กฏการเคลื่อนที่ของนิวตัน


แรง (Force : F) คือ ปริมาณที่พยายามจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของมวล เป็นปริมาณเวกเตอร์มีหน่วยเป็นนิวตัน (Newton : N)

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

1. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่หนึ่งของนิวตัน (Newton’s first law of motion)

“วัตถุจะคงสภาพอยู่นิ่ง หรือคงสภาพการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ นอกจากจะมีแรงลัพธ์ซึ่งมีค่าไม่

เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุนั้น”เมื่อแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับศูนย์ วัตถุจะรักษาสภาพการเคลื่อนที่ กล่าวคือ เดิมวัตถุอยู่สภาพเช่นไร ต่อไปก็จะคงอยู่ในสภาพเช่นนั้น เช่น เดิมวัตถุอยู่นิ่งก็จะรักษาสภาพอยู่นิ่งต่อไป หรือเดิมวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าใดก็จะต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เท่านั้น นั่นคือ คงที่ทั้งขนาดความเร็ว และทิศของความเร็วต้องไม่เปลี่ยน ซึ่งเรียกว่า วัตถุสมดุลต่อการเคลื่อนที่

2. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน (Newton’s second law of motion)

“เมื่อแรงลัพธ์ซึ่งมีค่าไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง โดยทิศของความเร่ง

จะมีทิศเดียวกับทิศของแรงลัพธ์ที่มากระทำต่อวัตถุ ขนาดของความเร่งจะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ เมื่อ

มวลคงที่ และขนาดความเร่งจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ เมื่อแรงลัพธ์คงที่”

3. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตัน (Newton’s third law of motion)

“ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้ามเสมอ”

ข้อควรรู้

1. แรงกิริยา-ปฏิกิริยา มีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้ามเสมอ ไม่ว่าวัตถุจะอยู่นิ่ง หรือ เคลื่อนที่ก็ตาม

2. แรงกิริยา-ปฏิกิริยา ไม่สามารถนำมารวมกัน หรือหาแรงลัพธ์ได้ เนื่องจากแรงทั้งสองกระทำ ต่อวัตถุคนละก้อน

3. แรงกิริยา-ปฏิกิริยา เกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่วัตถุสัมผัสกันหรือไม่สัมผัสก็ได้ เช่น แรงดึงดูดระหว่างมวล,

แรงระหว่างประจุไฟฟ้า, แรงระหว่างขั้วแม่เหล็ก เป็นต้น

กฎการดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน

ในปี พ.ศ. 2230 นิวตัน ได้สร้างกฎเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงขึ้นโดยกล่าวว่า “วัตถุทั้งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน แรงดึงดูดของวัตถุคู่หนึ่งๆ จะแปรผันตรงกับ ผลคูณระหว่างมวลวัตถุทั้งสองและจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสอง”

พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้มาตั้ง2555ปีมาแล้ว(กฎแห่งกรรม)

หมายเลขบันทึก: 478989เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2012 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท