๒๗๒.ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยากับกว๊าน


โดย...ชัยวัฒน์ จันธิมา และสหัทยา วิเศษ สถาบันปวงผญาพยาว

ปัจฉิมกถา “กว๊านพะเยาลือเลื่อง เมืองแห่งกว๊าน โดยนายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา

          การสร้างเวทีให้ทุกภาคส่วนได้พูดคุย เป็นแบบ Forum “การสร้างกว๊านพะเยา เมืองลือเลื่องแห่งกว๊านพะเยา” คนรู้จักพะเยาเพราะกว๊านพะเยา ดังนั้นทุกสิ่งที่ทำต้องเกี่ยวกับกว๊านพะเยา ทุกอย่างต้องขับเคลื่อน และช่วยกันต่อจิ๊กซอว์ ตนเองมาได้ ๓ เดือน และมีความคิดว่าการขับเคลื่อนกว๊านพะเยา มี ๗ มิติ เพื่อให้เห็นว่าทุกหน่วยเป็นองค์ประกอบของกันและกัน

๑.     มิติด้านประมง จึงต้องมีการส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ โดยให้มีผลผลิตด้านการประมง โดยมีการแยกกิจกรรมเพื่อพัฒนาการประมง การสร้างพระตำหนักสมเด็จย่าให้เป็นจุดท่องเที่ยว  

๒.     มิติชลประทานและการเกษตร ซึ่งกว๊านพะเยาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อให้มีน้ำใช้ในการเกษตรที่พอเพียง การจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรในการเกษตร

๓.     มิติด้านสิ่งแวดล้อม สมเด็จพระเทพฯ ท่านสนพระทัยรับโครงการพัฒนากว๊านพะเยา เป็นโครงการพระราชดำริ การทำงานของจังหวัดจึงให้สอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ เช่น กิจกรรมการโยนแดสต้าบอล การกำจัดผักตบชวา

๔.     มิติด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้พะเยาเป็นจุดท่องเที่ยว เช่น ที่พัก ถนนคนเดิน ร้านอาหาร ที่มีความเป็นพะเยา ขายความเป็นพื้นบ้านของพะเยา มีกิจกรรมเช่น ถ่ายภาพมุมสูงจากวัดอนาลโย ไหว้พระวัดกลางน้ำ

๕.     มิติด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เช่น วัดติโลกอาราม จารึกเมืองพะเยา หลวงพ่อเศียรเมืองพะเยา ฯลฯ ผนวกกับมิติด้านการท่องเที่ยวที่เป็นการท่องเที่ยวแบบ Slow travel โดยการสร้างเป็นวงกลมของการท่องเที่ยวทั่วจังหวัดพะเยา

๖.     มิติด้านท้องถิ่น และชุมชน เช่น ท่าเรือโบราณ หัตถกรรมจากผักตบชวา เกษตรปลอดภัย เศรษฐกิจพอเพียง การท่องเที่ยวด้วยการขี่จักรยานรอบกว๊านพะเยา วิ่งมาราธอน ซึ่งเป็นเรื่องของท้องถิ่นรอบกว๊านพะเยาที่ร่วมกันพัฒนา

๗.     มิติด้านการพัฒนาสังคม  ซึ่งเป็นประเด็นของภาคประชาสังคมที่ได้มาถกแถลงกัน ทั้งพระ วัด ท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ฯลฯ ได้มาเสวนากัน เป็นภาคระดมความคิด เปิดจิตวิญญาณ ใส่พลังซึ่งกันและกัน

ถ้าทุกภาคส่วน ทำการบ้าน แบ่งกันรับผิดชอบ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดูแลภาพรวม แต่การขับเคลื่อนขบวนฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องให้ทุกภาคส่วนมาร่วมแสดงความคิดเห็น บางอย่างต้องประสานการบูรณาการกัน และคลี่กิจกรรมทั้ง ๗ มิติ โดยไม่ทำยิ่งใหญ่ แต่รักษาจารีตประเพณีของพะเยา เพราะกว๊านพะเยาเป็นสมบัติของคนพะเยา

      หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด ตัวแทนหน่วยงานราชการ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคท้องที่ -ท้องถิ่นได้ลงนามในฉันทามติร่วม และถ่ายรูปร่วมกัน ก่อนที่จะปิดเวทีสานเสวนาการพัฒนากว๊านพะเยาอย่างมีส่วนร่วมที่เป็นทางการ

 

     เวทีสานเสวนาเพื่อหาทางออกให้กับกว๊านพะเยา จึงถือเป็นก้าวแรกของกระบวนการทั้งหมดที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว อันเป็นเส้นทางสำคัญในลำดับต่อไปที่จะขับเคลื่อนงานพัฒนากว๊านพะเยาและการพัฒนาอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งต้องถือเป็นคำมั่นสัญญาใจของคนพะเยาทุกภาคส่วนที่จะต้องจับมือ ร่วมใจขับขับเคลื่อนความคิด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหากว๊านพะเยาได้อย่างแท้จริง

 

ตัวแบบในการแก้ไขปัญหาของกว๊านพะเยา โดยการมีส่วนร่วม  (KwanPhayao Model)

วิธีการ/เครื่องมือ

ก่อน

ระหว่าง

หลัง

ü เวทีสานเสวนา

ü ประชุมกลุ่มย่อย

ü กิจกรรมร่วมกับภาคี

  • ·      ไม่คุ้นเคยกับกระบวนการ
  • ·      ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น กลัวถูก/ผิด
  • ·      พูดความเห็นส่วนตัว/แต่ไม่รับฟังอื่น
  • ·      หวาดระแวง ไม่ไว้ใจผู้เข้าร่วม
  • ·      ไม่มั่นใจผู้จัด/ดำเนินรายการ
  • ·      จัดบ่อย ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
  • ·      เห็นภาพรวมของกระบวนการ
  • ·      มีความกระตือรือร้นในกิจกรรม
  • ·      รับฟังผู้อื่นมากขึ้น
  • ·      เกิดการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น
  • ·      เกิดความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติม
  • ·      เกิดพื้นที่การสื่อสารสองทาง
  • ·      ได้รู้จักคุ้นเคย/เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ·      มีความยึดหยุ่นไม่ติดความเป็นทางการ
  • ·      มีพื้นที่แสดงความคิด/ผลงานตนเอง
  • ·      เห็นบทบาทและศักยภาพของผู้อื่น
  • ·      ให้การสนับสนุนช่วยเหลือกัน
  • ·      ลดความขัดแย้งที่มีต่อกัน
   

ผลลัพธ์

ระดับบุคคล

ระดับกลุ่ม/ชุมชน/องค์กร/เครือข่าย

ระดับนโยบาย

ü สัมภาษณ์

ü สังเกต

ü ถอดบทเรียน

  • ·      เปิดใจ ทราบถึงเหตุผล  ข้อขัดแย้งเดิม เกิดความเห็นอกเห็นใจ ปรับความเข้าใจกันได้
  • ·      วางตนเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ยกย่องชมเชยผู้อื่น มากกว่าติเตียน
  • ·      มีความมั่นใจหรือสามารถที่จะเป็นผู้นำการพูดคุย/ประชุมแบบมีส่วนร่วมได้
  • ·      มีแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการ
  • ·      นำกระบวนการไปปรับใช้กับการทำงานในกลุ่ม/องค์กร ด้านการมีส่วนร่วม
  • ·      มีเครือข่ายความสัมพันธ์เพิ่มขึ้นในการติดต่อประสานงาน สานประโยชน์กับกลุ่มองค์กรอื่นๆ
  • ·      เกิดความมั่นใจที่จะทำงาน/ดำเนินกิจกรรมโครงการกับชุมชน
  • ·      บรรยากาศความร่วมมือภาพรวมเริ่มดีขึ้น
  • ·      สามารถจัดทำข้อเสนอ/ชุดโครงการที่สมบูรณ์ต่อฝ่ายนโยบายได้
  • ·      มีส่วนร่วม/ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ/คณะทำงานวางแผนงานระดับนโยบาย/โครงการ
  • ·      ได้รับการยอมรับ/ตอบสนองจากผู้กำกับนโยบายเบื้องบน
   

เงื่อนไข/ข้อแนะนำ

  • ·      ใช้เวลาในการทำกระบวนการนาน ควรปรับระยะเวลา/ช่วงฤดูงานให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน
  • ·      ควรมีกิจกรรม/ปฏิบัติการหนุนเสริม ที่เชื่อมโยงกับวิถีวัฒนธรรมชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธ์และความต่อเนื่อง
  • ·      ผู้นำ/ราชการ มีงานประจำมาก ติดเงื่อนไข/ระเบียบองค์กร  ควรให้หน่วยงานเห็นความสำคัญกระบวนการนี้
  • ·      ตัวแทนชุมชนมีภาระทางเศรษฐกิจ ควรมีงบประมาณสนับสนุน
  • ·      ควรมีองค์กร หรือศูนย์ประสานงานเครือข่ายประสานงานภายใน เพื่อช่วยขับเคลื่อนกลไกการทำงานแก้ปัญหาอื่นๆต่อไป

ข้อสรุป

กระบวนการสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยผ่านวิธีสานเสวนา/ประชุมกลุ่ม/

การจัดกิจกรรมร่วม เป็นส่วนสำคัญ

ในการหาทางออกให้กับการแก้ปัญหา

ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นหรือสังคมได้

 

 

 

 

ขอขอบคุณ : พี่น้อง ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ ผู้เข้าร่วมเวทีทุกคน

 

หมายเลขบันทึก: 482360เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2012 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท