ชาวบ้านนาป่าแดงเขาจัดการความรู้กันอย่างไร


ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนนั้นมีอยู่มาก เพียงแต่ยังไม่ได้นำมาจัดการเพื่อให้เกิดการ ลปรร. และใช้ประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็น

          เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม  2549 ผมและคุรสายัณห์ ได้นำคณะศึกษาดูงานจากกองพัฒนาการเกษตรพื้นที่เฉพาะ ไปศึกษาดูงานในภาคสนาม โดยจุดที่ 2 ของการศึกาดูงานได้เนทางไปที่บ้านนาป่าแดง หมู่ที่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย   (ลิงค์อ่านรายละเอียด) 

          ในขณะที่เราไปศึกษาดูงานอยู่นั้น  ได้มีเกษตรกรลูกค้า ธกส. ได้มาเรียนรู้ดูงานและฝึกปฏิบัติในฐานการเรียนรู้ต่างๆ อยู่แล้วจำนวนหลายสิบคน ได้เห็นกระบวนการจัดการความรู้โดยมีกระบวนการ ลปรร. ที่ดำเนินการโดยชุมชนของที่นี่เอง เห็นว่ามีความก้าวหน้าและน่าสนใจมาก   เลยบันทึกมาเพื่อแลกเปลี่ยนกับชาว Gotoknow.org เพราะที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอพรานกระต่าย ซึ่งมีทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมบูรณาการกันในการทำงาน   คือหน่วยงานทำหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยง  แต่ให้ชุมชนเป็นคนบริหารจัดการและเป็นวิทยากรถ่ายทอดกันเอง

  • คุณรัตติยา  ขวัญคำ นักส่งเสริมฯ เลขาศูนย์ฯ บอกกับผมว่า ปัจจุบันทำงานง่ายขึ้น  ชาวบ้านที่นี่สามารถจัดการ ลปรร.กันได้เอง

         


คุณรัตติยา ขวัญคำ

 

  • สถานที่ที่ใช้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนนี้ อยู่ที่กลุ่มเกษตรธรรมชาติ หมู่ที่ 1 บ้านนาป่าแดง ตำบลคุยบ้านโอง  อำเภอพรานกระต่าย  จังหวัดกำแพงเพชร ทางไปจังหวัดสุโขทัย


      
มีสถานที่สำหรับการจัดการ ลปรร. อยู่ในชุมชน

 

  • ทีมแกนนำที่มีทั้งผู้นำที่เป็นทางการ และผู้นำที่เป็นวิทยากรเกษตรกร  และข้าราชการในพื้นที่มาร่วมมือกัน

 

          วันที่ผมไป มีการจัดฐานการเรียนรู้และศึกษาของจริงไว้ 4 ฐาน คือ

          ฐานการเรียนรู้ที่ 1  เรื่องหมูหลุม  เป็นแนวทางการพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการผลิตปุ๋ยคอกของชุมชน


หมูหลุม (ผมใช้ภาพเก่าเพราะวันนั้นรีบเลยไม่ได้ไปถ่ายภาพเพิ่ม)

 

           ฐานการเรียนรู้ที่ 2  เรื่องการผลิตและใช้สารสกัดชีวภาพ  ทั้งสารไล่แมลง และปุ๋ย-ฮอร์โมนน้ำชีวภาพ

         

 

             ฐานที่ 3  การเรียนรู้เรื่องการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์  ซึ่งมีทั้งฝึกการผสมโดยใช้แรงคน และใช้เครื่องจักร

 

 

           ฐานการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ ทั้งแชมพู  นำยาสระผม  นำยาล้างจาน

 


          นอกจากฐานการเรียนรู้ทั้ง 4 ฐานแล้ว  ยังมีจุดเรียนรู้อื่นๆ อีกหลายเรื่องที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เช่น จุดจำหน่ายสินค้าที่ผลิตได้ของกลุ่ม  และการผลิตน้ำส้มควันไม้ เป็นต้น

     

 


การผลิตน้ำส้มควันไม้


          เห็นการจัดการความรู้ของชุมชนที่นี้แล้ว  ผมคิดว่าพวกเรานักส่งเสริมการเกษตรหรือนักพัฒนาท่านอื่นๆ คงเห็นด้วยกับผมนะครับว่า

  • ความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนนั้นมีอยู่มาก เพียงแต่ยังไม่ได้นำมาจัดการเพื่อให้เกิดการ ลปรร. และใช้ประโยชน์เท่าที่ควรจะเป็น
  • การบริหารจัดการในการ ลปรร. โดยชุมชนนั้น น่าจะได้ผลและก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ดีกว่า "คนนอก" ไปดำเนินการให้ทั้งหมด เพราะเป็นเรื่องที่ไกล้ตัวและสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างแท้จริงบันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ
  • คงต้องทบทวนและปรับกระบวนการทำงานกันใหม่ เริ่มตั้งแต่การคิดเรื่องการที่จะเอาความรู้หรือโครงการไปให้ชาวบ้าน เปลี่ยนมาเป็นการเข้าไปช่วยสนับสนุนหรือจัดกระบวนการให้ชาวบ้านได้มีเวทีได้มา ลปรร.กันมากยิ่งขึ้น และบันทึกไว้เพื่อเผยแพร่ต่อยอด
  • ผมคิดว่า การเรียนรู้ของชาวบ้านในลักษณะนี้น่าจะยังมีอีกมากในจังหวัดกำแพงเพชร  จะพยายามเสาะหาและบันทึกมาเพื่อแลกเปลี่ยนต่อไปครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 47596เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท