กิจกรรมบำบัด กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)


โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เมื่อข้ออักเสบเป็นเวลานานข้อจะถูกทำลาย ทำให้ข้อผิดรูป และเกิดความพิการตามมาได้ การคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นการคงสภาพการทำกิจกรรม บทบาททางสังคม และมีส่วนร่วมต่อบุคคลรอบข้าง โดยหากิจกรรมที่มีความหมาย เป้าหมาย และคุณค่าแก่ผู้เป็นโรครูมาตอยด์ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และจะทำให้ผู้รับบริการรู้สึกมีความสุข

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid)

            เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง มีการอักเสบที่ข้อต่อในร่างกายหลายๆข้อพร้อมๆกัน การอักเสบจะทำให้ข้อต่อผิดรูป และเกิดความผิดปกติของรูปร่างตามมาได้ โรครูมาตอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกๆช่วงวัย ส่วนมากจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยวัยกลางคน และเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุ

-          พันธุกรรม

-          การติดเชื้อ

-          ฮอร์โมนเพศ

-          ภูมิต้านทาน

-          สิ่งแวดล้อม

 

ลักษณะอาการที่สำคัญ

          มีข้อต่ออักเสบหลายๆข้อพร้อมกัน มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด หลอดเลือดอักเสบ เยื้อหุ้มปอด และหัวใจอักเสบ ปากแห้ง ตาแห้ง ชาบริเวณฝ่ามือ

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

          ประเมินเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อผู้เป็นโรครูมาตอยด์ โดยใช้กรอบอ้างอิง ซึ่งสามารถใช้ได้หลายกรอบดังนี้

-          กรอบอ้างอิง ICF

การเป็นโรครูมาตอยด์ทำให้มีความบกพร่องทางสรีรของข้อต่อทำให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อมีประสิทธิภาพที่ลดลง มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ  เช่น นิ้วมือมีการผิดรูป ทำให้ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การอาบน้ำ แต่งตัว รับประทานอาหาร และอื่นๆ การปรับสิ่งแวดล้อม และปรับอุปกรณ์เสริม รวมไปถึงทำกิจกรรมที่สงวนพลังงาน หรือลดขั้นตอนลง ก็จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการทำกิจกรรม  และมีส่วนร่วมในสังคมดีขึ้นได้

-          กรอบอ้างอิง Biopsychosocial model(BPS)

ปัจจัยทางชีวภาพ – ซึ่งเกี่ยวกับปัจจัยทางด้านร่างกาย คือความบกพร่องในข้อต่อที่ผิดรูปไป รวมไปถึงลักษณะอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

ปัจจัยทางจิตใจ – คือสภาพทั้งความคิด ความรู้สึก และอารมณ์ของผู้เป็นโรครูมาตอยด์ว่าสามารถยอมรับ รู้ และเข้าใจในสภาวะของโรคนี้ได้ดีหรือไม่

ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม – ได้แก่ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมประเพณีต่างๆในท้องถิ่น ผู้ป่วยจะยังสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่

-          กรอบอ้างอิง PEOE

Person: มีความผิดปกติของข้อต่อหรืออาจมีอาการผิดรูปของกระดูก

Environment: ครอบครัว สังคมบุคคลรอบข้าง สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวผู้ป่วย

Occupational: การทำกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อต่างๆอาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากการผิดปกติของข้อต่อ

Performance: ต้องดูความสามารถของเขา เช่น เขาสามารถหยิบจับสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ได้ แต่ขนาดเล็กยังหยิบได้ไม่ค่อยดีนัก

 

จากนั้นก็ทำการรักษาข้อต่อให้มีช่วงการเคลื่อนไหวในระยะที่ทำกิจกรรมได้ อาจทำ Splint ที่ช่วยทั้งป้องกันข้อติด และช่วยเสริมความสามารถในการทำกิจกรรม ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในบริบทที่เหมาะสมกับผู้เป็นโรครูมาตอยด์ สิ่งของสามารถหยิบจับได้สะดวก และอาจหาอุปกรณ์เสริมในการหยิบจับ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นควรสร้างบทบาททางสังคม และมีส่วนร่วมต่อบุคคลรอบข้าง โดยหากิจกรรมที่มีความหมาย เป้าหมาย และคุณค่าแก่ผู้เป็นโรครูมาตอยด์ เมื่อทำการฟื้นฟู และปรับศักยภาพแล้ว ก็กลับมาประเมินซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมบำบัด เพื่อพัฒนาการฟื้นฟู เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และจะทำให้ผู้รับบริการรู้สึกมีความสุขด้วย

หมายเลขบันทึก: 481754เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2012 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท