๒๕๙.การจัดการคุณภาพชีวิต-สุขภาพ


สุขภาพนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญมากเนื่องจาก เป็น ๑ ใน ๓ ปัจจัยที่รัฐไทยต้องรีบเร่งแก้ไขตามแนวคิดของนักรัฐศาสตร์ คือ โง่-จน-เจ็บ คำว่า "โง่" ส่วนมากจะใช้ระบบการศึกษาเข้าไปแก้ไข คำว่า "จน" ต้องกระจายรายได้ สภาวะการมีงานให้ทำ และคำว่า "เจ็บ" หมายถึง รัฐต้องสร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้เกิดและมีขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่นี้

 

๒.

สุขภาพ

 

๑.ข้อเสนอระดับพื้นที่

  1. สนับสนุนให้มีการทำงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น โดยเน้นการใช้ฐานข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมที่มีในชุมชน และการเสริมสร้างศักยภาพให้กับกลุ่มแกนนำเครือข่ายภาคประชาชนต่าง ๆ ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองที่สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของแต่ละกลุ่มประชากรเป้าหมาย

  2. ส่งเสริมให้ อปท. ร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนาระบบสุขภาพที่ดีของชุมชน เช่น จัดทำข้อบัญญัติและมีแผนงานที่สนับสนุนงบประมาณที่ต่อเนื่องในการทำงานด้านสุขภาพให้กับภาคประชาชน การส่งเสริมภาคประชาชนให้เข้าไปร่วมบริหารจัดการกองทุนสุขภาพท้องถิ่น เป็นต้น

  3. สร้างโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อให้มีการดูแลรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุร่วมกับองค์กรต่าง ๆ

  4. ออกมาตรการ การลงโทษที่เป็นระเบียบของชุมชนเพื่อจัดการปัญหาการดื่นมเหล้าในงานพิธีกรรมชุมชน

๒.ข้อเสนอระดับจังหวัด/ภาค

  1. ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคประชาชนระดับจังหวัดและภาคกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ ทั้งในส่วนของผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด/เขต โรงพยาบาลศูนย์/จังหวัด/ชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ฯลฯ และในส่วนของผู้ชื้อบริการคือสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาจังหวัดและเขต เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพให้มีคุณภาพและมาตรฐานการรักษาที่ดี

  2. สนับสนุนให้มีการฟื้นฟูความรู้ การดูแลสุขภาพพื้นบ้านเพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยให้หมอพื้นบ้านในชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลชุมชน

  3. รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยการใช้สารเคมีในการเกษตร และการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยซึ่งจะส่งผลต่อการมีสุขภาพที่ดี

  4. ส่งเสริมให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อเรื่องเอดส์และการคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ให้กับสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐในระดับจังหวัดและท้องถิ่น

  5. ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลไกการเฝ้าระวัง และติตามการละเมิดสิทธิเอดส์ที่เป็นความร่วมมือระหวางหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายของภาคประชาชนร่วมกันในกลไกนี้

๓.ข้อเสนอระดับนโยบาย

  1. พัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยที่มีระบบหลัก ๓ ระบบคือระบบหลักประกันสุขภาพ ระบบสุขภาพของผู้ประกันตน และระบบสุขภาพของกลุ่มข้าราชการ ได้มีคุณภาพในการรักษาที่มีมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกันในทุกกลุ่มประชากร

  2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยบริการทั้งของรัฐและเอกชนลดการเลือกปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ให้เหมือนกับประชาชนทั่วไป

  3. สร้างกลไกควบคุม รวมทั้งกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนการเข้าและการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  4. ควรสนับสนุนให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนและเครือข่ายประชาสังคม ได้มีความร่วมมือในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและแผนปฏิบัติการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ รวมทั้งการเฝ้าระวัง ติดตามการละเมิดสิทธิด้านเอดส์ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 481956เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2012 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท