เด็กไทยเรียนหนักจนกระอักวิชาการ (สมองล้าเพราะเนื้อหาแบบขยะเต็มสมอง)


....................

ทั้งจากประสบการณ์การเป็นนักเรียน (ทั้งบ้านนอกและเมือง)

ประสบการณ์การเป็นครูผู้สอน (บ้านนอก)

ประสบการณ์การเป็นผู้บริหารสถานศึกษา (บ้านนอก)

ทั้งการศึกษางานวิจัย งานเขียน งานประชุมทางวิชาการ

ทั้งการอ่าน-การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คนในสังคม

ไล่ดะมาตั้งแต่ชาวบ้านร้านช่องธรรมดาๆ นักการศึกษาทั่วไป  กระทั่งถึงปราชญเมธีของแผ่นดิน ฯลฯ

 

ครูวุฒิสรุปได้โดยไร้ความกังขาว่า

"เด็กไทยเรียนหนัก" หนักทั้งเนื้อหาสาระ, วิธีการ และระยะเวลาเรียน

แต่ "ด้อยคุณภาพ" ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมอง

ซึ่งครูวุฒิวิเคราะห์ว่า...

น่าจะเกิดจากการที่ "การศึกษาไทยยัดขยะใส่สมองเด็ก" เร็วเกินไป

ทั้งๆที่ในระยะช่วงวัยอนุบาล - ประถมศึกษา

น่าจะเป็นช่วงวัยแห่งการต่อเติมเสริมพลังและศักยภาพทั้งทางกาย จิตใจ และสมอง

ด้วยเทคนิควิธีการกระตุ้น กล่อมเกลาและเร่งเร้าด้วยกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์

แต่การศึกษาไทยกลับ "ยัด" เนื้อหาให้เด็กไทย "จำ-จิ้ม" แข่งกัน

พร้อมตัดสินคนที่จำได้และจิ้มถูกมากๆว่า "เด็กเก่ง"

ส่วนเด็กที่จำได้น้อยและจิ้มถูกน้อยว่า "เด็กโง่"

ประเทศไทยเลยมีแต่ "เด็กโง่" เต็มประเทศ

เพราะนักการศึกษาไทยผู้ออกแบบหลักสูตร

ไม่เคยเคารพสิทธิและให้เกียรติกับความสามารถของเด็กทางด้านอื่น

หนำซ้ำยังรังเกียจความสามารถทางสร้างสรรค์ในหลายๆด้านของเด็กซะด้วยซ้ำ

จึงออกแบบหลักสูตรออกมาให้เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นความรู้เก่าๆที่ไม่ทันยุค

สำหรับให้ครูนามาบอกต่อให้นักเรียน "จดลงในสมุด" และ "จำใส่สมอง"

เสร็จแล้วก็นำไปจิ้มข้อ ก ข ค ง จ ให้ตรงรูที่ครูหรือคอมพิวเตอร์จะตรวจว่า "จิ้มถูก"

จิ้มถูกมาก ถูกบ้างไม่ถูกบ้าง หรือถูกน้อย

นักการศึกษาไทยก็กำหนดให้ครูรับตัดสินลงในแบบ ปพ. (หรือ Transcrips) เป็นหลักฐานทันที

ซึ่งเป็นได้ทั้งประจาน (คนที่จิ้มถูกน้อย) และเชิดชู(คนที่จิ้มถูกมาก)

และท้ายที่สุด

คนที่จิ้มถูกมากๆตลอดเส้นทางการเรียนและการสอบเลื่อนระดับหว่างทำงานน่ะแหละ

ที่มักจะกลายเป็นผู้โกงหรือคอรัปชั่นมากที่สุด

เห็นๆกันอยู่ใช่หรือไม่ครับท่าน

,,,,,,,,,,,,,,,,,,

พี่น้องทุกท่านครับ

ทั้งๆที่เราวิพากษ์วิจารณ์กันมานานนมว่า

"เด็กไทยแบกตำราเรียนจนหลังโก่ง"

เรียนหนักก่อนวัยอัยควรจนอ่อนล้า จนเป็นเหตุให้เบื่อการเรียน(ในห้องเรียน)

เบื่อแม้แต่การอ่าน ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้และคุณภาพของมนุษย์อันสำคัญ

แต่วงการศึกษาไทยก็ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเอาจริง

หนำซ้ำกลับสร้างระบบ มาตรการ และวิธีการ

พร้อมหน่วยงานองค์กรขึ้นมาสร้างภาระให้ครูและเด็กเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก

ซึ่งเป็นเหตุให้ครูต้องเร่งรัดเร่งเร้าให้เด็ก "จำ-จิ้ม" ให้ถูกมากๆขึ้น

เคี่ยวหนักกันแบบมีงบประมาณสนับสนุนพิเศษ ครูไม่ทำไม่ได้

มีระบบตรวจสอบและติดตามกันอย่างจริงจัง

จันทร์-ศุกร์แล้วยังไม่พอ ยังต่อด้วยเสาร์-อาทิตย์กันอีก

ล้าหรือไม่ล้า เหนื่อยหรือไม่เหนื่อยก็คิดกันเอาเอง ครับพี่น้อง....

...................

ต่อไปนี้

เป็นเสียงของคนนอก ทั้งนักวิชาการ (ผ่านงานวิจัย) และสื่อมวลชน (ผ่านประสบการณ์) ที่มองการศึกษาไทย

ที่ครูวุฒิเก็บมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดการศึกษาในความรับผิดชอบ

สนใจลองคลิกที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ

๑. การประชุมทางวิชาการประจำปี ๒๕๕๔ ของ TDRI

๒. มุมมองของคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (ผ่านการสัมภาษณ์ของนิตยสารแพรว)

๓.ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม ๑.

๔. ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม ๒.

๕. ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม ๓

และหากท่านมีความคิดเห็หรือข้อเสนอแนะใดเพื่อการพัฒนาการศึกษาไทย

ก็อย่าได้รีรอ ขอความกรุณาชี้แนะได้เลยครับ

...................

ขอบคุณภาพจาก  http://blog.eduzones.com/racchachoengsao/88413

และ  http://www.buriramguide.com/

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาไทย
หมายเลขบันทึก: 481226เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2012 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท