ทุนมนุษย์กับทุนแห่งความสุข และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ


ทุนมนุษย์กับทุนแห่งความสุข

“ทุนมนุษย์กับทุนแห่งความสุข และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ”

เป็นหัวข้อสำคัญสำหรับ Seminar & Workshop “Passion & Happiness Capital” ที่ผมได้เข้าร่วมในวันนี้  จัดโดย มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและ Chira Academy 

Learning and Coaching from the Leaders in Human Capital and Passion Development

Prof. Dr.Chira Hongladarom and Mr.Bruce Hancock

การสัมมนาในวันนี้ใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  บรรยากาศดีมากเต็มไปด้วยความสุข สมกับหัวข้อ  ขอยกตัวอย่างเด่นๆมาแบ่งปันให้กับทุกท่าน

 

ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ ฉันมีแต่ความสุขที่ร่วมกันในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น.. ทำอะไรต้องมีความสุขด้วย เพราะศึกครั้งนี้ยาวนาน ถ้าเราทำอย่างไม่มีความสุขจะแพ้ แต่ถ้าเรามีความสุข เราจะชนะ...”

หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯ

 ข้อที่ 21 เรื่องทำงานอย่างมีความสุข

จากหนังสือ “ธรรมดีที่พ่อทำ”

ของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

 

    “It is very important to generate a good attitude, a good heart, as much as possible. From this, happiness in both the short term and the long term for both yourself and others will come.”

“Happiness is not something ready made. It comes from your own actions.”

Dalai Lama

 

  การมีทุนแห่งความสุข เป็นจุดเริ่มต้น คือ จำเป็น แต่เป็นสิ่งที่จะต้องไปเชื่อมโยงกับทุนอื่น ๆ เช่น มี Heart (Happiness) ต้องมี Head ปัญญา และต้องมี Execution ต้องทำให้สำเร็จ
       คล้ายกับทฤษฎี Fact หรือ Feeling แต่การมี Happiness อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี Strategy ต้องมี Data ด้วย จึงไปสู่ความสำเร็จ 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

กฎในการสร้างทุนแห่งความสุขของ ศ.ดร.จีระ

 

Happiness Capital

(Dr. Chira Hongladarom’s Model)

 

Happiness Capital

(Sharp/Hongladarom’s Model

  1. สุขภาพทางร่างกายและจิตใจพร้อมไม่หักโหม

         (Healthy)

 

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

   (Exercise)

 

  1. ชอบงานที่ทำ

         (Passion)

 

2.อย่าแบกงานที่หนักเกินไป

     (Put down your burden)

 

.      3. รู้เป้าหมายของงาน

         (Purpose)

 

3. ศักยภาพในการถ่ายทอดในงาน

   (Communicate Effectively

4.       รู้ความหมายของงาน

         (Meaning)

 

4. ทำงานในจุดแข็งของตัวเอง

   (Recognize your strengths)

 

5.      มีความสามารถที่จะทำให้งานสำเร็จ

        (Capability)

 

5. มุ่งมั่นในงาน

   (Keep Focus)

 

6.      เรียนรู้จากงานและลูกค้าตลอดเวลา

        (Learning)

 

6. ทำในสิ่งที่อยากทำไม่ใช่เพราะต้องทำ

   (Reduce the ‘shoulds’)

 

7.      เตรียมตัวให้พร้อม

         (Prepare)

7. ทำงานในองค์กรที่มองคุณค่าของคนและงานคล้าย ๆ กัน

   (Clarify your values)

 

8.       ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว

         (Teamwork)

 

8. อย่าทำงานเครียดและวิตกกังวล

   (Overcome worry and stress)

 

9.       ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้แก่ทีมงานและลูกทีม

         (Coaching)

 

9. บริหารภาระงานให้เหมาะกับตัวเอง

   (Refine your workload)

 

10.     ทำงานที่ท้าทาย

         (Challenge)

 

10.ใช้คำว่าขอบคุณกับลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน

    (Choose your words)

 

11.     ทำงานที่มีคุณค่า

         (Enrichment)

 

11.สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีความสุขร่วมกัน

    (Create good environment)

 

 

การทำงานอย่างมีความสุข คือ ต้อง Calling แปลว่า เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา เราจะทำสุดฝีมือ ทิ้งมรดกที่ดีไว้
แต่แค่เป็น Job หรืออาชีพเราก็จะไม่ประสบความสำเร็จ       

 

ประโยชน์ 10 ข้อของการมีทุนแห่งความสุข

    1. ช่วยทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายและได้ผลสูงสุด
    2. ทำให้ตัวเองมี Creativity สูงขึ้น อันนี้ผมเห็นด้วย ผมชอบแนวคิดนี้ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็คิดอะไรไม่ออก แถมยังคิดแง่ลบด้วย
    3. ทำให้เราหาทางออกแทนที่จะบ่นว่าปัญหายากจัง
    4. มองโลกในแง่ดี (Optimism)
    5. มีพลัง (Energy) เพิ่มขึ้น
    6. ทำให้กระตุ้น/Motivate and Inspired ได้ง่ายกว่า
    7. ไม่ค่อยจะป่วย..เป็นโน่นเป็นนี่บ่อย ๆ
    8. สามารถเรียนรู้ได้เร็วและสนุก สร้าง Learning Culture ได้ดีกว่าคนที่ไม่มีความสุข
    9. มีความมั่นใจว่าจะกล้าทำอะไรนอกกรอบได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดพลาด อันนี้จริงเพราะถ้าเรามีความกลัว (Fear) เราก็ไม่สำเร็จ ต้องมั่นใจว่ากล้าทำ
    10. ทำให้ตัดสินใจได้ดีและรอบคอบ อันนี้จริง เพราะถ้าคน IQ สูงแต่เครียดมักจะผิดพลาดเรื่องการตัดสินใจ

Happiness Workers จำเป็นจะต้องอยู่ในบรรยากาศการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด

ดังนั้น ตัวละคร 3 กลุ่ม ต้องมีความสามารถและจะต้องทำงานร่วมกันกลุ่มแรก คือ CEO – ต้องเป็นคนที่มีความสุขด้วยไม่ใช่เป็น “Unhappy CEO” ก็คงไม่มีใครอยากทำงานด้วย แต่มี “Happy CEO” ก็ไม่พอต้องมี “Smart and Happy CEO” คือ รู้จักใช้ศักยภาพของเขาเหล่านั้นอย่างเต็มที่ เช่น

  • มอบหมายงานที่เพิ่มความสุข (ท้าทาย)
  • ลดการขัดแย้งในองค์กร
  • ดูแลวัฒนธรรมองค์กรให้ไปในทางสร้างให้พนักงานเป็นเลิศให้ได้
  • กลุ่มที่ 2 คือ HR นอกจาก Smart HR แล้วในองค์กรยังต้องมี Smart and Happy HR” บุคคลที่ทำงานกับ Happy People ในองค์กรก็ต้องรู้จัก “ทุนแห่งความสุข” ดี
  • กลุ่มสุดท้าย คือ Line Managers หรือ Non-HR ก็คงจะต้องเน้นความสามารถในการบริหารพนักงานให้เปลี่ยนจาก สุขน้อย เป็น สุขมาก” หรือ “มีความสุขแล้วได้สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างเต็มที่”

ทฤษฎี HRDS เพื่อการสร้างทุนแห่งความสุขและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

HAPPINESS

RESPECT

DIGNITY

SUSTAINABILITY

หมายเลขบันทึก: 476282เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2012 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท