หินแร่ภูเขาไฟ จะช่วยให้ข้าวแข็งแรงต้านทานโรคแมลง ไม่ต้องฉีดพ่นยาบ่อย


พูดแต่ประโยชน์ของหินแร่ภูเขาไฟ บางคนอาจจะสงสัยว่าปูนจะไม่มีดีบ้างเลยหรือ? ในส่วนของปูนนั้นก็ดีและมีประโยชน์อยู่มากครับ

 

หินแร่ภูเขาไฟคือหินที่ผ่านความร้อนมหาศาลใต้พื้นภิภพถูกแรงกดแรงผลักเคลื่อนย้ายถ่ายเทชั้นสูงเปลือกโลกในส่วนที่เบาบาง ถูกแรกผลักดันจนโป่งนูนระเบิดกลายเป็นภูเขาไฟมีลาวาหลั่งไหลทลักทลายออกมา โผล่มาเจอกับชั้นบรรยากาศที่บางเบาเพียงหนึ่งชั้นบรรยากาศ หินหนืดหินลาวาก็ระเบิดแตกตัวบวมพองเหมือนข้าวโพดคั่ว มีรูพรุนเป็นโครงข่ายซับซ้อนช่วยทำหน้าจับตรึงยึดโยงสารต่างในรูปประจุได้ดี มิหนำซ้ำหินเดือดที่โป่งพองเหมือนข้าวโพดคั่วก็สามารถละลายน้ำแตกตัวย่อยสลายตัวเองได้ดีไม่แพ้กันทำให้ได้แร่ธาตุซิลิก้าหรือซิลิสิค แอซิดออกมาเป็นประโยชน์แก่พืชนำไปใช้ในการสร้างความเจริญเติบโตและช่วยทำให้เซลล์พืชแข็งแกร่งต้านทานต่อโรค แมลง เพลี้ย หนอน ไร. ราได้ค่อนข้างดี ดังที่มีข้อมูลรายงานวิจัยระดับโลกที่สามารถค้นหาหรือเสิร์ชได้ทั่วไปจากเว็ปไซด์ (Silicon in agriculture, 1993)
 
หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้มีประโยชน์มากในการเกษตร ประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูกอยู่บนผืนดินที่เป็นหินแร่ภูเขาไฟเก่าอย่างประเทศหญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บาหลีฯลฯ จะมีผลผลิตจากแมกไม้พืชผลเจริญเติบโตงอกงามอุดมสมบูรณ์ หินแร่ภูเขาไฟแตกต่างจากหินปูน หินฝุ่น โดโลไมท์ ฟอสเฟตและยิปซั่ม คือไม่มีความเป็นกรดหรือด่างจัดจึงช่วยทำให้ดินปลอดภัยเมื่อใช้เป็นระยะเวลานานไม่เกิดการสะสมทั้งกรดและด่างเหมือนเราใส่กลุ่มของวัสดุปูน อีกทั้งมีความสามารถในการจับตรึงและแลกเปลี่ยนประจุบวกช่วยให้สามารถจับตรึงทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกช่วยให้พืชไม่บ้าใบเฝือใบ พืชไร่ไม้ผลดูดกินปุ๋ยได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยช่วยให้ประหยัดเงินไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก และจุดเด่นสำคัญคือมีซิลิก้าที่ละลายน้ำได้หรือซิลิสิค แอซิด ซึ่งหินปูนบดทั้งหลายจะไม่มีจึงช่วยทำให้พืชที่ได้ใส่หินแร่ภูเขาไฟจะมีแข็งตั้ง ชันชูสู้แสงไม่โค้งงอโดยเฉพาะต้นข้าวที่ตอบสนองต่อซิลิก้าได้ค่อนข้างดี
 
พูดแต่ประโยชน์ของหินแร่ภูเขาไฟ บางคนอาจจะสงสัยว่าปูนจะไม่มีดีบ้างเลยหรือ? ในส่วนของปูนนั้นก็ดีและมีประโยชน์อยู่มากครับในการแก้ปัญหาดินเป็นกรดดินเปรี้ยวและดินด่างและในกรณีที่พืชขาดแคลเซียม, แมกนีเซียม หรือเราต้องการเตรียมหลุมปลูกโดยประหยัดปุ๋ยฟอสฟอรัสหรือแร่ธาตุแมกนีเซียมก็สามารถหาซือฟอสเฟต โดโลไมท์มาช่วยเสริมเติมเต็มได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังอย่าให้มากเกินไปจนพีเอชของดินต่ำกว่า 5.8 และสูงกว่า 6.3 หรือ 7 มิฉะนั้นจะสะเทิ้นด่าง สะเทิ้นกรดแล้วจะต้องมาแก้ไขปัญหาซ้ำซ้อนไม่จบสิ้นซึ่งกว่าจะกลับคืนมาอยู่ในค่าพีเอชที่เหมาะสมก็ต้องเสียเวลาและเงินทองโดยใช่เหตุ
 
สำหรับนาข้าวนั้นเกษตรกรสามารถใช้กลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟทั้งในรูปแบบเพียวหรือแบบที่ปรับเพิ่มเสริมแต่งคุณภาพให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชโดยเฉพาะก็ได้ก็ได้ (ชื่อการค้า พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) ในอัตรา 20-40 กิโลกรัมต่อไร่จะช่วยทำให้ต้นข้าวแบนเตี้ยไม่ล้มง่าย ใบตั้งชูสู้แสง ไม่บิดเบี้ยวโค้งงอ รับแสงได้เกือบตลอดทั้งวัน ซิลิสิค แอซิดจะช่วยให้ข้าวมีภูมิค้มกันจนตลอดอายุการเก็บเกี่ยว ช่วยลดการฉีดพ่นยารักษาโรคทางใบได้ค่อนข้างมาก สารอาหารจากหินแร่ภูเขาไฟรวมทั้งซิลิสิค. แอซิดจะช่วยเพิ่มน้ำหนักเพ่ิมผลผลิตให้แก่ต้นข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวก็จะได้ผลผลิตที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยได้ไม่ยาก
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
 
 
 


 

 

 
หมายเลขบันทึก: 478607เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012 07:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บ้านชมคลื่น ริมฝั่งทะเลหัวหิน ของราชมงคลวังไกลกังวล 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท