เจริญชัยรัตนะ
นาย ธีระวัฒน์ หมอวัด เจริญชัยรัตนะ

สมัชชาสุขภาพ


ยุทธศาสตร์ประเด็น การลดละเลิกใช้สารเคมีในชุมชน

สรุปงานส่ง อาจารย์

Assistant Professor Pattapong  Kessomboon

Course;    Health System Management

ชื่อ นายธีระวัฒน์  เจริญชัยรัตนะ  ตำแหน่ง  นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ                                  สังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนสัง  สถานที่ปฏิบัติงาน   สถานีอนามัยบ้านดอน ตำบลปางกู่                      อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

 

ประเด็นที่อยากทำคือ

            “การพัฒนา นโยบายสาธารณะ ด้านสุขภาพ ว่าด้วย การลด ละเลิก ใช้สารเคมีทางการการเกษตรเพื่อสุขภาวะของปวงชน  ในเขตพื้นที่อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู”

 

วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรชั้นนำของจังหวัดในการดูแลสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ภายในปี พ.ศ. 2560   

 

พันธะกิจ;

๑.      ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของตนเองแบบบูรณาการ

๒.      สนับสนุนงานวิชาการ  การวิจัยแบบชาวบ้าน  การพัฒนาองค์ความรู้ ในการจัดการปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน นำสู่นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ

๓.      สนับสนุนให้ชุมชนมีพื้นที่ในการจัดการตนเองด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะของคนในชุมชน

๔.      ส่งเสริมให้ชุมชน ลด ละ เลิก ใช้สารเคมี นิยมใช้สารชีวภาพ เพื่อการเกษตร

๕.      สนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนงบประมาณในหมู่บ้านจัดการตนเองด้านสุขภาพลดละเลิก การใช้สารเคมี นิยมใช้สารชีวภาพ และสามารถผลิตเองได้

๖.      ส่งเสริมจัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาพ โดยชุมชน เพื่อปวงชน

๗.      ส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่เขตการปกครองและประชาชน ร่วมการจัดทำ นโยบายสาธารณะว่าด้วยการ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมี และมีมาตรการทางสังคมในการดูแลสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่

๘.      ส่งเสริมให้โรงเรียนในเขตพื้นที่ในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรท้องถิ่นในการเรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร

๙.      ส่งเสริมให้มีชุมชนต้นแบบในการจัดการสุขภาพด้านการลดละเลิกใช้สารเคมีในพื้นที่ การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อใช้ในครัวเรือน และจำหน่ายในชุมชน

ค่านิยมขององค์กร;

“สุขภาวะของ ประชาชน คือจุดศูนย์กลางในการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ระหว่างหน่วยงานของรัฐ และการเมืองในระดับท้องถิ่น

 

นโยบาย;

๑.      ส่งเสริมให้ชุมชน ลด ละเลิก ปลอดสารเคมีทางการเกษตร หันมาพึ่งพาเกษตรแบบชีวภาพอย่างยั่งยืน

๒.      การพัฒนาพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพ ในชุมชน โดยการจัดตลาดนัดผักปลอดสารพิษในชุมชนทุกๆวันอาทิตย์

๓.      การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการตรวจหาสารเคมีในผักผลไม้ที่ มีอยู่ในชุมชน โดย อสม.เชี่ยวชาญด้านสารเคมี ประจำทุกหมู่บ้าน

๔.      การพัฒนา การตรวจสุขภาพประจำปี โดยการเจาะเลือด เพื่อตรวจหาสารพิษทางการเกษตรในประชาชนทั่วไป อย่างน้อย ปีละ ๑ ครั้ง และกลุ่มเสี่ยง อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

๕.      การพัฒนาเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านการรณรงค์ การลดละเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถาวร พึ่งพาชีวภาพเพิ่มมากขึ้น

๖.      การพัฒนาศักยภาพให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการด้านเกษตรปลอดสารพิษในชุมชน โดยความร่วมมือกับสนับสนุนข้อมูลวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรตำบล สถานีอนามัย พัฒนากรประจำตำบล และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

๗.      การพัฒนาศักยภาพให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณว่าด้วย การ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีในเกษตรกร แบบมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานหลัก  ได้แก่ หน่วยงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรประจำตำบล  หมอดินอาสา  กระทรวงมหาดไทยผ่าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กระทรวงสาธารณสุข ผ่านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) โดยการจัดเวที ประชาคม ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ

๘.      การพัฒนาองค์กรตรวจสอบคุณภาพผักผลไม้ในชุมชน โดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาชุดตรวจหาสารพิษในพืชผักผลไม้ที่มีในชุมชน และชุดตรวจหาสารพิษในเลือดของประชาชน  ให้แก่ อสม. ร่วมมือ กับ เจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัย

๙.      การพัฒนาเรื่องการสื่อสารสาธารณะว่าด้วย การ ลดละเลิก การใช้สารเคมีในชุมชน ให้มีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ผ่านช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อบุคคลต่างๆ

๑๐. ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้ามาส่วนร่วมทุกกระบวนการในการดำเนินการ

เป้าประสงค์ ;

            “ สุขภาวะของคนในชุมชนปลอดภัยจากสารเคมีทางการเกษตรเพื่อการบริโภค และ นิยมพึ่งพาเกษตรชีวภาพแบบอย่างยั่งยืนตลอดไป”

 

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์;

                       

 

 

 

 

 

 

 

การวางแผนและการประเมินผล;

๑.      จัดตั้งคณะทำงานในระดับชุมชน  ระดับอำเภอให้มีความครอบคลุมตามกระบวนการสมัชชาสุขภาพ สัดส่วนการทำงานให้มีความเหมาะสม ภาคการเมือง ภาคนักวิชาการ และภาคประชาชน

๒.      ประชุมคณะทำงานเพื่อการวางแผนในการดำเนินงานตามแนวทางการดำเนินงาน

๓.      การค้นหากลุ่มเสี่ยง พื้นที่สุ่มเสียง สำรวจการใช้สารเคมีในพื้นที่ ให้ครอบคลุมทุกมิติ เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ  เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ในการวางแผนการทำงานร่วมกันในชุมชน

๔.      จัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการสมัชชาสุขภาพเฉพาะว่าด้วยประเด็น การ ลดละเลิกการใช้สารเคมีในชุมชน จำนวน ๕ ครั้ง ใน ๑๐  หมู่บ้าน

๕.      มีการสำรวจความพึงพอใจและความต้องการของประชาชนต่อประเด็นนโยบายสาธารณะ ว่าด้วยการลด ละเลิกใช้สารเคมีในชุมชนพร้อมสรุปผลอย่างเป็นระบบ

๖.      มีหน่วยงานประเมินผลทั้งภายในและภายนอกในชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการทำงาน

๗.      ประชุมถอดบทเรียน  AAR. ของคณะทำงานเพื่อสรุปบทเรียนในการพัฒนาต่อไป

 

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ;

๑.      มีคณะทำงานและทีผู้รับผิดชอบอย่าง ทั้งในระดับอำเภอ  ระดับตำบล ระดับหมู่บ้านอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม   ๓  คณะทำงาน

๒.      มีแผนงานในระดับชุมชน ระดับอำเภอ แบบบูรณาการในด้านการลดละเลิกใช้สารเคมีในชุมชน จำนวน  ๑ โครงการ และ ๑๐ แผนงาน 

๓.      มีนโยบายสาธารณะว่าด้วยการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในชุมชน โดยผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพอย่างเป็นระบบ สามารถมีผลบังคับใช้ในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ 

๔.      มีชุมชนต้นแบบในการจัดการตนเองด้านสุขภาพในเรื่องความปลอดภัยด้านผักและผลไม้ จากการเลิกใช้สารเคมีอย่างน้อย ๑ ชุมชน ภายใน ๒ ปี และครบทุกหมู่บ้าน ในปี ๒๕๖๐

๕.      มีหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องอันตรายจากการใช้สารเคมี ประจำโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๕ โรงเรียนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

๖.      มีเครือข่ายการทำงานด้านสารเคมี ในระดับชุมชน และมีการประสานงานกันร่วมกันอย่างเป็นระบบ

๗.      มีสรุปผลการประเมินโครงการ อย่างเป็นระบบสามารถเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ มีการนำผลการประเมินที่ได้นำไปใช้ในพื้นที่ และขยายผลสู่พื้นที่ที่สนใจได้

คำสำคัญ (Tags): #สมัชชาสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 478990เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2012 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท