ทำงานไป คิดไป มีอะไรมากมายให้หาคำตอบ....เป็นR2R ได้แทบทั้งนั้น


เขียนบันทึกนี้ในShare.psu.ac.th เมื่อ 11 กันยายน 2551

ช่วงนั้นทำไมไม่ได้เอาบันทึกนี้มาใส่ใน GotoKnow ด้วยก็จำไม่ได้แล้ว คิดว่าน่าจะเอามาไว้ในนี้ด้วยน่าจะเป็นประโยชน์ในวงกว้างขึ้นค่ะ

อ่านบันทึกฮอตฮิตเกี่ยวกับ R2R - Routine to Research แล้วดีใจ เพราะคิดว่าเราคงได้อะไรมากมายจากการสร้างวัฒนธรรมนี้ ตัวเองได้เห็นจากประสบการณ์ตรงในห้อง lab Chem ของเรานี่แหละว่า เรามีนักคิด นักพัฒนาหลายคน แต่ส่วนใหญ่เป็น"คุณกิจ" ที่ไม่ค่อยชอบ"ลิขิต" เราจึงมีผลงานดีๆที่ใช้อยู่ในหน่วยหลายอย่าง มาเป็นเวลานานแล้ว อันเกิดจากความช่างคิด รักความประหยัด ถล่มตัว (ไม่ได้พิมพ์ผิดค่ะ คำว่า"ถ่อม"น้อยไป)

ในหน่วยเคมีคลินิกแห่งนี้ เรามีผลงานที่ใช้อยู่ซึ่งเกิดจากการคิดค้น ดัดแปลงของพี่นุชรัตน์ พี่ปนัดดา อ.ประสิทธิ์ พี่วรรณี คุณพินิจ คุณพัฒนพงษ์ คุณศิริและ"คุณกิจ"ของเราทุกคน ช่วยกันเสริมต่อ ออกความเห็น โดยที่ไม่ได้มีการนำไปเขียนออกมาในรูปของงานวิจัย ซึ่งหากจะรวบรวมกันจริง ก็คงเป็น"งาน"หนักพอสมควรทีเดียว เป็น Knowledge Assets ที่มีคุณค่าและใช้ให้เป็นประโยชน์อยู่แล้วและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

คุณศิริได้เป็นผู้เปิดศักราช"คุณลิขิต"ให้กับหน่วยเคมีคลีนิก ด้วยเรื่องราวที่เธอนำมาเล่า ต้องขอบคุณ"ประกาย"ที่ คุณเอื้อได้มาจุดให้เธอตั้งแต่ปีที่แล้ว และพัฒนาการในการเขียนเล่า จนเธอสามารถ"เขียนความคิด"ได้เหมือนที่เธอพูด ก็เพราะการเขียนในเว็บไซต์คลังความรู้ GotoKnow นั่นเอง

ตัวเองได้อะไรมากมายจากการคุยกับคุณศิริ และเราจะเห็นได้ว่า แม้เราจะคุยเรื่องงานที่ดูเหมือนจะเป็นงาน"เฉพาะทาง" แต่ถ้าเราสามารถถ่ายทอด"วิธีการคิด"ได้เหมือนที่คุณศิริทำ จะก่อให้เกิดความคิดกับงานของผู้อื่นที่ไม่ได้"ร่วมทาง"ได้เช่นกัน อย่างที่คุณเมตตา และคุณ Dr .Ka-Poom ได้บอกไว้ในข้อคิดเห็น

การทำงาน routine มีเรื่องให้คิดมากมาย ตัวอย่างเช่นสัปดาห์นี้ ตัวเองอยู่ในจุดตรวจโปรตีนในปัสสาวะและ CSF ตอนออกผลจะดูผลของการตรวจปัสสาวะจากหน่วย Microscopy ควบคู่ไปด้วย มีหลายรายที่ทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมจากผล UA (Urinary Analysis) ซึ่งทำด้วย strip บางค่าที่เป็น trace เราตรวจได้ค่าโปรตีนสูงกว่า รายที่เป็น 1+ เกิดคำถามขึ้นในใจว่า เอ๊ะ ความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจ UA กับที่วัดได้จากการตรวจของเรานี่เป็นอย่างไรนะ สอบถามพูดคุยกับน้อง Aong San แล้ว ก็ได้ไอเดียว่า เราควรจะลองทำ retrospect ดูนะ จะได้ข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน ว่ามีกี่เปอร์เซนต์ที่ค่าไปด้วยกัน ฯลฯ

เรียกได้ว่า ถ้าทำงานไป คิดไปละก้อ เกิดคำถามที่นำไปสู่ R2R ได้เสมอ เพียงแต่บางงานอาจจะไม่ต้องการการหาคำตอบที่เป็นหลักการมาก บางงานอาจจะ... หากเราช่วยกันสนับสนุนให้คนช่วยกันคิด พัฒนาให้เกิดความเป็น LO - Learning Organization งานประจำทุกอย่างก็สามารถจะมองหา R2R ได้แทบทั้งสิ้น

เพราะอย่างนี้นี่เอง เมื่ออ่านบันทึกของอ.ปารมีจึงรู้สึก....เป็นปลื้ม ค่ะ 


หมายเลขบันทึก: 476906เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2012 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ครับ

จริงเหมือนอาจารย์บอกครับ

คุยกันในกลุ่มเล๋ก ๆ ...พลังบวก

เพื่อทำให้ดีขึ้นและแตกต่าง

อะไรก็เป็น R2R

R2R เป็นส่วนสำคัญของในชีวิตครับ

ขอบคุณมากค่ะคุณโอ๋

กำลัง...ค่อยๆแกะรอยเรียนรู้ตามค่ะ



  • ขอแชร์ว่า ตนเองจะสอนด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมาตั้งแต่ปี 2544 ค่ะ ซึ่งก็เป็น R2R นั่นเองค่ะ
  • ในภาคเรียนนี้สอนวิชาเดียวกัน 4 Sections (Classes) สงสาร Section แรกเหมือนกันค่ะ เพราะเหมือนหนูทดลองกิจกรรม พอลองทำกิจกรรมใน Sect.แรก พบจุดอ่อนตรงไหน ก็จะปรับแก้ใน Section ต่อๆ ไปค่ะ
  • ใบงานการทำปฏิทินจากเว็บฯ ที่ประยุกต์แนวคิดมาจากบันทึกคุณโอ๋-อโณ ได้รับเสียงตอบรับจากนักศึกษาดีมากค่ะ รู้สึกพวกเขาจะตื่นเต้นเพราะทำแล้วก็ได้นำไปใช้และในปฏิทินให้ใส่รูปตนเองลงไปด้วยพร้อมคำอวยพรปีใหม่ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้ให้ใบความรู้ไปก่อนแล้ว จะแสดงตัวอย่างในบันทึกต่อไปค่ะ  

 ขอบคุณคุณ Ico48 ที่มาสนับสนุนค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณ Ico48 เสมอนะคะ ดีใจที่บันทึกมีประโยชน์นะคะอ.Ico48 ประทับใจความ active ของอาจารย์มากเลยค่ะ สุดยอดจริงๆ

สวัสดี อาจารย์ โอ๋ ยามนี้สมองเปิด เงียบ สงบ อ่านบันทึกดีๆ คิดตามดีๆ มีสิ่งดีๆเข้ามาในชิวิตต้อนรับวันใหม่

คนช่างคิด ช่างฝัน เป็นแรงบันดาลใจโลกสดใสด้วยความฝัน

คนเจ้าคิด เจ้าแค้น เป็นแรงอาฆาตในดวงใจ โลกสลดหมดความสวย ด้วยแรงอาฆาต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท