AI in Rehabilitation Medicine


AI เพิ่งจะเริ่มต้นในแวดวงเวชศาสตร์ฟื้นฟู

AI in Rehabilitation Medicine

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2555 ทางราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย ได้เชิญอาจารย์ภิญโญ รัตนาพันธ์

มาจัด AI workshop ให้กับสมาชิกราชวิทยาลัยฯ มีคำถามมากมายว่า AI คืออะไร ไปๆมาๆมีผู้มาร่วมเข้า workshop 21 คน

แนวคิดเบื้องต้น : ในแต่ละเรื่อง แต่ละสิ่ง แต่ละเหตุการณ์มักมีสิ่งดีๆแอบแฝงอยู่ ถ้าเรารู้จักซักถามคำถามดีๆ เราจะได้เรื่องดีๆออกมา บางครั้งอาจคาดไม่ึถึงเลยทีเดียว

    อาจารย์ภิญโญบอกว่า เริ่มมีการนำ AI มาปรับใช้ขยายวงกว้างขึ้นรวมถึงวงการแพทย์ อาจารย์แนะนำหนังสือ AI in Healthcare จาก U. of Virginia คงต้องไปหามาอ่านบ้างแล้ว

    รอบนี้อาจารย์ภิญโญแนะนำว่าถ้าจะทำให้งานของเราเป็นที่รู้จักแพร่หลายต้องมีองค์ประกอบ 3 กลุ่มมาช่วยคือ

    1. Marven คือผู้รู้ลึกในเรื่องนั้นๆ

    2. Connector  ผู้เชื่อมต่อ

    3. Salesman ต้องมีผู้ขายความคิด โน้มน้าวให้เห็นความสำคัญ

อาจารย์แนะนำหนังสืออีกเล่มคือ The Tipping Point หลังจากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่มย่อย ทำ world cafe' กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อยกตัวในเรื่องใกล้ตัวและไกลตัวที่เป็น Marven , Connector , และ Salesman

เสียดายเรามีเวลาแค่ 2 ชั่วโมง หลายๆคนยังมองไม่เห็นแนวคิดนี้และยังไม่เข้าใจเรื่อง AI คงต้องค่อยๆหาตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากขึ้น แต่ทุกคนก็มีความสุขที่มาเข้า workshop นี้ ( จากผลการประเมิน )

     AI เพิ่งจะเริ่มต้นในเวชศาสตร์ฟื้นฟู

หมายเลขบันทึก: 478184เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ยกตัวอย่างคำถามเชิงบวกแนว AI สักเรื่อง เช่นความภูมิใจในการดูแลผู้ป่วยของเราที่นอกเหนือจากการตรวจรักษามีอะไรบ้าง แพทย์ท่านหนึ่งตอบว่าได้ไปงานศพของผูุ้้ป่วยที่ดูแลรักษากันมานานพอควร ถือว่าสนิทสนมกันในระดับหนึ่ง การไปงานศพในครั้งนั้นมีความปิติเกิดขึ้นหลายประการคือตนเองได้ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยท่านนี้จนถึงวาระสุดท้ายจริงๆ ได้ส่งดวงวิญญานของท่านไปสู่สุคติ นอกจากนี้ญาติผู้ป่วยเกิดความประทับใจ เวลามีปัญหาความเจ็บป่วยก็จะมาปรึกษาเหมือนไว้ใจเรา อีกทั้งการไปงานศพครั้งนี้ยังเป็นภาพลักษณ์เชิงบวกที่บุคคลทั่วไปในงานได้มองเห็นโดยที่แพทย์ท่านนั้นบอกว่าไม่ได้สร้างภาพให้ตัวเอง แต่ไปด้วยใจจริงๆ แล้วคุณหล่ะมีตัวอย่างดีๆเชิงบวกมาแบ่งปันกันบ้างสิคะ

สวัสดีท่านดร. AI นำไปใช้ ในวงของชาวบ้าน ได้ประสบการณ์ โค้ชเชิงบวก

คำถามดีๆ มีการค้นพบสิ่งดีๆ

หลายปีที่ผ่านมา ทำเวทีชาวบ้าน มักมุ่งหาจุดอ่อนจุดแข็ง ทำไปทำมาหลายปีจุดอ่อนยิ่งมีมากขึ้น จุดแข็งมักไม่ค่อยเพิ่ม

จากคำถามเดิมๆ มาตั้งคำถามถึงสิ่งดีที่ภาคภูมิใจ....เกิดการค้นพบจุดแข็งมากมายจากคำถามถึงสิ่งดี จึงนำจุดนี้ไปวางแผนพัฒนาชุมชน

ขอบคุณค่ะคุณวอญ่า ช่วยกันแบ่งปันคำถามเชิงบวกกันมากๆนะคะ เพราะหลายคนยังไม่เข้าใจว่าถามเชิงบวกแล้วได้อะไร วันนี้ขอแชร์ตัวอย่างอีกคำถาม คือเพิ่งจะตรวจผู้ป่วยปวดคอและหลังเรื้อรังมาหลายปี ลักษณะงานเครียดมาก ได้แนะนำวิธีการช่วยเหลือตนเองขณะทำงานเพื่อบั่นท่อนความเจ็บปวดลงไปบ้าง อาทิ เช่น ลุกจากที่นั่งเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ฝึกหายใจลึกและช้า ทำสมาธิ ใส่ปลอกคอชนิดอ่อน เป็นต้น ผู้ป่วยก็พยายามปฏิบัติหลายรูปแบบจนบรรเทาอาการปวดลงได้ถึงร้อยละ 60-70 แล้ว

คำถามวันนี้คือเวลาคุณเครียดกับงานแล้วปวดคอขึ้นมาอย่างกระทันหัน คุณใช้วิธีการไหนในการลดความปวดได้ดีที่สุด ผู้ป่วยเล่าว่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยได้มาก รองลงมาก็เป็นวิธีการฝึกหายใจ เห็นมั๊ยคะที่จริงผู้ป่วยก็สามารถช่วยตนเองได้ระดับหนึ่งแล้ว เพียงแต่ต้องการความมั่นใจจากแพทย์บ้างและรู้สึกดีใจที่ตนเองเริ่มจัดการปัญหาเรื่องปวดเรื้อรังด้วยตนเองบ้างแล้ว แพทย์เราก็ช่วย empower ต่อ จนระยะหลังแทบจะเลิกคุยเรื่องทางลบไปเลยค่ะ

บ่ายนี้ได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์ภิญโญว่าหาทุนลงทะเบียน AI Summit in Thailand ให้ได้แล้ว รู้สึกดีใจมากมาย จะไปเข้าอบรมในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ จากใจจริง

วันนี้ได้เข้าร่วมประชุม AI Summit in Thailand 2012 บรรยายและ workshop โดย David Cooperrider PhD. เข้าใจว่า positive psychology กำลังนำขบวนในศตวรรษที่ 21 นี้ ในเกือบทุกๆวงการ รูปแบบวันนี้เป็นการบรรยายสลับกับการจับคู่กับคนนั่งข้างๆถกประเด็น เช่คุยกันว่ามีเหตุการอะไรในที่ทำงานที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ลองยกตัวอย่างสัก 3 ข้อว่าอะไรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นต้น

ที่จริงหลายๆอย่างในกิจกรรม KM ก็ทำแบบนี้อยู่แล้ว เช่นการทำ dialoague , deep listening

ทางการแพทย์ placebo ก็เป็น positive psychology แบบนึง เพียงแต่ว่าการนำมาใช้ยังถกเถียงกันว่าผิดจรรยาบรรณหรือไม่ แต่โดยความเห็นส่วนตัวถ้านำมาใช้ใน chronic pain หรือ cancer pain ก็น่าจะทำได้ ถือคติว่าอะไรที่ทำให้คนไข้รู้สึกดีและพอใจ ก็จงทำไปเถอะ

ขอขอบคุณ คุณแก้วค่ะที่แบ่งปันประสบการณ์ดีๆแบบนี้ กลาง มิย นี้จะไปทำ Cardiac Rehab Workshop ที่ขอนแก่น จะได้เจอคุณแก้วมั๊ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท