๒๖๔.ข้อเสนอเพื่อสื่อชุมชน


ข้อเสนอของคนพะเยาเพื่อการพัฒนาฯ ด้านสื่อ

 

๗.

ด้านสื่อ

 

ข้อเสนอระดับพื้นที่

     1.สื่อมวลชนท้องถิ่น สื่อพื้นบ้าน และสื่อศิลปินร่วมสมัยรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสานความร่วมมือช่วยส่งเสริมกิจกรรมการประชาสัมพันธ์  การผลิตสื่อที่มีคุณภาพ  และเผยแพร่องค์ความรู้ท้องถิ่น  ให้เข้าถึงประชาชนมากที่สุด

     2.ร่วมกันกำหนดประเด็นหรือวาระในการรณรงค์ให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว  ตะหนักรู้ ด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพ  ด้านการศึกษา  ตลอดจนการส่งเสริมประชาธิปไตย ให้ประชาชนเกิดสำนึกความเป็นพลเมือง  การรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม  ภาษาท้องถิ่น  ตลอดจนการติดตามรายงานข่าว ความเคลื่อนไหว การตรวจสอบโครงการพัฒนาต่างๆ ของท้องถิ่น

     3.ร่วมกับองค์กรภาคต่างๆ จัดเวทีสาธารณะเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของภาคประชาชน  ในโครงการหรือนโยบายพัฒนาต่างๆที่มีผลกระทบต่อท้องถิ่น  ให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและลดความขัดแย้งในชุมชน

     4.ให้มีการอบรม  พัฒนาการผลิตสื่อในระดับเด็กเยาวชน  และชุมชน  ทั้งสื่อพื้นบ้าน  สื่อร่วมสมัย  สื่อพลเมือง เช่น การอบรมการเขียนการ์ตูนเด็ก  การอบรมนักข่าวพลเมือง  การอบรมผลิตหนังสั้น สารคดี  การเขียนข่าว  การทำเว็บไซต์ การผลิตสื่อนิทรรศการ การถ่ายภาพ  เป็นต้น

     5.ให้มีเครือข่ายเฝ้าระวังสื่อระดับชุมชน เพื่อติดตามตรวจสอบการทำงานของสื่อทั้งภายนอกและภายในชุมชน

 

ข้อเสนอระดับจังหวัด/ภาค

     1.ให้องค์กรระดับท้องถิ่น เช่น อบจ.อบต เทศบาล และจังหวัด หรือหน่วยงานราชการในพื้นที่  สนับสนุนงบประมาณแก่สื่อมวลชนท้องถิ่น สื่อพื้นบ้าน  ศิลปินร่วมสมัย เพื่อช่วยการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจที่ดี และกระตุ้นให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน  สร้างความเป็นพลเมือง  ตลอดจนสำนึกรักท้องถิ่น

     2.ให้ อบจ.หรือจังหวัด สนับสนุนงบประมาณการจัดตั้งสถานีวิทยุ  สถานีโทรทัศน์  สื่อหนังสื่อพิมพ์ในรูปแบบสื่อสาธารณะ  เพื่อให้ท้องถิ่นมีสื่อที่มีความเป็นกลาง  ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์  ข้อมูลข่าวสาร  องค์ความรู้ในท้องถิ่น  ตลอดจนสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในจังหวัด  โดยให้มีการคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรสื่อสาธารณะระดับจังหวัด ให้เป็นผู้ดูแล  สนับสนุน  หรือบริหารจัดการ กำกับนโยบายสื่อสาธารณะ

     3.ให้องค์กรท้องถิ่น หรือหน่วยงานราชการในพื้นที่  ร่วมกันกำหนดวาระการรณรงค์การพัฒนาท้องถิ่นในประเด็นต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง  เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา  ด้านการเกษตร  ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  เป็นต้น

     4.ให้องค์กรท้องถิ่น หน่วยงานราชการในพื้นที่อำนวยความสะดวกในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ด้านนโยบาย  การพัฒนาโครงการต่างๆ ต่อสาธารณะ 

     5.ตั้งกองทุนสื่อมวลชนท้องถิ่น ให้สวัสดิการหรือให้รางวัลด้านต่างๆ แก่นักข่าว  ช่างซอ สล่า/ศิลปินพื้นบ้าน ที่สร้างคุณประโยชน์แก่ชุมชน  โดยเฉพาะสื่อที่ช่วยตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น  การประชาสัมพันธ์ท้องถิ่น  การเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

 

ข้อเสนอระดับนโยบาย

     1.ให้มีนโยบายการก่อตั้งองค์กรสื่อสารสาธารณะระดับจังหวัด โดยให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการด้านการสื่อสารภายในชุมชน เช่น ตั้งสถานีโทรทัศน์  สถานีวิทยุ  สื่อหนังสือพิมพ์ที่เป็นสื่อกลางที่ดี ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยเบื้องต้นควรผลักดันให้ กทสช. นำคลื่นที่มีอยู่มอบให้แก่สื่อสาธารณะในท้องถิ่น

     2.จัดให้มีกองทุนสื่อเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ส่งเสริมความเป็นพลเมือง  และการผลิตรายการ ด้านต่างๆ เช่น ละคร  สารคดี  ที่เกี่ยวกับ เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาส  และสถาบันครอบครัว  หรือตัวอย่างบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี และเกิดแรงบันดาลใจ

     3.จัดให้มีกองทุนเฝ้าระวังสื่อ  เพื่อตรวจสอบสื่อหรือรายการที่ใช้ความรุนแรงหรือสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชน  รวมถึงให้เข้มงวดนโยบาย/กฎหมายการโฆษณาที่เกินจริง ลงโทษสื่อที่กระทำผิดอย่างจริงจัง

 

หมายเลขบันทึก: 482226เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2012 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท