ท่านผู้ทรงเกียรติความรวยกับความจน อย่าไปคุ้นเคย จะเป็นทุกข์


ความจนจะทำให้คนสู้ชีวิต ความรวยจะคิดแต่เอากำไร

      ร่ำรวยความจน  ไม่มีวันมีทุกข์

       ตั้งแต่เล็กเริ่มจำความได้  ผมโชคดีที่ไม่เคยได้ยินคำว่าจนและรวยจากปากของพ่อและแม่เลยแต่สักครั้ง

       พอจบ ประถมสี่ คุณครูที่สอนประจำชั้น   (คุณครูชื่น  บัวคีรี) ก็แนะนำกับพ่อแม่ผมให้เรียนต่อในเมือง  ครั้งแรกแม่ก็คัดค้าน ด้วยเหตุผลว่าไปเรียนในเมืองแล้วการไปมาจะลำบากเพราะการคมนาคมในตอนนั้นลำบากมาก   แต่ด้วยความหวังดีของคุณครูก็แนะให้อยู่วัด   พ่อกับแม่จึงเห็นด้วย

       ผมก็เลยถูกส่งไปอยู่วัดกับหลวงพ่อในเมือง(วัดศรีสว่างวงศ์ หรือวัดเกาะเสือ) การกินอยู่ผมดีขึ้น  อาหารแปลกใหม่ไม่เหมือนที่ที่เคยกินที่บ้าน  และสามารถเลือกกินสิ่งที่ชอบได้หลากหลายไม่ต้องจ่ายเงิน

        ตอนเช้าก็เดินเท้าไปเรียนหนังสือประมาณ 3  กิโลเมตร  ไปกลับวันละ 6 กิโลเมตร  กลับมาถึงวัดตอนเย็นรีบ ทานเข้า จะได้ไปช่วยงานวัด  การเรียนหนังสือที่วัด  ถูกกำหนดให้เวลา 19.00 น-  20.00น. ทุกคนต้องไปเรียนที่กุฏิหลวงพ่อ  โดยใช้แสงสว่างด้วยตะเกียงเจ้าพายุเพียงดวงเดียว  และบ่อยครั้ง    หลวงพ่อสอนให้ตั้งใจเรียนหนังสือ ตั้งใจให้ฝึกไหว้พระสวดมนต์ ตั้งใจทำความดี  มีกตัญญู  สู้กับความไม่รู้ให้ทะลุสู่การมีปัญญา

       หลวงพ่อไม่เคยสอนเรื่อง  ความรวย   ความจน

       พอเรียนได้มัธยมปีที่สาม(ม.3)  แม่ก็มาด่วนจากไป ผมทราบข่าวก็กราบลาหลวงพ่อจะกลับไปช่วยทำนากับพ่อเพราะพ่อไม่มีอาชีพ   ไม่มีกำลังเงินที่จะสนับสนุนให้ผมเรียนได้  หลวงพ่อบอกให้ผมเงยหน้าขึ้น  และหลวงพ่อก็สาธยาย

       คนที่เรียนหนังสือ  ถือความดี  สามารถมีความคิดหาวิธีที่จะเรียนได้  สำหรับ ค่าใช้จ่ายมื้อกลางวันให้วิธีเอาเอง  แต่ค่าเล่าเรียน  เสื้อผ้า กางเกง หนังสือ สมุด หลวงพ่อจจะช่วยเหลือเอง

       ตอนนั้นผมอายุ  15  ปีกว่า การตัดสินใจก็ยังไม่รอบคอบ   แต่ก็กราบเท้าหลวงพ่อ  เดินไปทำช่วยงานการผสมปูน  ขนปูน  รวมกับพระและเด็กวัดคนอื่น ๆ  ตามที่ต้องทำเป็นประจำหลังจากกลับมาจากโรงเรียน

       โชคดี เพื่อนคนหนึ่ง ชื่อ สมเจตต์ เปรื่องเปรมจิต(ถึงแก่กรรม)และขนบ  บุญทัศโร  ได้ชวนให้ไปพับหนังสือพิมพ์ คือหนังสือพิมพ์ไทยทักษิณ (ปัจุบันปิดกิจการ)แถวถนนรัถการหาดใหญ่ ยืนพับบางคืนเริ่ม 3  ทุ่ม ถึงรุ่งสางกลับไปวัดอาบน้ำไปโรงเรียนทันที  กลางวันตั้งใจเรียนตลอดวันไม่มีหลับในห้องเรียนแม้แต่สักครั้งเดียว

        ผมเรียนเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3(มศ.3)  แล้วหยุดเรียนหนึ่งปี แต่คิดว่ายังไม่ทะลุสู่ปัญญาที่หลวงพ่อวางโจทย์ไว้  จึงไปเรียนต่อ ที่สงขลา ไปกลับทุกวัน ประมาณ 60 กิโลเมตรโดยรถไฟ   ไปเรียนต่อ มัธยมศึกษาปีที่ 4และ 5(มศ.4 -มศ.5)  หลักสูตร เขา 2 ปี  แต่ผมเรียน 4 ปี 2  ปีต่อ 1ชั้น  สอบไม่ผ่านที่จะเลื่อนชั้นได้  สอบตกไงละครับ  4 ปีที่ผมเรียน ผมใช้ชุดนักเรียนชุดเดียว   หลวงพ่อบอกว่า การแต่งกายอย่าอายใคร สอบตกก็อย่าอายใคร ขอให้ได้ปัญญาไว้เลี้ยงชีวิตเป็นพอ

       ผมจบมัธศึกษาปีที่ 5 (มศ.5) ก็เข้าเรียนครูประกาศนียบัตรประโยคครูประถม(ปป.) หลักสูตร 1  ปี เรียนจบ  สอบบรรจุเป็นครูได้ ในปีถัดมา

       ผมไม่คุ้นเคยกับความจนแม้แต่น้อย เพราะผมไม่เคยถูกสอนให้ต่อสู้กับความจน  หลวงพ่อสอนให้ต่อสู้กับความไม่รู้ให้ทะลุสู่ความรู้  สู่การมีปัญญา  ไม่ทะลุท่าน ก็ไม่ดุไม่ว่า ให้สู้ใหม่ ค่าใช้จ่ายคือความตั้งใจ 

      ท่านผู้ทรงเกียรติทั้งสองท่าน

          อันหมายถึง

          ท่านความจน    กับ    ท่านความรวย

          จึงไม่คุ้นเคยกับผมตลอดมา

       ถ้าเราไม่คุ้นเคยกับผู้ทรงเกียรติสองท่านที่กล่าวถึง

             เราก็จะมีความสุข 

คำสำคัญ (Tags): #ความรวย ความจน
หมายเลขบันทึก: 478176เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชีวิตนักเรียนวัด กับชีวิตนักเรียนปอเนาะ คล้ายกันน่ะท่านอาจารย์

สวัสดีค่ะIco64...ได้รับการปลูกฝังในเรื่องการเรียนเป็นอันดับหนึ่ง...ความสามัคคีรักใคร่กันในพี่น้อง...ความซื่อสัตย์สุจริต...การเอื้อเฟื้อมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นแต่ตัวเองต้องไม่เดือดร้อน...ความรับผิดชอบในหน้าที่...ความขยันอดทน...รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...ฯลฯ และต้องรู้จักพึ่งตนเอง...พอใจภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่...จึงไม่รู้จักว่าความจน หรือ ความรวย เช่นกันค่ะ...แต่แปลกที่ความกตัญญูรักพ่อแม่และรู้จักบุญคุณคน...พ่อแม่ไม่เคยสอน...แต่เกิดขึ้นเองนะคะ...

  • พูดถึงนักเรียนวัดแล้วน่าสนใจ
  • เพราะออกปอสี่แล้ว ผมก็อยู่วัดจนถึงวัยทำงาน
  • จึงออกมานอกวัด ออกมาแล้ว
  • จึงคิดถึงวัด
  • ทุกอาทิตย์ต้องกลับไปทานข้าววัด
  • อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

เป็นนักเรียนวัดเหมือนกันค่ะ
และมีเพื่อนเป็นลูกศิษย์วัด
เสียดายที่เดี๋ยวนี้วัดในเมืองหลายแห่งไม่มีลูกศิษย์วัดเลย
สมัยก่อนพ่อแม่จะส่งลูกไปเป็นเด็กวัดซึ่งมีทั้งลูกคนจนลูกคนรวย
เพราะหวังให้ลูกๆ ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระท่าน
ระยะหลังมานี้ พ่อแม่ส่งลูกเข้าโรงเรียนกวดวิชา แล้วก็ถูกฝังหัว ให้เรียนสาขาที่ดี(หาเงินได้มากๆ) เด็กจึงไม่ได้ถูกสอนเรื่องคุณธรรมค่ะ

สวัสดีทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมอ่านครับ

          การติดตามอ่านถือเป็นภารกิจทุกวันของผม

 แต่ที่น่าเสียดาย ท่านเดิม ๆที่เคยไปเยี่ยมอ่าน

กลับว่างเว้นไปจากบันทึก

 ก็เลยเยี่ยมอ่านไปเรื่อย  ๆ พบบันทึกที่พึงพอใจ

ก็ลงบันทึกแสดงความเห็นไว้  

ว่าได้อ่านแล้วและลงบันทึกหลักฐาน

จะได้กลับมาอ่านอีก  

บันทึกความเห็นของทุกท่านก็เช่นกัน

 ถือเป็นการให้เกียรติเจ้าของบันทึกเป็นอย่างสูง

ที่ได้บันทึกความเห็นไว้  

จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

ฝากความ"ไม่"..คิดถึง...ไปยังสองท่าน..ความไม่รวยและไม่จน..ด้วยเจ้าค่ะ..ไม่คิดถึงสองท่าน ..มีเวลาเหลือเยอะเลยเจ้าค่ะ..อ้ะๆๆๆ..ยายธี...

เป็นนักเรียนโรงเรียนเหมือนกันค่ะ

เคยได้ข้าวก้นบาตรประทังความหิวในวัยเยาว์

เคยไปช่วยกวาดลานวัด

ความทรงจำในวัยเยาว์..ไม่เคยเลือนหายไป

สวัสดีครับ

ผมโชคดีแท้ๆ ที่ได้เข้ามาอ่านบล็อกของท่าน มีข้อคิดดีๆ และท่านยังสละเวลาช่วยสังคมมากมายอย่างน่าทึ่ง

ขอบคุณครับ

ขอคารวะท่านด้วยดอกไม้งามๆ 

สวัสดี วันแห่งความรัก ครับ

 

แวะมาอ่านชีวิต  เคยเป็นเด็กวัดสมัยเรียน ม.1 - ม.6 ระยะทางไปโรงเรียนใกล้เคียงกันครับ

 "หลวงพ่อสอนให้ต่อสู้กับความไม่รู้ให้ทะลุสู่ความรู้  สู่การมีปัญญา" ชอบคำกล่าวของหลวงพ่อจัง

โชคดี ครับผม

 

  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท