seminar II (ครั้ง5)


สิ่งที่เรียนแต่ก็นึกไม่ออก

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ดิฉันต้องนำเสนอกรณีศึกษาพร้อมกับหลักฐานที่สนันสนุนการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดอีกครั้ง และแม้จะเป็นการนำเสนอครั้งที่สองแล้ว แต่ก็ยังอดที่จะตื่นเต้นและกดดันไม่ได้

ยิ่งกรณีศึกษาที่เลือกมาในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ดิฉันชอบ แต่ไม่ค่อยถนัดนัก ซึ่งดิฉันคิดว่าอยากลองในสิ่งที่ตนไม่ถนัดดูบ้าง ผลปรากฎที่ออกมาเป็นรางวัลแห่งความพยายามของเรา เนื่องจากกรณีศึกษาที่ดิฉันนำเสนอนั้นเป็นเด็กออทิสติกอายุ 4 ปี และแม้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กออทิสติกจะมีอยู่มาก หากแต่งานวิจัยที่จะสนับสนุนและตรงกับสิ่งที่ดิฉันกระทำนั้นก็หาได้ยากยิ่ง ซึ่งอาจเป็นเพราะความหลากหลายทางพฤติกรรมของเด็ก บริบทและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่เราใช้เป็นสื่อในการรักษา เป็นต้น

เรื่องที่สำคัญในสัปดาห์นี้อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราต้องตอบคำถามจากสิ่งที่เพื่อนได้นำเสนอไป ซึ่งคำถามเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เราผ่านมาแล้วทั้งสิ้น หากแต่บางอย่างก็ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้ง ทำให้เราได้เห็นข้อบกพร่องของตนเอง อีกทั้งบางคำถามเป็นสิ่งที่เรียนแล้ว แต่เรากลับนึกไม่ออกหรือจับประเด็นสำคัญของสิ่งเหล่านั้นไม่ได้

การเรียนรู้ในวันนี้ทำให้ดิฉันได้ข้อมูลต่างๆมากมาย ทั้งที่เป็นเรื่องที่เคยผ่านมาแล้ว และเรื่องใหม่ๆที่ยังไม่ทราบ 

- ความแตกต่างของ skin graft และ skin flap คือ
  >> skin graft เป็นการผ่าตัดโดยนำเฉพาะผิวหนังจากส่วนอื่นของร่างกายมาแปะส่วนที่ต้องการ
  >> skin flap เป็นการผ่าตัดโดยนำผิวหนังพร้อมด้วยเส้นเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายมาแปะส่วนที่ต้องการ ซึ่งแผลจะมีลักษณะนูนกว่าการทำ skin graft

- ความแตกต่างของ SI (Sensory Integration) และ Sensory-based interventions 
  >> SI เป็นเทคนิคที่นำหลายๆ sense มารวมกันเป็นกิจกรรมเดียว หรือเป็นการให้ sense มากกว่า 2 senseขึ้นไป ในคราเดียว
  >> Sensory-based interventions เป็นเทคนิคที่ให้เพียง sense เดียวในหนึ่งกิจกรรม เช่น การ massage เป็นต้น

- การใช้ self-management model เพื่อให้เกิด self management เป็นการทำให้เกิดการ recovery ได้เร็วและสำเร็จมากขึ้น

- การเพิ่ม Occupational performance ในคลินิกเพื่อให้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ทำได้โดยการฝึกในสถานการณ์จริง และใช้องค์ประกอบใน performance ที่ต้องการมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้กิจกรรมการรักษาที่ตรงตามเป้าประสงค์

- ความแตกต่างในการใช้ Physical Rehabilitation Frame of Reference และ PEOP ของนักกิจกรรมบำบัดในด้านของ ADL
  >> Physical Rehabilitation FoR : จะเป็นการฝึกพวก Basic Activity of Daily living (BADL)
  >> PEOP : จะเป็นการฝึกทั้งในส่วนของ  Basic Activity of Daily living (BADL) และ Instumental Activity of Daily living (IADL)

- Backward chaining เป็นเทคนิคในการฝึกทำกิจกรรม โดยจะมีการวิเคราะห์ขั้นตอนในการทำกิจกรรม และฝึกจากขึ้นตอนสุดท้ายขึ้นมา มักใช้ในการฝึก ADL โดยในทางกิจกรรมบำบัดจะเป็นในเรื่องของ teaching learning process

- ความแตกต่างของ Group therapy และ Group dynamic
  >> Group therapy เป็นการจัดกลุ่มแบบธรรมดาทั่วไป
  >> Group dynamic เป็นการจัดกลุ่มแบบมีการเปลี่ยนระดับความสามารถในการทำงาน เช่น จาก parallel เป็น cooperate เป็นต้น

- ความแตกต่างของนักกิจกรรมบำบัดและนักแก้ไขการพูด ในการฝึก oral motor control
  >> นักกิจกรรมบำบัด : ใช้การ compensate และเน้น adaptive device
  >> นักแก้ไขการพูด  : จะไม่เน้นในเรื่อง compensate 

- Environmental support for ASD คือ
  >> procedural support
  >> temporal support
  >> special support
  >> exertion support

ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน และเพื่อนๆทุกคนที่ได้ให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ดีๆในครั้งนี้ค่ะ^^ 

หมายเลขบันทึก: 474987เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2012 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 05:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท