ชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มสาระการงานอาชีพและ เทคโนโลยีของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเขาย้อยวิทยา จังหวัดเพชรบุรี


การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อหาประสิทธิภาพของการใช้ชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่มตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2

ชื่อเรื่องรายงาน  : ชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มสาระการงานอาชีพและ เทคโนโลยีของนักเรียน   

                             ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนเขาย้อยวิทยา จังหวัดเพชรบุรี

ชื่อผู้รายงาน       : นางบุษญา ร้องขันแก้ว  ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนเขาย้อยวิทยา

                                  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

ปีที่ทำการศึกษา : ปีการศึกษา 2554

.............................................................................................................................................................

บทคัดย่อ

 

 

                         การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1)เพื่อหาประสิทธิภาพของการใช้ชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่มตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียน  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่ม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 4 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่ม ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่ม 4) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน วิธีดำเนินการจัดการเรียนรู้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดี่ยว ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3จำนวน 28 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเขาย้อยวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive  Samping) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (     )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) t – test แบบ Dependent Samples

                         ผลการศึกษาพบว่า

                         1.  ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน

อาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3มีประสิทธิภาพ E1/E2

สูงกว่าเกณฑ์  85.22/86.67

                       2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่มกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชีพ ชั้นปีที่ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                      3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะภาษีมูลค่าเพิ่มกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีของนักเรียนรับประกาศนัยบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

หมายเลขบันทึก: 483261เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2012 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท