การจัดการระบบสุขภาพชุมชน


การประเมินผล

Topic:   1. Program and project management

2. Evaluation as a management tool            

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                การติดตามประเมินผล เป็น หัวใจสำคัญของการพัฒนางาน และเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานโครงการ  ซึ่งเป็นการวัดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ  การรวมรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะตัดสินใจในการวางแผนในอนาคต หรือเกิดการปรับเปลี่ยน ต้องมีการประเมินทั้งภายใน ภายนอก  และคำนึงถึงผู้ใช้ผลการประเมิน ซึ่งผลการประเมินที่ออกมาแล้วจะนำไปปรับเปลี่ยนแก้ไข  ต้องมี stekeholder เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน                

                ความแตกต่างในการประเมินผลของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนคือ รัฐจะคำนึงถึงการผลิตสินค้าและบริการเป็นหลัก ไม่ได้เน้นเรื่องการตลาดเหมือนหน่วยงานเอกชน

                ลิขิตสมดุล ( Balanced Scorecard ) เป็นการประเมินโดยมุมมอง 4 ด้าน คือ

  1. มุมมองด้านการเงิน/การบรรลุพันธกิจ
  2. มุมมองด้านลูกค้า
  3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน
  4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต

 

                ส่วนกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการส่วนราชการ (กพร.) มี 4 มิติ คือ

  1. มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ
  2. มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ
  3. มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
  4. มิติด้านการพัฒนาองค์กร

สิ่งที่อยากจะทำ

                วางแผนการประเมินและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และดึงภาคีที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล

เรื่องราวดีๆที่ได้ไปพบเห็น

                การสำรวจความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิประโยชน์  ความพึงพอใจ  พฤติกรรมการรับข่าวสาร  ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน ประจำปี 2554  มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการรับรู้เรื่องสิทธิประโยชน์  ความพึงพอใจ  พฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสาร  ความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,933 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ  44.44  เป็นตัวแทนจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นที่สมัครใจตอบแบบสำรวจแล้วส่งกลับมาทางไปรษณีย์   โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการและสัดส่วนการตอบกลับดังนี้   นายก อบต.หรือเทศมนตรี (15.3%)  ปลัดอบต.หรือเทศบาล (15.7%)  สมาชิกอบต.หรือเทศบาล(18.6%)  ผู้แทนหน่วยบริการ (13.5%)   ผู้แทน อสม. (17.4%)  และ ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน (19.5%)  ในพื้นที่ 7 จังหวัดอีสานตอนบน  ได้แก่  จังหวัดเลย  หนองบัวลำภู  อุดรธานี หนองคาย สกลนคร นครพนม และบึงกาฬ  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามสำรวจทางไปรษณีย์   ขอความร่วมมือคณะกรรมการกองทุนฯ ทุกแห่งตอบแบบถอบถามแล้วส่งมากลับมายังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ชาติ เขต 8 อุดรธานี  ทางแบบตอบรับโดยไม่เสียค่าจัดส่งไปรษณีย์  ดำเนินเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2554   ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป  SPSS for Windows   ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

               

 

คำสำคัญ (Tags): #การประเมินผล
หมายเลขบันทึก: 480964เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2012 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท