ดูดาวเคียงเดือน


คืนนี้ (25 มีนาคม 2555) ออกไปยืนดูปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" ซึ่งเกิดขึ้นอีกครั้ง  แม้จะไม่สมบูรณ์เท่าปีที่แล้ว แต่ก็ยังพอจินตนาการออกได้ว่า คล้ายหน้าคนกำลังยิ้ม คืนพรุ่งนี้ตั้งใจจะออกไปดูอีก ตามรายงาน ดาวเคียงเดือนในคืนวันที่ 26 น่าจะดูคล้ายใบหน้า หมีโคอาล่า ในความคิดของผม ซึ่งคงจะสร้างรอยยิ้มให้กับผู้ที่เห็นได้บ้าง

ปรากฏการณ์ของดวงดาวบนท้องฟ้า ช่วยเติมสีสรรในชีวิตผมตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา   มีดาวเคราะห์ 3 ดวงคือดาวอังคาร พฤหัส ศุกร์ ให้เห็นพร้อมกัน และยังมีดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวซิริอุส ที่ส่องแสงระยิบระยับทางทิศใต้  ดาวซิริอุสนี้เป็นดาวที่ผมชอบมาก และบอกกับภรรยาว่า จะขอใช้เป็นดาวของเราสองคน 

ผมนึกถึงหนังสือที่เคยอ่านในวัยเด็ก ว่าแสงดาวบนฟ้าที่เรามองเห็น แท้จริงเป็น "อดีต" ของดาวนั้น เพราะแสงต้องใช้เวลาเดินทางกว่าจะมาถึงโลกของเรา บางดวงใช้เวลาหลายปีแสง นั่นหมายถึง แสงต้องใช้เวลาเดินทางหลายปีทีเดียว (แสงเดินทางวินาทีละ 300,000 กม.)

ดาวพฤหัส (ตาข้างซ้ายของพระจันทร์ยิ้ม) ห่างจากโลกประมาณ 620 ล้าน กม. แสงใช้เวลาเดินทางประมาณ ครึ่งชั่วโมง จึงจะมาถึงโลก

จึงเป็นความจริงที่แปลก ที่ว่า เรามองเห็นอดีตของดาวพฤหัสเมื่อประมาณครึ่งชั่วโมงที่แล้ว หรือถ้าจะพูดให้งงอีกนิด ก็คือ อดีตของดาวพฤหัสเป็นเวลาเดียวกับปัจจุบันของโลก 

ไม่รู้เหมือนกันว่า นำไปเป็นข้อคิดอะไรได้ไหม?

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา ดวงดาว
หมายเลขบันทึก: 483209เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2012 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท