การศึกษาทางไกล


การศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกล( Distance Education) หมายถึงระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ใกล้กันแต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสมโดยการใช้สื่อต่างๆร่วมกัน อาทิเช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ โทรคมนาคมและสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์มาช่วยในการแพร่กระจายการศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น

หลักการของการศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกลเป็นระบบการศึกษาที่ยึดหลักการในเรื่องต่างๆดังนี้

  1. การศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งถือเสมือนว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่ห้าของการดำรงชีพจึงสมควรใช้การศึกษาเป็นปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยไม่จำเป็นต้องแยกชีวิตออกจาการเรียนออกจากชีวิตการทำงาน การศึกษาจึงน่าจะเป็นกระบวนการที่สอดแทรกอยู่ได้ในวิถีการดำเนินชีวิตปกติผู้ที่สนใจสามารถเรียนเมื่อไรก็ได้โดยคำนึงถึงความพร้อม ความถนัด ความต้องการและความสนใจ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนเพื่อเป็นอาชีพการงาน
  2. การให้โอกาสเท่าเทียมกันทางการศึกษา เป็นทางเลือกและทางออกไปสู่อุดมคติในการแก้ปัญหาเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นการกระจายและขยายโอกาสให้ผู้ที่ต้องละทิ้งการศึกษาก่อนจบหลักสูตรหรือผู้ที่ไม่มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนและผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมได้มีโอกาสได้ศึกษาต่อเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการศึกษาตลอดชีวิต
  3. ส่งเสริมการศึกษามวลชน เป็นการให้ดารศึกษาแก่มวลชนในระดับต่างๆโดยการใช้สื่อมวลชนหรือสื่ออื่นๆร่วมกันในรูปของสื่อหลายแบบรวมทั้งการใช้สื่ออุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆด้วย

ลักษณะสำคัญของการศึกษาทางไกล

ระบบการศึกษาทางไกล มีลักษณะของการจัดการศึกษาที่ต่างไปจากระบบการเรียนการสอนโดยปกติ ซึ่งอาจจะสรุปลักษณะที่สำคัญของระบบการศึกษาทางไกลได้ดังนี้
1 .
ผู้เรียนผู้สอนไม่อยู่ประจันหน้ากัน เนื่องจากผู้เรียนไม่สามารถมาเข้าชั้นเรียน โดยปกติได้ดังนั้น ผู้เรียนจะเรียนด้วยตนเองที่บ้าน โดยอาจมาพบผู้สอนในบางเวลา
2. เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้เลือกวิชาและกำหนดเวลาเรียนและกิจกรรมการเรียน
ของตนเอง
3. สื่อการสอนเป็นสื่อหลักในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนจะเป็นสื่อหลัก ในการศึกษาทางไกลสื่อหลักจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง ฯลฯ เป็นสื่อหลัก
สื่อการสอนกับการศึกษาทางไกล

เนื่องจากผู้เรียนต้องศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความสำคัญยิ่งสำหรับการศึกษาทางไกล ซึ่งสื่อการสอนที่ใช้อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
  1)สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์ได้แก่ เอกสารตำรา แบบฝึกปฏิบัติ ผู้เรียนจะอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อหลักเนื่องจากราคาถูก เก็บได้นานและไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบ
 2)สื่อโสตทัศนูปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ นับได้ว่าเป็นสื่อรองจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยในการเสริมความรู้ในกระบวนการเรียนของผู้เรียน โดยอาจจะเป็นการสอนทางโทรทัศน์ เทปเสียงบรรยาย เทปวีดิทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง
 3)สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคม เนื่องจากการพัฒนาการของอิเล็กทรอนิกส์และระบบโทรคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงมีการนำเอามาใช้ในการจัดการศึกษาทางไกล โดยใช้ระบบดาวเทียมและท่อใยแก้วนำแสงในการส่งข่าวสารข้อมูล มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

 

การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบกับการศึกษาทางไกล


1) การศึกษาในระบบ การศึกษาทางไกลเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัด การศึกษาทั่วการศึกษา ในระบบและการศึกษานอกระบบ มีหลายหน่วยงานที่จัดการศึกษาทางไกล ทั้งในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาและระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระบบโดยทั่วไปก็คือการที่ผู้เรียนมาเรียนในชั้นเรียนปกติมีผู้สอนอยู่ในชั้นเรียน สำหรับการศึกษาทางไกลมีลักษณะที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ประจันหน้ากัน ผู้สอนจะอยู่ห่างไกลจากชั้นเรียนออกไป การศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมสามัญศึกษา และในระดับอุดมศึกษาได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร สถาบันราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้น


2) การศึกษานอกระบบ การศึกษานอกระบบจะเป็นลักษณะของการศึกษาที่ไม่มีเวลาเรียนแน่นอนตายตัว ไม่มีการกำหนดอายุของผู้เรียน ผู้เรียนจะมาเข้าชั้นเรียนหรือไม่ก็ได้ การเรียนการสอนอาจจะมาพบกัน ณ ศูนย์บริการวิชาการหรืออาจจะเรียนผ่านรายการโทรทัศน์ที่บ้าน จะมีการสอนในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมการศึกษานอกโรงเรียน ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็ได้แก่ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


ข้อดีของการศึกษาทางไกล ดังกล่าวแล้วว่ามีการจัดการศึกษาทางไกลสำหรับการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า การศึกษาทางไกลมีข้อดีหรือมีประโยชน์ต่อการศึกษาต่าง ๆ ในแง่มุม ดังนี้
1) ผู้เรียนได้เรียนกับผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ
2) สามารถบันทึกคำบรรยายหรือการสอนส่งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ไปยังผู้เรียนได้โดยสะดวก
3) ผู้เรียนที่อยู่ในการศึกษานอกระบบ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมายังสถานศึกษาเหมือนปกติ และยังสามารถทำงานในสถานประกอบของตนเองได้
4) ตอบสนองความต้องการในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาคน และพัฒนางานในวิชาชีพของบุคคลได้ โดยไม่ต้องเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาในระบบปกติ

ข้อจำกัด

1. การใช้โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้ 2.โทรทัศน์มิใช่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนผู้สอนได้อย่างสิ้นเชิง ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาบทเรียนเพิ่มเติมจากสื่ออื่น ๆประกอบด้วย หรือผู้สอนต้องเป็นผู้ช่วยเหลือแนะแนวทางหรืออธิบายเพิ่มเติมประกอบการชมรายการหรือ บทเรียนทางโทรทัศน์ด้วย

3.อาจเกิดอุปสรรคในด้านการสื่อสาร เช่นกระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวย ทำให้ขาดสมาธิในการเรียน

4. การผลิตรายการอาจไม่ดีพอ ทำให้การสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร

5.จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่สามารถถ่ายทำและใช้เทคนิควิธีการในการผลิตรายการที่มีคุณภาพ

E-learning

E-learning หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ ในรูปของสื่อมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ e-learning เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ สนับสนุนว่าเนื้อหาการเรียน ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านทางมัลติมีเดียนั้นสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า การเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ การที่เนื้อหาการเรียนอยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (e-text) ซึ่งได้แก่ข้อความซึ่งได้รับการจัดเก็บ ประมวล นำเสนอ และเผยแพร่ทางคอมพิวเตอร์จึงทำให้มี ข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการด้วยความสะดวก และรวดเร็วความคงทนของข้อมูล รวมทั้ง ความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

IT กับ Elearning

การใช้ IT เพื่อการเรียนการสอนในลักษณะของ e-learning ในยุคปัจจุบันจะมีการใช้อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ทั้งในลักษณะของ Stand Alone และการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย สามารถเชื่อมโยง เข้าสู่อินเตอร์เนต เพื่อค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ นอกจากนั้น e-learning จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับ สิ่งต่อไปนี้

1. สื่อการเรียนการสอนแบบสื่อประสม (Multimedia) เป็นสื่อที่มีการนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบทั้งภาพ และเสียง มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้เรียน ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการเรียนการสอน ช่วยลดความ ยุ่งยากซับซ้อน ของเนื้อหาวิชาบางตอน ที่ค่อนข้างจะเป็นนามธรรม นอกจากนี้สื่อนี้บางส่วนเป็นแบบฝึกหัด ที่จะช่วยทบทวนความรู้ของผู้เรียนด้วย

2. การใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน (Education Resources Sharing) การพัฒนาองค์กรความรู้ บนเครือข่าย คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการบนเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตเป็นคลัง ทุกแขนง ที่พร้อมให้จะให้บริการบนเครือข่ายในหลายรูปแบบ

3. การเรียนการสอนทางไกล (Long Distance Learning) การเรียนการสอนทางไกลของวงการศึกษา ไทย ได้มีการวิวัฒนาการตามลำดับก่อนที่จะเป็นรูปแบบของ e-learning ในปัจจุบันนี้โดยมีวิวัฒนาการที่น่า สนใจตามลำดับดังนี้

3.1 การเรียนการสอนทางไปรษณีย์

3.2 การเรียนการสอนทางวิทยุกระจายเสียง

3.3 การเรียนการสอนผ่านทางโทรทัศน์ และผ่านเครือข่ายดาวเทียม

3.4 การเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การศึกษาที่นิยมในขณะนี้คือ Web

Base learning เป็นการเรียนการสอนที่ดำเนินการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีความสะดวกและ คล่องตัวสูงผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน และเวลาใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด

e - learning สนับสนุนการจัดการการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ที่มีทางเลือกสำหรับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต มีหลายแนวทาง คือ การศึกษาในระบบ ที่เป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน การกำหนด หลักสูตร มีระยะเวลา สำเร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษาในระดับนี้หากมีการใช้อุปกรณ์ด้าน IT สื่อ Multimedia และเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตสนับสนุนการเรียนการสอนแล้วจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพการเรียน การสอนในการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดรูปแบบการศึกษา ระยะเวลา การวัดประเมินผล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าการศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบนี้สื่อต่าง ๆ และ ระบบการศึกษาทางไกล จะเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ตามศักยภาพ ความพร้อม ซึ่งการเรียนการสอนแบบ Web Based Learning ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะอำนวย ความสะดวกให้ผู้เรียนมาก เพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยไม่มีข้อจำกัดของเวลาและสถานที่ สามารถ เรียนได้ทันที อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ขอเพียง เราเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เกือบทุกแห่งทั่วโลก

เทคโนโลยีที่สัมพันธ์กับ E - Learning

1. เทคโนโลยีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ 1.1 อินเตอร์เน็ต E-mail, WWW, HTTP, search engine, Newsgroup

1.2 File Transfer Protocol (FTP)

2. เทคโนโลยีการเขียนเว็บเพจ

2.2 โปรแกรมต่าง ๆ เช่น Microsoft Front Page, Dream weaver ฯลฯ

3 เทคโนโลยีการสร้างกระดาษถาม-
ตอบอินเตอร์เน็

4. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

5. เครื่องมือสร้างแบบจำลองและรูปแบบการเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์

6. เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ

เปรียบเทียบรูปแบบการเรียนการสอน

ชั้นเรียนปกติ

ชั้นเรียนออนไลน์

1. ผู้เรียนนั่งฟังบรรยายในชั้นเรียน

1. ใช้ระบบวีดีทัศน์ออนไลน์ผ่านทางเว็บเพจที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูได้หรือสามารถเก็บไฟล์ไว้ดูเอง

2. ผู้เรียนค้นคว้าจากห้องสมุด หรือค้นหา จากสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ

2. ใช้การค้นหาผ่านทางเว็บ เช่น Search engine ต่าง ๆ

3. ปฏิบัติในห้องทดลองหรือการปฏิบัติจริงในสถานการณ์

3. ใช้การเรียนรู้แบบโมดูล การใช้แบบจำลอง ออนไลน์ online simulation

4. เรียนรู้จากการโต้ตอบหรือสนทนาในชั้นเรียน

4. ใช้ระบบกระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้การสนทนาดีกว่าในแง่สิ่งแวดล้อมที่เป็นชั้นเรียนปกติเมื่อผู้เรียนมีจำนวนมาก

5. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่

5. ไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่

 

ประโยชน์ของ E-learning

เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อ Multimedia อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และ คลังความรู้เครือข่าย
อินเตอร์เน็ตสนับสนุนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน

เกิดเครือข่ายของความรู้ คลังความรู้ทึ่ถูกสร้างและจัดเก็บบนเครือข่ายอินเตอร์เนตนี้สามารถ แลกเปลี่ยนความรู้กันและกันได้ และความรู้จากแหล่งนี้จะทันสมัยกว่าเอกสารตำราทั่วไป เพราะข้อมูลมีการ ปรับปรุง (Update) เป็นประจำ

ส่งเสริมผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สืบค้นวิชาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเองอาศัยสื่อ และ IT ทางการศึกษา โดยมีครู อาจารย์เป็นที่ปรึกษา และชี้แนะแนวทาง

สร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาระหว่างชนบทและเมือง โดยฝึกอบรมครู / อาจารย์ในชนบทให้มี ความสามารถเชื่อมต่อเข้าไป ศึกษาหาความรู้ในเครือข่าย อินเตอร์เนตได้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กในชนบท ได้เรียนรู้ ได้เครือข่ายสารสนเทศเพิ่มและกระจาย โอกาสทางการศึกษาให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท

ใช้ทรัพยากรทางการศึกษาร่วมกัน เนื่องจากมีคลังความรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เนตบริการให้คนทั่วโลก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

สอดคล้องและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา เนื่องจากเป็นการนำ IT มาส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

ข้อพึงระวังของ e-learning

การขาดความเข้าใจในการใช้ Multimedia ครู / อาจารย์ควรจะได้รับการฝึกอบรมก่อนการนำสื่อต่าง ๆ ไปใช้ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะ Multimedia ที่ต้องใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้น และการใช้สื่อ การเรียนการสอนที่มากจนเกินไปบางครั้ง อาจจะเป็นการบั่นทอนทักษะในการสร้างจินตนาการ ของนักเรียนได้ ซึ่งทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนลดลงได้

การมองข้ามการพัฒนา EQ การเรียนการสอนในบางประเภทใน e-learning จะเป็นการศึกษาด้วย ตนเอง ไม่ต้องอาศัยชั้นเรียน ไม่มีเพื่อนร่วมชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนขาดการเรียนรู้บางด้านของสังคมในชั้นเรียน เช่น ความมีมนุษยสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การปรึกษาหารือกัน เป็นต้น ซึ่งหากมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป ทำให้ ผู้เรียนมีพัฒนาการด้าน EQ ลดลงได้

การละเลยความรู้ทางด้านคุณธรรม ผู้เรียนที่ผ่านการกระบวนการเรียนที่ทันสมัยมีการใช้อุปกรณ์ IT สามารถรอบรู้และสืบค้นข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการได้ทุกแนวทาง ดังนั้นกระบวนการเรียนการสอนใด ๆ ก็ตาม ควรมีการเรียนรู้ควบคุมไปกับคุณธรรมและจริยธรรม

การให้ความสำคัญมากกว่าสื่อมากกว่าครู / อาจารย์ บทบาทที่สำคัญของครูมี 3 ด้านด้วยกันคือ เป็นผู้จัดการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก และเป็นตัวกลางของการมีมนุษยสัมพันธ์ คงจะเป็นเครื่องมือ ที่ช่วยส่งเสริมการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

การเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่อุปกรณ์ทางด้าน IT เป็นสื่อ Multimedia ที่ใช้กันใน ประเทศของเราในขณะนี้มักเป็นสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ จะส่งผลต่อการขาดดุลการค้าของประเทศ ที่จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย

ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนให้เกิด E-learning

1. นโยบายด้านการศึกษาของชาติ

2. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ

3. ความรู้ความสามารุด้าน IT ของครู / อาจารย์

4. ความพร้อมด้านฮาร์ดแวร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

5. ความพร้อมด้านซอฟแวร์

6. ความพร้อมของ Multimedia ที่มีคุณภาพ

7. การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างต่อเนื่อง

สรุป

การเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น อย่างมากสำหรับโลกยุคนี้ และ E-learning นี้ก็จะเป็นเส้นทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่ สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น IT เพื่อการศึกษาในหลาย ๆ รูปแบบจึงถูกนำมาใช้ในการเรียน การสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมยุค ต่อไปซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ที่มีผลต่อการเปลียนแปลงสังคมมนุษย์อีกมากมาย ที่สุดเท่าที่จะคาดการณ์ได้ในขณะนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาทางไกล
หมายเลขบันทึก: 47616เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท