จากคำถามที่ว่า ...
"หากเราอ้างอิงแหล่งที่มาแล้ว เราจะพ้นผิดได้หรือไม่?"
คำตอบที่ได้คือ ...
คุณ อรุณ ประดับสินธุ์ ได้ตอบไว้ในหน้า ๑๖๔ ไว้ดังนี้
ภาษานักกฎหมายเขาเรียกว่า "ข้อยกเว้นเพื่อการใช้อ้างอิง" ซึ่งมีบัญญัติไว้อยู่ใน มาตรา 33 ว่า
"การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง"
การกล่าว คือ การพูดจาขับร้อง
การคัด คือ การเลือก หรือ แยกไว้
การลอก คือ การเขียน หรือ จำลองออกมา
การเลียน คือ การเอาอย่าง การทำตาม การลอกแบบอย่าง
การอ้างอิง คือ การถือเป็นหลักการนำมากล่าวเป็นหลัก
ปัญหาของข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 33 อยู่ที่การคัดลอกงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ ซึ่งต้องดูข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป
และอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง คือ ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
การอ้างอิงนั้นจึงจะถือว่าทำให้พ้นผิดได้
..................................................................................................................................................
คำอธิบายเพิ่มเติม
เวลาที่เราทำรายงาน วิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ทางครูบาอาจารย์จะสอนเราเสมอว่า หากมิใช่ความรู้ที่เขียนโดยเราแล้ว แต่เรานำมาจากเจ้าของทฤษฎีหลักการท่านอื่น เราควรจะให้เกียรติท่านเหล่านั้นโดยการ "อ้างอิงในเนื้อหา"
เช่น ...
ขจิต ฝอยทอง (๒๕๕๕, หน้า ๑) กล่าวว่า อาจารย์หน้าตาีดีและหลงรักคนอาชีพที่มีชุดขาวเป็นยูนิฟอร์มที่สุด ฯลฯ ...
หรือ ....................................... (ขจิต ฝอยทอง, ๒๕๕๕, หน้า ๑)
เช่นนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ตามที่กล่าวมา คือ หากไม่ไปกระทบกับสิทธิ์อันชอบธรรมอันเกินควรของอาจารย์ขจิต ฝอยทองแล้วล่ะก็ ... มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
เพียงแค่ "ขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์" และ "ไม่ทำร้ายสิทธิ์อันชอบธรรม" พร้อม "อ้างอิง" ให้แจ่มชัด
ดังนั้น ผมจึงนำหลักการพิจารณาและยกตัวอย่างมาให้แสดงให้ทราบ กัลยาณมิตรสามารถจะเรียนรู้และนำไปประยุกต์ปฏิบัติ เพื่อให้ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ได้่ต่อไปนะครับ ;)...
บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...
..................................................................................................................................................
ขอบคุณแหล่งข้อมูลดี ๆ
อรุณ ประดับสินธุ์. คัมภีร์ลิขสิทธิ์ 180 คำถามที่จำเป็นต้องไขคำตอบ. กรุงเทพฯ: พสุธา, 2554.
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537. http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (2 กุมภาพันธ์ 2555).
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Wasawat Deemarn ใน เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง
ให้ความเคารพต่อต้นน้ำ...
...
กลางเดือนหน้าจะสัญจรไปเหนือนะครับ