การจัดการสุขภาพชุมชน


สื่อ,social network

Topic:         1. Use of mass media in health development

                   2. Health information management      

วันที่ 28 มกราคม 2555

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          การใช้สื่อเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ ปัจจุบันมีหลายช่องทาง  เช่น สื่อโฆษณา  สื่อวิทยุ  โปสเตอร์แผ่นพับ  เอกสาร วารสาร  การสอนสุขศึกษาเป็นกลุ่ม  แล้วยังรวมถึง social network         ฯลฯ การใช้สื่อจะต้องรู้ สถานการณ์ด้านสุขภาพ  ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพ  วัตถุประสงค์ในการนำเสนอสื่อ  รู้ตัวเอง เช่น งบประมาณ  อาจใช้สื่อหลายวิธีรวมกันได้ และจะต้องมีการประเมินผล  ซึ่งการใช้สื่อแต่ละวิธี ก็จะมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไป  ตัวอย่างการนำเสนอสื่อ “งดเหล้า เข้าพรรษ” ผ่านโฆษณาทางทีวี  และโปสเตอร์  เป็นการยึดหลักคำสอนเรื่องศีล 5 ของพระพุทธศาสนา  ซึ่งทำให้พุทธศาสนิกชนตระหนักในเรื่องนี้ ซึ่งสื่อมีผลกับการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้  ถ้ามีการสื่อสารประชาสัมพันธ์น้อยประชาชนก็อาจได้รับข้อมูลไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจ

          ข้อมูลด้านสุขภาพ อาจจะจัดหมวดหมู่เป็น   ข้อมูลที่ว่าด้วยปัญหาและข้อมูลที่ว่าด้วยการแก้ปัญหา    หรืออาจเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อมูลเชิงปริมาณ   ข้อมูลด้านสุขภาพหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน  เช่น การป่วยเป็นเอดส์ ข้อมูลด้านหนึ่งบอกว่าเกิดจากการติดเชี้อไวรัส HIV  แต่อีกด้านบอกว่า  การป่วยเป็นเอดส์เกิดจากการได้รับสารเคมีจากการรับประทานยาด้วยส่วนหนึ่ง  แต่สื่อประชาสัมพันธ์ที่ให้ข้อมูลด้านสุขภาพจะบอกว่าโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV จะต้องรับประทานยาต้าน HIV เพื่อไม่ให้ป่วย  ทำให้เห็นว่าสื่อประชาสัมพันธ์มีความสำคัญอย่างมากที่มีผลกับความเชื่อและมีผลถึงการปฏิบัติตัวเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วย     

สิ่งที่อยากจะทำ

  1. ในฐานะผู้รับสื่อ  จะใช้วิจารณาญาณในการรับฟังสื่อต่างๆให้มากขึ้น และอาจรับฟังสื่อจากหลายทางเพื่อประกอบการตัดสินใจเชื่อและปฏิบัติ
  2. ในฐานะเป็นผู้สื่อสาร  ต้องกรองข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อออกไปก่อน เพราะเมื่อสื่อออกไปแล้วผู้รับสื่อเชื่อตามนั้น  จะเปลี่ยนความเชื่อยาก

 

เรื่องราวดีๆที่ได้ไปพบเห็น

สื่อทาง Social Network  เช่น ของ  สสส. ผ่าน Facebook  ซึ่งจะโพสต์ข้อความด้านการดูแลสุขภาพและมีภาพสวยๆประกอบดูแล้วสบายตาสบายใจน่าอ่านเหมือนเป็นเกร็ดความรู้    สปสช.เขต 8 อุดรธานี  ทำวารสารสานฝัน ที่นอกจากจะส่งเป็นเล่มไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังนำวารสารนั้นทำเป็น E-book ขึ้นหน้า Website เป็นการปรับช่องทางการทำสื่อที่หลากหลายขึ้นและเหมาะกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน  ที่หันมาใช้ Social Network มากขึ้น  ลดการใช้งบประมาณในการพิมพ์วารสาร  แต่ต้องมีการประเมินตามมา

 

คำสำคัญ (Tags): #mass media
หมายเลขบันทึก: 480962เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2012 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท