กิจกรรมบำบัดกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)


โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและบทบาทนักกิจกรรมบำบัด

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD)

โรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างช้า ๆ จนกระทั่งมีการตีบแคบลงอย่างเรื้อรัง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่, เคยเป็นวัณโรคมาก่อน, การติดเชื้อ HIV ร่วมกับการสูบบุหรี่, การใช้ถ่าน ฟืน, สูดดมมลพิษ หรือจากพันธุกรรม ถุงลมและหลอดลมจะเสียความยืดหยุ่น ทำให้ลมที่จะเข้าปอดน้อยกว่าปกติ เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดน้อยลง

อาการ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ เมื่อเป็นมากขึ้น อาการก็จะแสดงชัดขึ้น โดยอาการสำคัญที่พบบ่อยๆ ได้แก่ หายใจลำบาก หอบ เหนื่อย และหายใจมีเสียงวี้ด

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

จากอาการดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพของผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันได้ลง, สูญเสียรายได้ เพราะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ, มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง นักกิจกรรมบำบัดต้องประเมินได้แก่

  • ประเมินคุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น เก็บที่นอน ล้างมือ ล้างหน้า แปรงฟัน ตกปลา
  • ประเมินและฝึกทักษะการจัดการตนเอง ผลกระทบของ COPD ต่อทักษะการใช้ชีวิต, การจัดการเวลาและพลังงานในการทำกิจกรรมยามว่างและกิจวัตรประจำวัน, สุขภาวะทางจิต
  • วางแผนการรักษา โดยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดแบบประยุกต์
    • ออกกำลังกายร่างกายส่วนบนโดยการใช้แรงต้าน (resistance exercise)
    • Theraband
    • Active exercise
  • ประเมินซ้ำ
  • Aftercare at home
หมายเลขบันทึก: 480917เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท