กิจกรรมบำบัดกับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)


โรคอัลไซเมอร์และบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) กับโรคอัลไซเมอร์

เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เกิดจากความเสื่อมของการรับรู้เกี่ยวกับความจา ความใส่ใจ ภาษา และการแก้ปัญหา พบมากในผู้สูงอายุ ทาให้มีอาการหลงลืม ใช้ภาษาผิดปกติ มีพฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนไป ซึ่งภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดได้หลายสาเหตุ และมีทั้งสามารถรักษาได้และไม่ได้ โดย Alzheimer’s disease เป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม พบได้บ่อยที่สุด

อาการ

          อาการเริ่มแรกลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆไม่นาน เรื่องเก่าๆในอดีตจะยังดี อาจถามหรือพูดช้าในเรื่องที่เพิ่งพูดไป, วางของแล้วลืม, นึกคำพูดไม่ค่อยออกหรือใช้คำผิดๆแทน (paraphasia), ระยะต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่ายและก้าวร้าว, การตัดสินใจแย่ลง, ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มใหม่ๆได้ ในระยะท้ายๆจะมีอาการไม่รับรู้วันเวลา สถานที่ และบุคคล เกิดปัญหาต่อกิจวัตรประจำวัน (ADLs), การทำงาน (Work), การพักผ่อนนอนหลับ (Rest) การพยากรณ์โรคไม่แน่นอนเพราะในแต่ละรายมีระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน และการแสดงอาการที่ไม่แน่ชัด

การรักษา

  • รักษาสาเหตุที่ตรวจพบ เกิดโรคใดก็รักษาตามโรคนั้นๆ
  • รักษาความจำเสื่อมด้วยยากลุ่มcholinesterase inhibitors และวิตามินอี ชะลออาการโรคบางชนิดได้ ได้ผลดีเมื่อให้ในผู้ที่มีอาการในระยะแรกๆ
  • รักษาปัญหาพฤติกรรมจากโรค

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทาให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัด, การรับประทานยาโดยไม่จาเป็น
  • การฝึกฝนสมองให้คิดบ่อยๆ มีสติจดจ่อในสิ่งต่างๆที่กาลังทำ
  • ออกกาลังกายสม่ำาเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง
  • ตรวจสุขภาพประจาปี หรือถ้ามีโรคประจาตัวต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ
  • พูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อยๆ
  • ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง และลดเรื่องความเครียด

บทบาทนักกิจกรรมบำบัด

นักกิจกรรมบาบัดจะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับตัวบุคค ล(Intrinsic factors, Physiological, Neurobehavioral, Cognitive, Spiritual, Psychological) ฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจให้มี Well-being สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตให้ได้เต็มศักยภาพมากที่สุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทต่อบริบทแวดล้อม (Extrinsic factors) ของผู้ป่วยที่ต้องปรับให้เหมาะกับการใช้ชีวิตในทุกๆด้าน ทั้งการทำกิจวัตรประจาวัน (ADLs) การทำงาน(Work) การเล่น(Play) การพักผ่อน(Rest) การใช้เวลาว่าง(Leisure) รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมของสังคม(Social participation) เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ทั้งนี้ก็ต้องได้รับความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพในการดาเนินการรักษา ทั้งการให้ยา การบาบัดทางจิตสังคม ฯลฯ รวมถึงการเข้าใจและเอาใจใส่ของผู้ดูแลด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 480912เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2013 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท