำ ปพ.๖ ต่ออีก  ๓๗  เล่มเสร็จ  และยังเหลือ  ปพ.๘ อีก ๓๗ เล่มที่ยังไม่ได้ทำ (^_______^)  ไม่ได้ขี้เกียจนะคะ  เพียงแต่ว่ามันชักเครียดกับตัวเลขและตาราง  กับการจับปากกาจนนิ้วบี้ไปหมดแล้ว  พอดีเพื่อนเดินผ่านมาทักถามข่าวคราวการสอบว่าผลสอบเรียนต่อโทของฉันเป็นอย่างไร  มันก็เลยมีประเด็นต่อไป จากปากต่อปาก ความคิดต่อความคิดของใคร ๆ ที่กระตือรือร้นในเรื่องนี้ ^ ^  มันก็เลยทำให้ความคิดในกบาลน้อย ๆ ของฉันเริ่มแกว่งหน่อย ๆ  จะว่าอ่อนไหวอย่างศิลปินก็ไม่ใช่  จะว่าไม่มั่นใจในความคิดของตัวเองก็ไม่เชิง  อ้าว....!!!  แล้วมันยังไงล่ะเนี่ย ???  เมืื่อเจอเข้ากับ ๒๐ คำถามของคนธรรมด๊า..ธรรมดาแต่ดูไม่ธรรมดาของแต่ละคน  มาดูกันว่าคำถามเด็ด ๆ ของแต่ละคนที่ถามวนิดาเป็นอย่างไร

  • คนนี้ถามแปลก ๆ ทำไมไม่เลือกเรียนที่อื่น  ไปเรียนทำไมที่ ราม ฯ เดี๋ยวก็ไม่จบหรอก  อ้าว ๆ !!!!  ยังไม่ทันรู้เลยว่าจะสอบได้ป่าววววว  ทำไมมาแช่งกันซะอย่างนั้น  ( แอบนึกในใจ....คนไรว๊าาา )

 

  • คนต่อมาถามคำถามดีมาก  มีตังค์เรียนแล้วหรอเรา  ขอตังค์แม่ได้เท่าไหร่ล่ะเราหรือกู้ออมสิน  กู้สวัสดิการครูโรงเรียน หรือสหกรณ์ คำถามต่อมานี่น่าเขมือบหัวคนถามมาก  - -"  พอดีพอมีเบี้ยที่เก็บหอมรอมริบอยู่บ้าง  ไม่ต้องใช้ กพ.( กองทุนพ่อ ) หรือ กม. ( กองทุนแม่ ) แต่เป็น กก. เฟ้ย ( กองทุนเก๋เองฮาฟ )

 

  • แล้วเลือกเรียนอะไรล่ะเรา " โหยยยยย....เลือกเรียนอะไรนี่ " เลือกไทยศึกษาค่ะพี่  " เฮ้ย ! จบยากนะ  ทำไมไม่เลือกเรียนบริหารธุรกิจ  บริหารการจัดการศึกษา  บริหารนี่  มันจบง่ายกว่าไหมน้อง ? " อ้าว !!!  พี่มาเป็นหมอลักษณ์ฟันธงซะอย่างนี้  พี่รู้ไหมครับ  มันทำให้หนูใจแกว่งไประดับ ๑๐ แล้ว

 

  • พี่ว่าอย่างเราน่าจะไปเรียนของมหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏนะ  เขาเปิดวิทยาเขตใกล้ ๆ  อำเภอบางพลีนะน้อง  อ้าว !!!  แล้วมันมีสาขาไทยศึกษาด้วยหรอคะพี่  โห !!! รู้สึกเสียดายระดับ ๘  ขึ้นมาทันที  คำตอบที่คุณพี่เขาตอบน่าเอาหัวโขกเสาอย่างมาก   " ไม่รู้ว่ะ พี่เห็นเขามาเปิดวิทยาเขตแถวบางบ่อนี่แหละ  เฮ้ย !!! คนที่เขาเรียนกันสองปีสามปีก็จบแล้วไอ้น้อง  ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ด้วย เดี๋ยวนี้เขาไม่เอาไรเยอะหรอก  เอาแค่วุฒิก็พอ " เหอ ๆ !!!  ฉันเริ่มเครียดขึ้นมาระดับ ๑๐ ทันที  อ้าว !!! ทำไมที่พี่เขาพูดนี่  ทำไมไม่เห็นพูดตอนก่อนที่ฉันไปสอบเรียนต่อ ( ว๊าาาาา )

 

  • คำถามนี้ก็เข้าท่าวุ๊ย...  แล้วคิดว่าสาขาที่เราไปสอบอ้ะจะทำอะไรได้  ทำไมไม่เลือกเรียนบริหารไปเลยล่ะ  อนาคตข้างหน้าเผื่อจะสอบเป็น ผอ.ไงน้อง ( เอางั้นเลยหรอคะเจ๊....สอบเป็น ผอ.นี่นะ  แค่นึกว่าสอบได้หรือไม่ได้ก็เสียวไส้พอแล้ว  เจ๊...คิดไกลไปกว่าหนูอีกนะคะ ) จริง ๆ อยากอธิบายให้เจ๊ได้เข้าใจว่า  สาขาวิชาที่หนูเลือกสอบเพื่อจะเข้าไปเรียนเนี่ย  มันได้เรียนต้้งหลายอย่าง  ทั้งภาษาไทยและวรรณคดีไทย  ปรัชญาและศาสนา  ประวัติศาตร์  สังคมวัฒนธรรมไทย  และคติชนวิททยา ( อินี้มันคือไรก็ไม่รู้  แต่มันน่าจะเป็นความคิด  ความเชื่อ  ที่เกี่ยวกับคนหรือเปล่า ? ) เอาน่า....มันน่าจะเข้าท่ามั่งน่ะ  ที่สำคัญจะนำมาใช้สอนวรรณคดีไทยในวิชาภาษาไทยและประวัติศาสตร์ได้น่ะเจ๊  แค่เป็นครูผู้ช่วยก็แทบกระอักเลือดแล้วค่ะเจ๊  เป็นผู้บริหารเนี่ยหนูไม่เส้นโลหิตในสมองแตกตายคาที่เลยหรอคะ  ขอชีวิตที่มีความสุขแบบพอเพียงกับการได้เป็นครูผู้สอน  ได้ยิ้มแก้มแฉ่งแข่งกับพระอาทิตย์เป็นพัก ๆ ก็สุขใจแล้วค่ะเจ๊  เจ๊จะไปสอบเป็น ผอ.เมื่อไหร่  หนูเก๋จะทำซุบเห็ดหลินจือให้เจ๊ได้รับทานทุกวันเชียว เอาดิ...ด้วยเกียรติของคนเคยเรียนเนตรนารีมาก่อน

 

  • คำถามนี้น่ากลัวสุด ๆ ทำไมเราเลือกเรียนที่นี่ล่ะ  ไม่สอบที่อื่น  จุฬา ฯ ธรรมศาสตร์ ฯ  เกษตร   ศิลปกร ศรีนครินทรวิโรฒ   " รู้ไหมที่นี่มีแต่พวกหัวรุนแรง  ก่อมงก่อม๊อบก็พวกนักศึกษาที่นี่แหละ " โหย....ย อาจ๊ารย์มันเป็นการแสดงความคิดทางการเมืองของนักศึกษานะคะ  อาจารย์จะไปโทษนักศึกษาที่นี่อย่างเดียวก็ไม่ได้  การเมืองเป็นเรื่องของทุกคนนะคะอาจ๊ารย์  "  ไม่รู้ดิ  ผมว่ามีแต่พวกปักษ์ใต้  อย่างกะโจร ทั้งนั้น ผมว่าเราสอบได้ก็ไม่น่าเรียนหรอก  ไปสอบปีหน้าก็ได้ สอบที่ศรีนครินทรวิโรฒนี่แหละ เรียนที่ มหา"ลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ดีกว่ามั้งเรา ? " ( อ้าว ๆ มาแช่งอีกคนแล้ว )  ทำไมอาจารย์ว่าที่นี่เจ๋งล่ะคะ  มีไทยศึกษาเปิดสอนด้วยหรอคะอาจารย์  หนูเห็นเปิดแต่สาขาประวัติศาสตร์ที่หนูว่าพอจะไปไหว  " โอ๊ย ! ไม่หร๊อก  พอดีผมจบที่นี่ ลูกชายผมก็เรียนที่นี่  ลูกพี่ลูกน้องเขาก็เรียนที่นี่ รู้หรือเปล่า  ที่นี่ดาราเรียนที่นี่กันทั้งนั้น  หมิวลลิตา เบ๊นซ์พรชิตา โอ๊ย....เยอะแยะ  จำไม่หมด"  อ้าว !!! กรรมละฉัน ตกลงลุงจำไม่ได้หรือไม่รู้จักชื่อดารารึเปล่า ?  - - " แต่เอาเห๊อะ...ลุงไม่ละความพยายามดี    ฟังลุงมาตั้งนาน  ลุงช่างรักสถาบันอะไรเยี่ยงนี้  ลุงดูน่ารักและดูน่ากลัวเท่า ๆ กัน

          จากคำถามเหล่านี้ทำให้ความคิดในกบาลน้อยของฉันค่อย ๆ กลั่นกรอง  คิด และคิด  และตอบใจตัวเองอย่างคนเข้าข้างตัวเองหรือเปล่าก็ไม่รู้  ฉันว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลยสำหรับการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับปริญญาโท  ฉันพยายามค้นหาว่าแต่ละสถาบันเปิดสาขาอะไรบ้างที่น่าเรียน  สามารถใช้กับการสอนหนังสือในวิชาภาษาไทยและประวัติศาสตร์ของฉันได้  ฉันคิดแค่นี้ก่อนเป็นลำดับต้น ๆ จนเมื่อพบว่ามีที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง  มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และมหาวิทยาลัยศิลปกร  มีสาขาวิชาที่ฉันสนใจและอยากเรียนจริง ๆ   แต่เมื่อมาดูแต่ละสถานที่แล้วดูจะเหลือตัวเลือกน้อยลงมาอีก  เหลือแค่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่พอจะหอบสังขารไปเรียนได้บ้าง  แต่ในที่สุดก็มานั่งงงกับคำว่า " ระบบเหมาจ่าย "  มันคือไรคะ  อืม....มันคือการลงวิชาเรียนไม่ว่าจะเรียนกี่วิชาก็จ่ายตามจำนวนเท่านี้หรือเปล่า ???  ไม่รู้ว่ามันมีข้อดีข้อเสียยังไง  แต่รู้ว่าแค่วนิดานั่งรถเมลล์จากบางนาไปท่าพระจันทร์  แล้วสมมติว่าวนิดาสอบได้จริง ๆ มันคงไม่ต่างจากเจ้าฮุ่ยที่สวนสัตว์เชียงใหม่เชียว  งั้น....ไม่เหลือให้เลือกเยอะแล้ว  เอาไงเอากันฮะพี่น้อง ราม ฯ นี่แหละ  แอบดีใจระดับ ๙  เรียนวันเสาร์และอาทิตย์ ๒ วัน  อืม...วนิดาน่าจะทรมานน้อยที่สุดนะฮาฟ  เอาล่ะเราเตรียมตัวสอบ  อ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษ คิดแค่นี้ค่ะ (@^_____^@)

          จากคำถามของใคร ๆ เลยมานั่งทบทวนตัวเองเล่น ๆ ว่า เอ่อ..!!! แล้วเราจะยังไงเนี่ย  ดีใจอยู่อย่างที่มีความคิดแบบตะแบง ๆ ว่าเรียนที่ไหนก็ได้ที่ทำให้ตัวเองเหนื่อยน้อยที่สุด  เพราะไม่ใช่แค่บทบาทของครูเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบ  แต่ในอนาคตหากได้เปลี่ยนบทบาทเป็นลูกศิษย์ดูบ้าง  ความรับผิดชอบต้องมีเป็นดับเบิ้ลทีเดียว  วนิดาคงจะงอมพระรามน่าดู  ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนหากใจไม่ชอบ  เรียนให้ดีให้ตายแค่ไหนมันก็คงดูไม่เข้าท่า  เพราะต้องฝืนใจเรียน  เรียนที่ไหนที่มีชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียง  แต่คนที่เรียนไม่ตระหนัก  ไม่ให้เกียรติสถาบัน  ไม่สำนึกบุญคุณต่อครูบาอาจารย์ผู้ให้ความรู้  ต่อให้เรียนจบก็ถือว่าเป็นเด็กเนนะคะ ( เนรคุณน่ะค่ะ )  ไม่ว่าจะที่ไหน ๆ ก็ต้องสอบคัดเลือกเข้าไปเรียน  ไม่ใช่ได้เรียนเลย  แล้วพอได้เรียนก็ใช่ว่าจะไม่ต้องสอบต่อนี่นา  มันก็ต้องสอบวัดระดับความรู้ในกบาลกันมั่ง  ว่าปึ้กพอจะไปถ่ายทอดวิทยายุทธหรือเปล่า ?  มันยิ่งกว่าซีรี่ส์เกาหลีนะคะ  มีตอนต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสอบคัดเลือกให้จบการศึกษา  มันไม่มีที่ไหนที่จะเรียนแล้วจบกันได้ง่าย ๆ เลย  เหอ ๆ ทำไมเราคิดกันแบบง่าย ๆ ก็ไม่รู้  ใครเคยคิดเหมือนฉันบ้าง ? หากเราจะเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโท  เราจะได้ประโยชน์สูงสุดอย่างไร ?

          เรียนระดับปริญญาโทใช่ว่าจะเรียนเร็วจบเร็ว  แต่ละสาขาวิชามันมีความยากง่ายแตกต่างกันนะฉันว่า  บางสาขาต้องทำวิทยานิพนธ์  บางสาขาต้องทำสาระนิพนธ์  บางสาขาวิชาต้องทำ Project  หรือบางสาขาวิชาต้องศึกษาการศึกษาอิสระแล้วแต่ละสถาบันกำหนด ( ตามหลักสูตรที่ขึ้นไว้หน้า web ของสถาบันต่าง ๆ ) ที่บอกกันว่าเรียนอะไรก็ได้ที่เรียนแล้วจบเร็ว  ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์  มันคงจะหายากนะคะ  เพราะไม่งั้นแต่ละสถาบันที่เปิดสอนคงมีแต่ปริมาณระดับบัณฑิตศึกษา  แล้วก็ได้แค่วุฒิเท่านั้นหรอคะ ? โหย.....ย ตาย ๆ ถ้าหากคนไทยคิดเท่านี้  แล้วเราจะได้รับความรู้ที่แท้จริงได้อย่างไร  ในเมื่อเราเลือกเรียนตามกระแสนิยม  และเลือกเรียนสาขาวิชาที่เหมือนสินค้าสะดวกซื้อ  ประเทศชาติเราจะไม่เจ๋งกระบ๋งกันหรือคะเนี่ย  หากผู้ที่จะให้ความรู้ผู้อื่นคิดแบบนี้ซะส่วนใหญ่แล้วเราจะไปหวังอะไรกับผู้เรียน  หรือว่าฉันเป็นคนชายขอบ ???

          ในที่สุดความคิดที่กระจัดกระจาย  ฟุ้ง ๆ อีรุงตุงนัง  คนเดียวที่ทำให้อาการนี้ของวนิดาหายได้ก็คือแม่จ๋าเท่านั้น 

ฉันถามแม่จ๋าว่า  แม่ว่าหนูเบื๊อกไหม  แม่ถามกลับแล้วเก๋ว่าเก๋เบื๊อกเรื่องอะไรล่ะลูก  เรื่องเรียนต่อค่ะแม่ หนูเลือกเรียนในแบบที่หนูอยากเรียน หนูไม่ได้เลือกเรียนในแบบที่คนส่วนใหญ่คิดว่าควรจะเรียน  แม่คิดว่าไงคะ ?  ไปสอบแล้วหรอลูก ? ค่ะ ไปสอบแล้ว วันที่ ๒๘ มีนา ฟังผลสอบค่ะแม่ แม่จ๋าตอบมาประโยคเด็ดทีเดียว  " คนเราไม่มีใครแก่เกินเรียนหรอกลูก  "  แล้วโทรศัพท์ของเธอก็ดังตู๊ด....ตู๊ด.....  ผู้หญิงคนนี้ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว 

(@^______^@)

 

                   

         


 

 

 

 

 

 



 

หมายเลขบันทึก: 483288เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2012 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

กลับมาเซ็งระดับ ๑๐ เชียว เฮ้อ !!!

สวัสดีครับ.... เรียนเพราะเราอยากเรียน... ซื่อสัตย์กับความรู้สึกของตนเองดีจังครับคุณครู... แล้วผลสอบออกยังครับ... ภาวนาขอให้สอบได้..เรียนจบ... เอาความรู้มาพัฒนาตนเองและผู้อื่นนะครับ... ผมเช่นกัน... ไม่อยากได้ครูเก่ง... ขอให้ได้มีครูที่มีหัวใจความเป็นครูครับ... ขอบคุณครับ

  • สวัสดีค่ะคุณหมอ  ผลสอบออกแล้วค่ะ  เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๕  คณะมนุษยศาสตร์  สาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง  อยากเรียนสาขานี้ค่ะ  ไม่รู้ว่าจะใช้ความรู้สึกกับความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้งหรือเปล่า ?  แต่คิดว่าเวลาสอนวิชาภาษาไทยวรรณคดีไทย  และวิชาประวัติศาสตร์  มักจะมีมิติของความเชื่อ  ศาสนา ภูมิปัญญา สังคมและวัฒนธรรมไทย  สอดแทรกในเนื้อหาที่สอนนะคะ  น่าจะได้ใช้ความรู้นี้ไปสอนในวิชาดังกล่าว  เพราะได้เรียนหลาย ๆ กระบวนวิชาทั้งภาษาและวรรณกรรม  ประวัติศาสตร์  ปรัชญาและศาสนา  คติชนวิทยา  และสังคมวัฒนธรรม  ซึ่งเป็น ๕ กลุ่มวิชาของโครงสร้างหลักสูตรของสาขาไทยศึกษาค่ะ  ^^

 

  • สอบผ่านค่ะ  แต่ไม่รู้สึกว่าดีใจเลยค่ะ  กังวลและภาวนาขอให้เรียนจบ  ฮ่า ฮ่า  เพราะรู้ว่าเรียนไปด้วย  ทำงานไปด้วย  เป็นทั้งครูและลูกศิษย์ในเวลาเดียวกันเนี่ย  มันไม่ธรรมดาเลย แต่แน่นอนค่ะ  " อุปสรรคทุกย่างก้าวไม่เท่าศรัทธา " นะคะ [ เจอคำถามหลาย ๆ ข้อ ที่ยกตัวอย่างมาในบันทึกแล้วทำให้หวั่นใจหน่อย ๆ ค่ะ ฮ่า ฮ่า ]

 

  • ขอบคุณกำลังใจจากคุณหมอค่ะ  เช่นกันค่ะ  อยากให้มีคุณหมอที่มีหัวใจเวลาไปหาหมอจะสังเกตได้จากแววตาที่ปราณีและมิตรไมตรีต่อเพื่อนมนุษย์ได้เลยนะคะ ฮ่า ฮ่า  [ เวลาไปโรงพยาบาลก็กลัวจนไม่รู้จะเก็บอาการยังไง  แต่ทุกทีที่ป่วยไข้เจอคุณหมอที่ทักทาย  ให้ความเป็นกันเอง  และอธิบายความป่วยไข้แบบง่าย ๆให้คลายกังวลอย่างมิตรไมตรี  แค่นี้ความกลัวก็หาย  ความไข้ก็เหลือน้อย  กลับบ้านไปรู้สึกสุขใจที่ได้เจอคุณหมอที่เอาใจใส่กับคนไข้จริง ๆ ] อยากให้มีคุณหมอแบบนี้เยอะ ๆ เหมือนกันนะคะ

สวัสดีค่ะ มาให้กำลังใจค่ะ ยินดีกับความสำเร็จก้าวแรกของการเป็นนักศึกษาปริญญาโทนะคะ พี่คิดว่าน้องคิดถูกแล้วล่ะ เรียนที่ไหนก็ได้ขึ้นกับว่าคนที่เรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้มากน้อยและคุ้มค่าเพียงใดคะ หลายคนจบมาจากสถาบันเด่นดัง แต่ไม่ได้ทำคุณประโยชน์ที่เหมาะสม ก็ได้แคชื่อว่าจบที่นั่นเท่านั้นแต่หาใช่คนที่ควรภูมิใจแต่อย่างใดค่ะ

  • ขอบคุณพี่รัชค่ะ

  • ใช่ค่ะ ที่เลือกเรียนสาขานี้ เพราะหนูสอนวิชาภาษาไทย และประวัติศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมต้น ซึ่งในเนื้อหาการเรียนทั้งสองวิชานี้มีมิติของเรื่องการเมือง ศาสนา สังคมวัฒนธรรม วรรณกรรม ความเชื่อต่าง ๆ ที่ปรากฏในบทเรียน จึงคิดว่าสาขาไทยศึกษาน่าจะนำมาใช้สอนได้มากกว่าการเรียนสาขาการบริหารการศึกษาอย่างที่พี่ ๆ ที่โรงเรียนแนะนำ ( กึ่งสะกดจิตนะคะ ฮ่า ฮ่า )

  • จึงตัดสินใจว่าจะเรียนต่อเลยได้ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรของมหาวิทยาลัยแต่ละที่ค่ะ บางที่ที่อยากเรียนก็ไม่ได้อธิบายโครงสร้างหลักสูตรตลอดปีการศึกษาที่ต้องศึกษานะคะ เลือกอยู่นานเหมือนกันกับการเตรียมการเรียนต่อค่ะ พอได้ดูโครงสร้างหลักสูตรแล้วที่นี่สะดวกสุดค่ะ คือ การเดินทางไปเรียน ( ใช้เวลาเดินทางเพียง ๑ ชั่วโมง คงจะไม่ล้าและเหนื่อยมาก ฮ่า ฮ่า เพราะ ๗ วัน ไม่ได้พักผ่อนตามปกติ หนูคิดว่า คงจะทำให้หนูขี้เกียจ ระดับ ๑๐ ทีเดียว หนูคิดเยอะไปไหมคะ ฮ่าฮ่า ) เวลาที่เรียนคือวันเสาร์และอาทิตย์ ( นอกเวลาราชการ อินี้ยังพอได้ไปเรียนบ้างอย่างไม่ต้องกังวลกับงานสอน จันทร์ถึงศุกร์ค่ะ ) ปัจจัยในการลงทะเบียนเรียน ( เพราะหนูสะสมทรัพย์กับบุญมาจึ๋งนึงค่ะ ฮ่า ฮ่า ) ดังนั้นก่อนสอบสามสัปดาห์จึงได้ถ่างตาอ่านหนังสือกะลองทำข้อสอบภาษาอังกฤษแบบไม่ลืมหูลืมตา

  • หนูไม่นึกเลยว่าพี่รัชจะเป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ และมุ่งมั่นเป็นอาจารย์สอนคณิตศาตร์ และสอนอยู่ในจังหวัดปัตตานี พี่นี่เป็นครูหัวใจทองคำจริง ๆ ชื่นชมและทึ่งในตัวพี่รัชจริง ๆ ค่ะ มันช่างตรงข้ามกับหนู ทั้ง ๆ ที่แม่หนูเป็นคุณครูสอนคณิตศาสตร์หนูดันไม่ชอบเรียนวิชานี้เอาซะเลย ฮ่า ฮ่า หนู แม่หนู และพี่รัชเหมือนกันอยู่อย่างคือได้อาจารย์เป็นแรงบันดาลใจ ฮ่า ฮ่า แม่เคยเล่าให้ฟังว่าคุณครูสอนคณิตศาสตร์ของแม่ท่านสอนคณิตศาสตร์สนุกมี แม่ชอบเรียนวิชานี้มากเพราะได้อาจารย์ท่านเป็นแรงบันดาลใจ แม่จึงเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ยันท่านเกษียณ ส่วนหนูเองชอบทั้งคุณครูผู้สอนภาษาไทย และสังคม ( เมื่อก่อนวิชาประวัติศาสตร์ยังไม่ได้แยกเนื้อหาสาระออกจากวิชาสังคมเหมือนสมัยนี้นะคะ ) ได้อรรถรสทุกครั้งเวลาเรียนสองวิชานี้ หากสติหลุดไปสักกะนิดเปรียบเหมือนดูการ์ตูนโดเรมอนไม่จบตอนยังไงยังงั้น จะหงุดหงิดกับเพื่อนที่ชอบชวนคุยขึ้นมาทีเดียว วิชาที่ชอบที่สุดคือ ภาษาอังกฤษ อ้าว !!! งงไหมคะพี่คะ คุณครูสอนท่านชอบสอนแต่ไวยากรณ์ แต่ชอบมากกว่านั้นคือเรื่องสั้นหรือบทความของอาจารย์ที่เอามาให้อ่านค่ะ ลองเดาศัพท์ก่อน เดาไม่ได้ค่อยหาศัพท์ และบางเรื่องให้ข้อคิดด้วย ไม่รู้ว่าอาจารย์ไปเลือกเรื่องจากไหนมาให้อ่าน บางเรื่องก็ยาวเกินกว่า ๑๐ บรรทัด บางเรื่องไม่เกิน ๕ บรรทัด แต่ทำไมช๊อบ ชอบ อ่าน เรียนของท่านก็ไม่รู้ ที่สำคัญเวลากลับบ้านพ่อจ๋าของหนูชอบพูดภาษาอังกฤษด้วยค่ะ ( อย่าเข้าใจว่าหนูเป็นลูกครึ่งตาน้ำข้าวนะคะ ฮ่า ฮ่า ) ตอนเด็ก ๆ พ่อซื้อหนังสือนิทานให้เป็นภาษาอังกฤษ ตอนนั้นยังอ่านไม่ได้หลอกค่ะ ดูตามภาพเท่านั้น แต่แม่เล่าว่าตอนเด็ก ๆ ชอบออกเสียงตามพ่อเวลาพ่ออ่านให้ฟัง หรือเวลาอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาเวลากินข้าวรวมกัน พ่อมักจะยกช้อนบ้าง แก้วบ้าง ผลไม้บ้าง แล้วให้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ สนุกดีค่ะ แย่งกันตอบกับพี่สาว ใครตอบได้พ่อไม่ได้ให้รางวัลหลอกนะคะ ฮ่า ฮ่า

  • อันสุดท้ายเห็นด้วยตามนั้นที่พี่รัชว่าค่ะ ในฐานะที่เป็นครูแล้ว จึงคิดว่าต้องขวนขวายหาความรู้เท่าที่กำลังกายและกำลังปัญญายังสามารถทำได้ ที่สำคัญไปกว่านั้นวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่สังคมคาดหวังและมองว่าคือผู้ให้ความรู้นะคะ เพราะฉะนั้นหากผู้ให้ความรู้ยังรู้ไม่พอก็ต้องเร่งศึกษาเล่าเรียนเช่นกัน พัฒนาตนเองก่อน ก่อนที่จะไปสอนและพัฒนาลูกศิษย์ พี่รัชว่าไหมคะ ดีใจที่ได้รู้จักนะคะ ถ้าพี่อ่านคำตอบหนูจบแสดงว่าว่ารักกันจริงเหมือนกัน (@_________@)

ตอนนี้พลอยก็กำลังจะเรียนโทต่อค่ะ สอบข้อเขียนผ่านแล้วเหลือฟังผลสอบสัมภาษณ์ ที่รามคำแหง สาขาและคณะเดียวกะพี่เลยคือ ไทยศึกษา แต่ยังไม่ได้ทำงานเพราะเพิ่งจบค่ะ ^ ^  

ถึง นู๋พลอยค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักนู๋พลอยค่ะ  เหมือนวันปฐมนิเทศพี่เก๋และนู๋พลอยได้พบกันแล้ว  ใช่นู๋พลอยคนเดียวกันไหมคะ ^^


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท