พลศึกษา


พลศึกษา

พลศึกษา เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดมานานจากคนตะวันตก ที่เน้นร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าจิตใจ ที่มีความแข็งแรง ความเร็ว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่ว ความทนทาน และระบบไหลเวียนโลหิต จนมีหลักการที่พูดกันว่า A SOUND MIND IN A SOUND BODY หรือ จิตใจที่แข็งแกร่งย่อมอยู่ในร่างกายที่แข็งแรง แต่ในความเป็นจริง คนตะวันออก พูดถึงพลศึกษามานานในรูปแบบทางจิตใจ นั่นคือ พละ 5 ธรรมที่เป็นพลัง มีสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ไม่ได้รับการตอบรับมากนัก จนมีหลักการที่ว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว จึงเห็นได้ว่า พลศึกษาต้องเกี่ยวโยงทั้งสองด้านคือ ร่างกายและจิตใจ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ และทั้งคู่ต้องทำงานไปพร้อมๆกัน และที่สำคัญต้องบังคับร่างกายให้ได้ตามที่ต้องการและควบคุมจิตใจตนเองให้นิ่ง

พลศึกษา ประกอบด้วย สรีรวิทยาการออกกำลังกาย,วิทยาศาสตร์การกีฬา,จิตวิทยาการกีฬา,ชีวกลศาสตร์และกีฬาเวชศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นจัดเป็นสาขาวิชาหนึ่งหรืออาจเป็นภาควิชาหนึ่งหรือคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัย

 

พลศึกษาในเชิงร่างกาย

พลศึกษาในเชิงร่างกาย ก็คือการทำให้ร่างกายมีพลังที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย

1 ความแข็งแรง เช่น ข้อมือ สามารถยกสิ่งของหนักได้

2 ความเร็ว เช่น การวิ่งระยะสั้น 50 เมตร ในเวลาที่กำหนด

3 ความอ่อนตัว เช่น การก้มตัว เข่าตึง ไปหยิบของบนพื้น

4 ความคล่องแคล่ว เช่น การโยกลำตัวหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

5 ความทนทาน เช่น การเดินเร็ว หรือวิ่งระยะทางไกล เป็นเวลานาน

6 ระบบไหลเวียนโลหิต เช่น การที่เหงื่อออกจากร่างกาย และการจับชีพจรตามเกณฑ์ที่กำหนด

พลศึกษาในเชิงจิตใจ

พลศึกษาในเชิงจิตใจ ก็คือ พละ 5 แปลว่าธรรมอันเป็นกำลัง ที่สถิตย์ในจิตใจคน มีพลังเป็นนามธรรม ประกอบด้วย

1 ศรัทธา - ความเชื่อ คือเชื่อว่าจิตของคนมีพลังแฝงทุกขณะ

2 วิริยะ - ความเพียร คือคนมีความมุ่งมั่น ตั้งใจฝึกฝน ฝึกซ้อม ให้สำเร็จได้

3 สติ - ความระลึกได้ คือการรู้ตัวทุกขณะ ว่ากำลังเคลื่อนไหว

4 สมาธิ - ความตั้งจิตมั่น คือ การนำจิตไปจดจ่อกับการเคลื่อนไหวในขณะนั้น

5 ปัญญา - ความรู้ชัดแจ้ง คือ น้อมนำความคิด วิธีคิดว่าขณะที่เคลื่อนไหว ต้องแก้ปัญหาขณะนั้นและคิดการณ์ล่วงหน้าเสมอ

พลศึกษาในเชิงการศึกษา

พลศึกษาในเชิงการศึกษา เป็นส่วนขององค์ประกอบ 4 ประการ ของการศึกษา ตามหลักสูตร 2504 ประกอบด้วย 1 พุทธิศึกษา - การพัฒนาด้านสติปัญญา 2 จริยศึกษา - การพัฒนาด้านคุณธรรม 3 หัตถศึกษา - การพัฒนาทักษะ 4 พลศึกษา - การพัฒนาด้านสุขภาพกายใจ

การศึกษา วิชาพลศึกษา สำหรับ ครูพลศึกษา

ครูนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้วางรากฐานของ โรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษา โดยกำหนดให้มีการเรียนวิชาหลัก คือ 1 มวยไทย 2 กระบี่กระบอง 3 กรีฑา ลู่ ลาน 4 ดัดตนส่วนห้อยโหน

อ้างอิง

  • พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

แหล่งที่มา   http://th.wikipedia.org  6 กุมภาพันธ์ 2555

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พลศึกษา
หมายเลขบันทึก: 477729เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 05:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท