OPPP018 : SERVICE กับ DIAG


วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการให้รหัสกลุ่มอาการโรคในแฟ้ม DIAG ครับ เรื่องนี้มีคนถามกันตลอดและผมก็อธิบายไปหลายครั้งแล้ว แต่ก็การสื่อสารอาจไปได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นวันนี้จึงขอมาสรุปเรื่องนี้กันอีกที เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันครับ
(รวมรวมจาก Facebook กลุ่ม I'm KIDKOM)
วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการให้รหัสกลุ่มอาการโรคในแฟ้ม DIAG ครับ เรื่องนี้มีคนถามกันตลอดและผมก็อธิบายไปหลายครั้งแล้ว แต่ก็การสื่อสารอาจไปได้ไม่ทั่วถึง ดังนั้นวันนี้จึงขอมาสรุปเรื่องนี้กันอีกที เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันครับ
มาดู กรณีที่ 1 ก่อนครับ เป็นกรณีปกติทั่วไป แต่สำคัญครับเพราะเป็นพื้นฐานของกรณีอื่นๆ (ดูตามขั้นตอน abc นะครับ) เมื่อมีการให้บริการ ก็จะมีการให้รหัสการวินิฉัย จากรูปและคำอธิบายจะเห็นได้ว่า ณ ปัจจุบัน สำหรับข้อมูล OP/PP ยังสามารถให้ได้ทุกรหัสที่มีใน ICD 10 WHO, ICD 10 TM และรหัสแพทย์แผนไทยซึ่งส่วนใหญ่เป็นรหัส U ในกรณีที่ 1 ที่ยกตัวอย่าง มีการให้รหัสหลายรวมทั้งรหัสทั้ง Z และ U ซึงหากไม่ติดเรื่องเพศและอายุ ข้อมูล DIAG ก็จะผ่านหมด ส่งผลให้ข้อมูล SERVICE ผ่านตามไปด้วย และได้ POINT ตามปกติ
กรณีที่ 2
กรณีนี้ข้อมูล SERVICE ที่บันทึกมาถูกต้องหมดทุกอย่าง แต่การให้รหัสการวินิจฉัยไม่ถูกต้องและไม่ผ่านทั้งหมด กรณีนี้จะถือเสมือนว่า SERVICE นั้นไม่มีข้อมูล DIAG และส่งผลย้อนมาให้ SERVICE ครั้งนั้นเสียไปด้วย (เพื่อป้องกันกรณีแก้ไขเข้ามาแล้วซ้ำ) และไม่ถูกนำไปคิด POINT
กรณีที่ 3
เป็นกรณีที่ให้แต่รหัสที่เป็นสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค หรือ PP (ผมใช้คำว่า PP นะครับ ไม่ใช่รหัส Z เพราะรหัส Z บางตัวก็เป็น OP) และรหัสที่เป็นแพทย์แผนไทย กรณีนี้หากตรวจสอบผ่านหมด ข้อมูล SERVICE ก็จะผ่านตามปกติครับ แต่ต่างกันตรงที่ไม่ถูกนำไปคิด POINT ครับ เนื่องจากถือว่าไม่ใช่บริการผู้ป่วยนอก (ส่วนรหัสแพทย์แผนไทยที่ไม่นำมาคิด Point เนื่องจากมีการจัดสรรเรื่องนี้ต่างหากแล้ว)
มาดูกรณีที่ 4 ครับ
อันนี้ซับซ้อนขึ้นมานิดหนึ่ง คือ รหัส Diagnosis ที่ส่งมา ถูกบางส่วนและผิดบางส่วน แต่บันเอิญในส่วนที่ถูกเป็น รหัสที่เป็น OP ส่วนรหัสที่ผ่านเป็นรหัส PP กับ แพทย์แผนไทย กรณีนี้ข้อมูล SERVICE ก็ยังถือว่ามี Diagnosis ตามปกติ และผ่านการตรวจสอบครับ แต่จะไม่ถูกนำไปคิด POINT ครับ
กรณีที่ 5 ของ Diag อันนี้เริ่มจาก SERVICE ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ กรณีนี้จะทำให้ Diag ต่างๆ ที่ส่งมาด้วย Error ไปทั้งหมด เพื่อป้องกันการส่งข้อมูล SERVICE ที่แก้ไขเข้ามา และแน่นอนก็ต้องมี Diag เข้ามาด้วย ไม่ไปซ้ำซ้อนกับที่ส่งเข้ามาในตอนแรก กรณีนี้ก็พบบ่อยและชอบทำให้เข้าใจผิดว่า Diag Code นี้ผิดหรือไม่ถูกต้องครับ
กรณีที่ 6 ซึ่งน่าจะเป็นกรณีสุดท้าย นั่นก็คือไม่มีข้อมูล Diag กรณีนี้ข้อมูล SERVICE ถูกทุกอย่าง แต่ระบบไม่ส่งข้อมูล DAIG ออกมา ทำให้ SERVICE หา DIAG CODE ไม่เจอ ก็จะส่งผลให้ SERVICE ที่ส่งมาไม่ผ่าน กรณีแบบนี้ก็พบบ่อย ส่วนใหญ่เกิดจากระบบการส่งข้อมูลออก ทำให้หลายท่านไม่เข้าใจ และมักบอกว่ารหัสนั้นทำไมไม่ผ่าน เพราะเวลาดูก็กลับไปดูในโปรแกรมของตัวเอง ซึ่งก็เจอว่ามี Diag Code แต่ไม่ได้ดูในข้อมูลที่ส่งออกมาครับ
คำสำคัญ (Tags): #oppp
หมายเลขบันทึก: 477189เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2012 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท