เหลียวมองเพื่อนบ้านอาเซียนให้ดี รู้เขารู้เรา


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2555 ติดตามอ่าน blog ย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

เหลียวมองเพื่อนบ้านอาเซียนให้ดี รู้เขารู้เรา (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 
* ปี 2555 เป็นปีที่สำคัญคือ ASEAN จะเป็นหนึ่งเดียว

* มีผลสำรวจแล้ว คนไทยอยู่อันดับ 7 ของประเทศที่ไม่รู้เรื่องว่า ASEAN เสรีคืออะไร? สำคัญอย่างไร คนไทยจึงไม่สนใจเท่าที่ควร

* ถ้านับวันนี้ก็เหลือแค่ 2 ปีกับ 11 เดือนกว่า

* มีเวลาเตรียมตัวไม่พอ

* หน้าหนึ่งในบางกอกโพสต์ วันอาทิตย์ที่ผ่านมาพาดหัวว่า "ไทยจะเข้า ASEAN เสรีแล้วทำไม คนไทยยังสื่อสารกับคนใน ASEAN ไม่ได้ เพราะตกภาษาอังกฤษ"

* จีน, เวียดนาม, เขมร มีหลักสูตรภาษาไทยสอนในมหาวิทยาลัยของเขา เยาวชนของประเทศเหล่านั้นสนใจภาษาไทยมาก

* ประเทศอาเซียนเหล่านั้นก้าวหน้าทั้งภาษาอาเซียนและภาษาอังกฤษ

ประเทศไทยมีกี่สถาบันการศึกษาที่สนใจจะสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง โดยเฉพาะระดับประชาชนทั่วไป เพื่อคนไทยปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

เรื่องภาษา ยังมีเรื่องทัศนคติเพื่อสร้างศักยภาพของไทย ทั้งข้าราชการและประชาชน โดยเฉพาะระดับท้องถิ่นและธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลางให้มีความเป็นมืออาชีพขึ้น

ความจริงเรื่องนี้ นายกฯยิ่งลักษณ์น่าจะให้ความสนใจเรื่องนโยบายอาเซียนเสรีเป็นนโยบายหลักของประเทศ เป็นผู้นำกระตุ้นให้คนไทยเตรียมตัวให้พร้อม คำถามที่น่าสนใจ คือ ท่านนายกฯเข้าใจเรื่องอาเซียนเสรีจริงหรือเปล่า?

สัปดาห์นี้ ผมอยากให้ผู้อ่านได้เหลียวดูประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน 2 ประเทศ

ประเทศแรก คือ มาเลเซีย ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาก็ล้ำหน้าไทยไปมากแล้วทั้งๆที่ในอดีตเขาเป็นรองเรามาก

การตัดสินของศาลชั้นสูงยกฟ้องนายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้าน จะทำให้การเมืองในมาเลเซียมีแนวทางน่าสนใจมากขึ้น

ในอดีตอันวาร์มีปัญหาขัดแย้งกับอดีตนายกฯมหาเดย์ ถูกแกล้งทางการเมือง มหาเดย์ไม่อยากให้มาเทียบรัศมี เลยถูกฟ้องคดีมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกัน ซึ่งกฎหมายในมาเลเซียห้าม (ซึ่งเป็นกฎหมายที่โบราณมาก) มาถึง 2 ครั้ง



ในที่สุดอันวาร์ ก็ชนะคดีเป็นครั้งที่ 2 ดังนั้นการเมืองในมาเลย์ก็เข้มข้นและแข็งแรงขึ้น เพราะพรรคฝ่ายค้านของนายอันวาร์มีบทบาทมากขึ้น และสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศมาเลเซียได้อย่างยั่งยืน

คณะผู้บริหารชุดเดิม (UMNO) ที่ปกครองอยู่น่าจะต้องปรับปรุงและพัฒนามากขึ้น เพราะอยู่มานาน คนมาเลย์ต้องการการเปลี่ยนแปลง

การเมืองของมาเลย์ก็จะเต็มไปด้วยความแปลกใหม่ มีการแข่งขัน เปิดกว้าง ซึ่งน่าจะกระชากประเทศมาเลย์ให้ขยายตัวขึ้นอย่างมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและสังคมเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย

เหตุผลก็คือ คนมาเลย์และรัฐบาลสนใจเรื่องการศึกษามากกว่าคนไทย มหาวิทยาลัยมีไม่มาก แต่เด็กปริญญาตรีจบมาทำงานใช้ภาษาอังกฤษและทำงานได้ดี ภูมิประเทศกว้างไกล การท่องเที่ยวของเขาก็ยังเป็นคู่แข่งกับไทย ไม่นับอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรที่มาจากน้ำมันปาล์มและเรื่องอุตสาหกรรมไฮเทคหลายชนิดเช่น ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์

ไทยต้องมองมาเลย์เป็นพันธมิตรในอาเซียน และอาจจะหมายถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น นโยบายของไทยเรื่องมาเลเซียต้องปรับให้แหลมคม

มีข่าวจากพม่าน่าสนใจมากคือ อองซาน ซูจีลงสมัครผู้แทนในการเลือกตั้งในเดือนเมษายนนี้

พรรคของอองซาน คงจะมีบทบาทมากขึ้น ตัวอองซานเองอาจจะได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดี และวันหนึ่งอาจจะขึ้นไปเป็นประธานาธิบดี

การที่พม่าเปิดประเทศและมีการปฏิรูปครั้งนี้ จะเป็นจุดสำคัญของประเทศไทยที่จะต้องมีนโยบายแหลมคมเกี่ยวกับประเทศพม่า

ผมได้ทำโครงการเกี่ยวข้องกับพม่าทางวิชาการหลายโครงการ เช่น

* Learning Forum on Tourism, Globalization and Sufficiency Economy in Myanmar

* Learning Forum on Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in Myanmar

* Impact Study for GMS Countries (กรณีศึกษาของพม่า)

* Research on Human Resource in GMS Tourism Sector (กรณีพม่า)

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ล่าสุดมูลนิธิฯ และตัวผมก็จะต้อนรับนักวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งและมหาวิทยาลัย

มันดาเลย์มาดูงานที่มหาวิทยาลัยในเมืองไทยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งก็จะเพิ่มความสัมพันธ์ให้มากขึ้น

ผมและทีมงานมีโอกาสได้ทำงานกับประเทศพม่าอย่างต่อเนื่อง และคนพม่าเป็นคนที่มีความรู้ จริงใจ ในอนาคตน่าจะเป็นพันธมิตรกันได้ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลไทยภายใต้การดูแลของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ก็ได้สนับสนุนงบวิชาการให้รัฐบาลพม่ามาตลอด ทำให้รัฐบาลพม่าไว้ใจประเทศไทยค่อนข้างมาก นี่คือจุดแข็งที่ประเทศไทยมีอยู่

รัฐบาล นักธุรกิจไทย นักวิชาการและภาคประชาชนต้องฉลาดในการวางนโยบายในพม่าเพราะคู่แข่งของประเทศไทยในพม่ามีจีน อินเดีย สิงคโปร์ และยังมีประเทศยุโรปซึ่งหายไปกว่า 50 ปีก็จะกลับมา

ผมอยากให้ฝ่ายไทยทำการหาข้อมูล มีการตั้งคณะกรรมการร่วมทางวิชาการที่ดึงมันสมองของคนพม่ามาทำงานวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับแรงงานพม่าในไทยในระยะกลางและยาว

ประเทศไทยไม่มีนโยบายรุกในระดับเพื่อนบ้านอาเซียน มีการตั้งรับเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมีนโยบายรุก และในอนาคตเราอาจจะเสียเปรียบประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

ดังนั้น ประเทศไทยต้องจับตา ศึกษา รู้เขารู้เราให้ดี และให้ทันเหตุการณ์

สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม การเมืองในประเทศของรัฐบาลคุณปูก็สร้างความสับสนหลายเรื่อง

* เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ผมไม่ขัดข้องในการแก้ แต่อยากให้พูดชัดๆว่า วิธีการคืออะไร?

* แนว ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ให้มีทั้งนักวิชาการ 34 คน มายกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ คุณยิ่งลักษณ์เห็นด้วย เหมือนมีสถาปนิกมาออกแบบบ้าน แต่ในขณะเดียวกันประชาชนมีส่วนร่วมโดยให้ตั้ง สสร.ด้วยเอาอะไรกันแน่ อยากให้ความสับสนหายไป

* จะทำอะไรก็ทำ โปร่งใส เพื่อประชาชนส่วนรวมก็คงจะดี เพราะคุณมีอำนาจรัฐอยู่แล้ว

ส่วนเรื่องที่ 2 คือ

* นโยบายพลังงานของคุณพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

* จะลดราคาหรือจะเพิ่ม

* จะดำเนินนโยบายอย่างไร?

แต่นโยบายพลังงานหลักๆน่าจะเน้นเรื่อง


อันวาร์ อิบราฮิม



อองซาน ซูจี



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี



พิชัย นริพทะพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน



ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง


* พัฒนาพลังงานทดแทนมากๆ

* ลดภาวะโลกร้อน

* ประหยัดพลังงานอย่างจริงจัง

การเล่นการเมืองแบบประชานิยมจะหาเสียงเอาใจใคร ก็ต้องมีหลักการนะครับ

สัปดาห์นี้พรรครัฐบาลก็มีข่าวดีที่น่าอยากเล่าให้ประชาชนฟังคือ

* เรื่องนโยบายต่างประเทศ

* ยุคคุณทักษิณมีนโยบายเรื่อง ACD (Asia Cooperation Dialogue) ก็กลับมาปัดฝุ่นแล้ว

* ผมเคยได้รับเชิญให้เสนอ ACD/HRD Center ไปกว่า 5 ปีมาแล้ว ถ้าจัดตั้งศูนย์ ACD/HRD ในนามประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์มาก

ACD เป็นนวัตกรรมทางนโยบายต่างประเทศของนายกฯทักษิณ คือมองประเทศใน ASEAN+ (จีน +อินเดีย +เกาหลี) และมุ่งไปที่ตะวันออกกลางและเอเซียกลาง

ปัจจุบันตะวันออกกลางมีปัญหามาก เช่น

* เสรีภาพ

* เรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย/ คนจน

ACD/HRD Center ที่ไทยจะเสนอ น่าจะช่วยได้ เพราะจะทำให้ประเทศในตะวันออกกลางพัฒนาทุนมนุษย์ของตัวเองโดยไม่พึ่งน้ำมันอย่างเดียว

ลองนึกดู อิรัก อิหร่าน ถ้าร่วมใน ACD/HRD ซึ่งเก่งเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่มีปัญหาการเมืองขัดแย้งกับอิสราเอลและสหรัฐมาก จึงเน้นการทำสงครามและการก่อการร้าย ความจริงในตะวันออก น่าจะเน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพทุนมนุษย์ของคนมากกว่า

สุดท้าย ข่าวดีคือ ใครว่าคุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหุ่น อย่างน้อยในเรื่องการโอนหนี้ไปธนาคารแห่งประเทศไทย ท่านก็แสดงจุดยืนได้ดี ที่จะให้ธนาคารฯชาติมีอิสระ สามารถค้านคุณวีรพงษ์ รามางกูรกับคุณกิติรัตน์ ณ ระนองได้อย่างน่าชื่นชมครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 474807เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2012 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท