กิจกรรมบำบัดกับโรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease)


โรคพาร์กินสันและบทบาทนักกิจกรรมบำบัด


โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

          เป็นโรคทางระบบประสาท มักเกิดกับผู้สูงอายุ คนไทยเรียกว่า โรค  “สั่นสันนิบาต” ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรคที่เรียกว่าการผิดปกติของการการเคลื่อนไหวร่างกาย มีอาการอื่นควบคู่ด้วย ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

อาการ

  • อาการสั่นและอาการเกร็ง
  • อาการเคลื่อนไหวช้า
  • การทรงตัวไม่ดี เดินในท่าผิดปกติ
  • ใบหน้าเฉยเมย น้ำลายสอมุมปาก
  • อื่นๆ เช่น ท้องผูก, ท้อแท้เศร้าซึม, ปวดตามร่างกาย, อ่อนเพลีย, ภาวะสมองเสื่อม, cognitiveลดลง

การรักษา

  • การรักษาทางยา
  • การรักษาทางกายภาพบำบัด  ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในหัวข้อการเคลื่อนไหวที่ถูกต้องและสมส่วน
  • การรักษาโดยการผ่าตัด

การป้องกัน

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • พยายามอย่าเครียด ทำใจให้ผ่อนคลาย
  • เวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ทานวิตามินบำรุงสมองหรืออาหารที่มีวิตามินบีสูง
  • ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ตรวจร่างกายทุกปี

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

  • Self-care
  • Functional communication
  • Mobility
  • Work
  • Play or leisure
  • เน้นเรื่องความปลอดภัยในการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน
  • ให้ความสำคัญของการทำงานประสานกันของตาและมือ
  • ดูปัญหาเรื่องการกลืนลำบาก
  • เลือก, สอนและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
  • ปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม เพิ่มโอกาสในการทำกิจกรรม
  • ปรับกิจกรรมลดความละเอียดของกิจกรรม ลดขั้นตอนการทำกิจกรรมให้สั้นลง
  • แนะนำ จัดหา ให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมที่OTเห็นว่ามีความจำเป็น
  • ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองทั้งแก่ผู้ป่วยและญาติ
  • อุปกรณ์ช่วยเดิน, รถเข็น
  • การใช้น้ำหนักถ่วงในการทำกิจกรรม
  • On screen keyboard
  • การปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เหมาะกับผู้รับบริการ


หมายเลขบันทึก: 480915เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท