การสื่อสารมวลชนและการประเมินผลโครงการ


การสื่อสารมวลชน

 

การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารระหว่างองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชน ทำการสื่อสาร หรือเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนจำนวนมาก โดยอาศัยเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เสียงตามสาย  รถเร่  อีเว้น  ใบปลิว   ป้ายคัดเอาท์  โปสเตอร์  สื่อมวลชน มีบทบาทหน้าที่ในการให้ข่าวสาร เสนอความคิดเห็น ให้ความบันเทิง ให้การศึกษาแก่ประชาชน และเป็นช่องทางสำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชนแต่ละประเภท มีคุณสมบัติแตกต่างกันในด้านต่างๆ คือ ด้านความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ โอกาสในการให้ประชาชนได้รับข่าวสาร ช่องทางรับรู้ ปริมาณความสมบูรณ์ของเนื้อหา ความคงทนถาวร และการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์ประกอบของการสื่อสารมวลชน ได้แก่ องค์กรสื่อมวลชน นักสื่อสารมวลชน ข่าวสาร สื่อ ผู้รับข่าวสาร สถาบันควบคุม และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารมวลชน

 

การประเมินผลโครงการคือกระบวนการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อสรุปผลว่าโครงการนั้น ๆ ได้บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และมีประสิทธิภาพเพียงใด  คุ้มค่าต่อการตัดสินใจในการดำเนินการหรือไม่ รวมถึงการดำเนินการโครงการมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขในเรื่องอะไรบ้าง และเป็นโครงการที่มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด  สิ่งที่ประเมินคือ  ผลงาน  ประสิทธิภาพ  ผลกระทบ

ประเภทของการประเมินโครงการ

การประเมินโครงการก่อนดำเนินการ (preliminary evaluation)  ศึกษาประเมินความเป็นไปได้ก่อนที่เริ่มโครงการใด ๆ ประเมินประสิทธิภาพ   ปัญหาอุปสรรค ผลกระทบเพื่อตัดสินใจว่าจะทำต่อไปหรือไม่

การประเมินระหว่างดำเนินการโครงการ (formative evaluation)  เป็นการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงเป็นสำคัญจะช่วยตั้งวัตถุประสงค์ของโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่แท้จริงช่วยตรวจสอบว่า โครงการได้ดำเนินไปตามแผนของโครงการอย่างไรตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการว่าดำเนินได้ผลเพียงไร

การประเมินเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือประเมินผลผลิต (summative evaluation)

 เป็นการประเมินผลรวมสรุปผลสรุปที่ได้จะนำสู่การรายงานว่า โครงการได้บรรลุเป้าหมาย (goals)  หรือไม่ อย่างไร ตลอดจนการรายงานถึงสถานภาพของโครงการว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวเพียงไร  มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถนำไปสู่การตัดสินว่า โครงการนั้นควรดำเนินการต่อหรือยกเลิก

รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) เป็นการประเมินภาพรวมของโครงการ ตั้งแต่บริบท ปัจจัยป้อน กระบวนการ และผลผลิต (Context, Input, Process and Product)

การประเมินด้านบริบท  (context evaluation)  เป็นการศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่นำไปสู่การพัฒนาเป้าหมายของโครงการ ได้แก่ บริบทของสภาพแวดล้อม  นโยบาย วิสัยทัศน์ ปัญหา แหล่งทุน สภาพความผันผวนทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนแนวโน้มการก่อตัวของปัญหาที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการ เป็นต้น

การประเมินปัจจัยป้อน (input evaluation) เพื่อต้นหาประสิทธิภาพขององค์ประกอบที่นำมาเป็นปัจจัยป้อน

  การประเมินกระบวนการ (process evaluation) เป็นการศึกษาต่อจากการประเมินบริบทและปัจจัยป้อนว่า กระบวนการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เป็นการศึกษาค้นหาข้อบกพร่อง  จุดอ่อน หรือจุดแข็งของกระบวนการบริหารจัดการโครงการที่จะนำโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

การประเมินผลิตผล (product evaluation) เป็นการตรวจสอบประสิทธิผลของโครงการ โดยเฉพาะความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับผลลัพธ์ที่ได้แล้วนำเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปตัดสิน

มาตรฐานของการประเมิน

 มาตรฐานการใช้ประโยชน์ (Utility Standards)   ความเป็นประโยชน์ของผลการประเมิน

มาตรฐานความเป็นไปได้ (Feasibility Standards)  ความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เหมาะสมกับสถานการณ์ปฏิบัติได้ ยอมรับได้ ประหยัดและคุ้มค่า

มาตรฐานความเหมาะสม (Propriety Standards) ประเมินได้อย่างเหมาะสมตามกฎ ระเบียบ จรรยาบรรณ

 มาตรฐานความถูกต้อง (Accuracy Standard    มีการใช้เทคนิคที่เหมาะสมถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้

Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล การการดำเนินงานขององค์การจากการที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมายและกิจกรรม  4 ด้าน ได้แก่ มุมมองด้านการเงิน   มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านกระบวนการภายใน    มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา

ข้อดีของ Balanced Scorecard   ทำให้มองครบเห็นความเชื่อมโยงทุกระดับ

 

สิ่งที่อยากจะทำ

การนำความรู้ทุกๆอย่างที่ได้รับไปถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานหรือคนใกล้ชิดได้รับรู้เพื่อให้เขาจะได้นำไปปฏิบัติและเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพให้ดีขึ้น

เรื่องราวดีๆที่ได้พบเห็น

เรื่องราวและวิดิโอต่างๆที่อาจารย์นำมาให้ศึกษาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าที่ต้องนำไปใช้ในชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้เป็นอย่างดียิ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 478178เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท