กิจกรรมบำบัด กับชุมชนแออัด


ชุมชนแออัดมีบ้านเรือน ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น และแออัด การมีผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมาก จึงทำให้ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพไม่ถูกสุขลักษณะ งทำให้ชุมชนมีปัญหาทั้งทางด้านสุขภาพอนามัย มลภาวะสิ่งแวดล้อม รวมถึงอาชญากรรม และการขาดโอกาสสิทธิในการรับบริการทางสังคม เราควรฟื้นฟูอย่างไรให้ชุมชนแออัดมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข

ชุมชนแออัด กับคุณภาพชีวิต

 กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับชุมชนแออัดว่า “สภาพ เคหะสถานหรือบริเวณที่พักอาศัย ที่ประกอบด้วยอาคารเก่าแก่ชํารุดทรุดโทรม มีบริเวณที่สกปรกรกรุงรัง ประชาชนอยู่กันอย่างแออัดผิดสุขลักษณะ ต่ำกว่ามาตรฐานสมควร จนไม่อาจอยู่แบบครอบครัวตามปกติวิสัยมนุษย์ ทําให้ไม่ปลอดภัยในด้านสุขวิทยาและอนามัย”

สาเหตุ เกิดได้ 2 กรณี คือ

-          การอพยพเข้าตัวเมือง เพื่อเข้ามาทำมาหากิน

-          การขาดแคลนที่อยู่อาศัย ซึ่งอาจเป็นผลจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และฐานะทางครอบครัว

ลักษณะ

            มีบ้านเรือน ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น และแออัด การมีผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมาก จึงทำให้ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพไม่ถูกสุขลักษณะ บ้านเรือนชำรุดทรุดโทรม ผู้อยู่อาศัยแต่ละคนก็ประกอบอาชีพการทำงานที่หลากหลาย แตกต่างกันไป จึงทำให้ชุมชนมีปัญหาทั้งทางด้านสุขภาพอนามัย มลภาวะสิ่งแวดล้อม รวมถึงอาชญากรรม และการขาดโอกาสสิทธิในการรับบริการทางสังคม

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ครอบครัว – ไม่มีเวลาให้กัน ต่างคนต่างทำมาหากิน และทำบทบาทหน้าที่ของตน

ชุมชน และสังคม – ต่างคนต่างอยู่ และทำมาหากิน ทำให้มันมีความสัมพันธ์กันเท่าที่ควร

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

ประเมินผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัดโดยใช้ กรอบอ้างอิง PEOP
P (Person) : ประเมินสภาพร่างกายของคนในชุมชนแต่ละคน เพื่อศึกษาว่ามีปัญหาใดที่ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน  โดยจะเน้นที่บุคคลต่างที่เสี่ยงต่อการมีสุขภาวะที่เป็นอันตราย เช่น คนชรา เด็ก ผู้บกพร่องทางด้านร่างกาย ผู้ป่วยทางจิตเวช เป็นต้น

E (Environment) : สภาพแวดล้อมของชุมชน บ้านเรือน มีความน่าอยู่ และปลอดภัยดีหรือไม่ รวมทั้งปัญหาขยะในชุมชน ในแม่น้ำลำธารเน่าเสียหรือไม่ ปัญหาการเกิดอาชญากรรม และมลพิษทางอากาศ และเสียง
O (Occupation) : กิจกรรมการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนมีความเหมาะสมในการดำเนินชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ
P (Performance) : ความสามารถในการรวมตัวกันเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและสามัคคี การพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น รวมถึงการสร้างอาชีพที่ดีให้คนในชุมชน ให้โอกาสผู้ที่หลงผิดในชุมชนกลับตัวเป็นคนดี โดยการสร้างโครงการต่างๆในชุมชนขึ้นเพื่อให้โอกาสบุคคลเหล่านั้น

            หลังจากประเมินแล้วนักกิจกรรมบำบัดก็ปรับสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เหมาะสมกับสุขภาวะที่ดีโดยทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำบ้านเรือนให้มั่นคง แข็งแรง และสะดวกในการสัญจรไปมา ติดป้ายเตือนในเขตที่จะเกิดอันตรายกับเด็ก คนชรา หรือผู้พิการได้ ส่งเสริมการทำกิจวัตรประจำวัน ให้คนในสังคมสามารถช่วยเหลือตนเองได้ และมีส่วนร่วมในสังคมโดยการจัดตั้งโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง รวมไปถึงการขอสิทธิ์ในการรับบริการในสังคมอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียมจากรัฐบาล ช่วยกันดูแลสอดส่องคนในชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอาชญากรรม และปัญหายาเสพติด เมื่อแนะนำ และฟื้นฟูแล้ว ก็มาประเมินซ้ำอีกครั้ง เพื่อที่จะได้ตั้งเป้าหมายการฟื้นฟูของชุมชนให้ดีขึ้น รวมไปถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และความสุขของคนในชุมชนแออัด



 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 481761เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2012 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท